ส่วน มะม่วงเหนียงนกกระทุง นั้นหายากจริงๆ แต่ชาวสวนอัมพวา

บอกว่ายังพอมีอยู่ในพื้นที่อัมพวา แถบตำบลสวนหลวง แควอ้อม เหมืองใหม่ ปลายโพงพาง วัดประดู่ มะม่วงเหนียงนกกระทุง มีผลค่อนข้างใหญ่ เป็นมะม่วงใหญ่พันธุ์หนึ่ง แปลกตรงที่ผลมีรูปทรงส่วนท้องยื่นออกมามากหรือส่วนกลางอกกว้างหนา ส่วนหัวและก้นแหลม แต่บางคนก็มองผลของมันคล้ายกับกระจับ

ที่มาของชื่อมาจากรูปลักษณะคล้ายเหนียงใต้ปากล่างของนกกระทุงที่ห้อยยานลงมา เมื่อจับมะม่วงขึ้นในแนวนอนให้ส่วนท้องที่ยื่นออกมาลงอยู่ด้านล่าง จะมองคล้ายปากของนกกระทุง รสชาติพอรับได้ ผลดิบรสเปรี้ยวจัด จึงเหมาะที่จะรับประทานผลสุกเสียมากกว่า โดยผลที่สุกยังมีสีเขียวแกมสีเหลืองช่วงนี้จะให้รสชาติดี เนื้อสีเหลืองอ่อนๆ หวานอมเปรี้ยว มีเสี้ยนบ้าง เมล็ดลีบ มีกลิ่นหอมคล้ายๆ มะม่วงอกร่อง หากปล่อยให้ผลสุกจัดจนงอมเป็นสีเหลืองจัด รสชาติจะไม่ค่อยอร่อยเท่าไร เหนียงนกกระทุงเป็นมะม่วงที่ออกล่ากว่าอีกพันธุ์หนึ่ง และเป็นพันธุ์ที่ผู้ที่ชอบสะสมพันธุ์มะม่วงไทยโบราณต่างแสวงหากัน

มะม่วงมันทองเอก หรือ มะม่วงทองเอก เป็นมะม่วงที่มีอยู่ติดในสวนผลไม้แซมกับไม้ผลอื่น เช่น อยู่ตามสวนมะม่วง สวนมะพร้าว สวนลิ้นจี่ ของชาวสวนอัมพวาในบางพื้นที่ พบมากที่ตำบลเหมืองใหม่ ส่วนใหญ่เป็นมะม่วงต้นแก่มีอายุมาก มีมาแต่เดิม ต้นปลูกใหม่ไม่ค่อยมี ยังพบมะม่วงมันทองเอกในเขตติดต่อกับอำเภออัมพวาที่อำเภอเมืองกับอำเภอบางคนที และที่จังหวัดราชบุรีในอำเภอมีเขตติดต่อกับอำเภออัมพวาที่อำเภอวัดเพลง อำเภอปากท่อ และอำเภอดำเนินสะดวก มะม่วงมันทองเอกมะม่วงคู่อำเภออัมพวามาแต่ดั้งเดิม เป็นส่วนหนึ่งของตำนานมะม่วงอัมพวา

มะม่วงมันทองเอกจัดอยู่ในกลุ่มมะม่วงอกร่อง ใบป้อมปานกลาง หรือรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบแหลม ลักษณะทรงผลรี (Elliptical) รูปทรงของผลมีส่วนคล้ายกับมะม่วงยายกล่ำ ส่วนหัวนูนใหญ่ ส่วนท้องกว้างหนา ส่วนก้นป้านเรียวลง น้ำหนักของผลแก่ อยู่ระหว่าง 3-4 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม ผลโตจะได้ 2 ผล 1 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 50-60 บาท เมล็ดไม่ใหญ่มาก ผลเมื่อยังอ่อนมีรสเปรี้ยว เหมาะที่จะรับประทานขณะยังแก่พอห่ามๆ ใกล้จะแก่จัด ไม่ถึงกับสุก เนื้อสีเหลืองเข้มหรือสีเหลืองทอง เป็นมะม่วงมันไม่กี่ชนิดที่มีเนื้อสีเหลือง จึงเป็นที่มาของชื่อทองเอกที่มีเนื้อเหลืองดั่งสีทองเพียงชนิดเดียว

ทองเอกยังเป็นชื่อของขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง มะม่วงมันส่วนมากเมื่อผลแก่ (รับประทานผลดิบ) มักมีเนื้อสีขาว มะม่วงมันทองเอกมีรสชาติหวานมัน มีเปรี้ยวปนบ้าง เนื้อกรอบแน่น รสชาติอร่อยมาก เมื่อได้รับประทานกันแล้วจะติดใจ รับประทานกันจนเพลินไม่อยากวางมือ สามารถรับประทานได้เรื่อยๆ ถ้ายังไม่เบื่อ

ความหวานของมันบางคนเปรียบเปรยว่า น้ำตาลยังอาย ควรรับประทานหลังจากเก็บไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้ลืมต้น 2-3 วัน เพราะรสชาติจะไม่อร่อยเหมือนตอนสดๆ มีกลิ่นหอมของยางบ่งบอกถึงความมันต่างจากมะม่วงมันพันธุ์อื่น กระตุ้นให้อยากรับประทาน ผลสุกมีกลิ่นบ้างแต่ไม่หอมเหมือนพวกมะม่วงอกร่อง และไม่นิยมรับประทานผลสุกกัน มะม่วงมันทองเอกจึงมีครบทุกรส มีความสมบูรณ์ในรสชาติที่มะม่วงมันน้อยพันธุ์จะเหมือนได้ พบมีวางขายน้อยมาก

ช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมจะพบมะม่วงมันทองเอกได้บ้างที่ตลาดอัมพวา ตลาดน้ำท่าคา ตลาดแม่กลอง และบริเวณหน้าวัดเพชรสมุทรวรวิหาร (วัดหลวงพ่อบ้านแหลม) อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม แต่เป็นมะม่วงที่ไปจากสวนตำบลเหมืองใหม่ ที่กรุงเทพฯ มีผู้นำไปจำหน่ายบ้างแต่เป็นส่วนน้อย มีขายแถวสะพานพุทธ

คล้อยต้นปี 2559 มาได้ช่วงหนึ่ง ผู้เขียนได้ไปเยี่ยมสวนของ คุณสถาพร อร่ามดี หนุ่มใหญ่ในวัยต้นๆ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 26 หมู่ที่ 9 ตำบลสวนหลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม คุณสถาพรมีสวนผลไม้อยู่เยื้องๆ กับวัดแว่นจันทร์ (วัดตาด้วง)

เริ่มต้นนั้นไม่มีพื้นฐานทางด้านการเกษตรมาก่อน เขาจบ ชั้น ปวช. อีเล็กทรอนิกส์ ที่วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม จบชั้น ปวส. อีเล็กทรอนิกส์ จากวิทยาลัยเอกชนที่กรุงเทพฯ และไปจบปริญญาตรี วิชาเอกการจัดการการผลิตพืช จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยใช้เวลาว่างเรียนระหว่างทำงานที่บริษัทเกี่ยวกับการส่งสินค้าออกในกรุงเทพฯ เขาใช้เวลาเรียนนานกว่าเพื่อน เพราะต้องเก็บวิชาพื้นฐานเกี่ยวกับเกษตรหลายวิชา

จากนั้นอยากศึกษาต่อระดับปริญญาโท จึงสมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยเดียวกันในวิชาเอกการจัดการทรัพยากรการเกษตร แต่เรียนไม่จบ เนื่องจากเส้นเลือดสมองตีบจึงหยุดพักการเรียนและต้องลาออกจากงานมารักษาตัว เมื่ออายุได้ 40 ปี หลังจากรักษาตัวจนดีขึ้นแล้วจึงกลับมาบ้านอัมพวาอยากทำสวน

ในสวนลิ้นจี่และทุเรียน 5 ไร่ นั้นมีต้นมะม่วงมันทองเอกอยู่ต้นเดียว ปลูกมาตั้งแต่สมัยปู่ ต้นอยู่หน้าบ้านพักของเขา ในส่วนของรสชาตินั้นคุณสถาพรบอกว่า “ดีมาก” ทั้งอร่อย หวาน มัน กรอบ แน่น จะต้องอนุรักษ์มันไว้และขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนมันต่อไป เขาบอกว่าชาวอัมพวาสามารถประกันความอร่อยได้ว่าอร่อยกว่ามะม่วงเขียวเสวย ที่สวนของเขาปลูกต้นทองหลางตามริมร่องสวน เพื่อจะใช้ประโยชน์จากใบของมัน แม้มีมะม่วงมันทองเอกประจำสวนเหลืออยู่เพียงต้นเดียว แต่มันก็ทำเงินให้เขาพอสมควร

เมื่อมะม่วงมันทองเอกขึ้นห้าง
คุณสถาพร ได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 คุณสถาพร ได้นำลิ้นจี่พันธุ์ค่อมลำเจียกและสำเภาแก้ว ขึ้นไปขายที่ห้างดังในกรุงเทพฯ ในราคาค่อนข้างสูงมาก ลิ้นจี่สำเภาแก้ว กิโลกรัมละ 400 บาท (399 บาท) ขณะเดียวกันก็นำมะม่วงมันทองเอกติดไปด้วย 3 ลัง เนื่องจากเป็นช่วงที่มะม่วงมันทองเอกแก่พอดี ได้คัดเอาแต่ผลใหญ่เต็มมือ ขนาด 3 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม

ระหว่างที่ประชาชนรุมซื้อลิ้นจี่กันอยู่นั้น เขาได้นำมะม่วงมันทองเอกขึ้นมาขายคู่กัน พร้อมกับปอกให้ได้ชิม ส่วนมากเมื่อได้ชิมแล้วต่างติดใจในรสชาติ ยืนเรียงเข้าคิวเพื่อรอซื้อมะม่วงมันทองเอก มันเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกับการขายมะม่วง

เขาขึ้นป้ายขายมะม่วงมันทองเอก ในราคากิโลกรัมละ 159 บาท เมื่อผู้จัดการฝ่ายการตลาดเห็นประชาชนยืนเข้าแถวยาวเช่นนั้น จึงคิดว่าประชาชนรุมซื้อลิ้นจี่กัน ได้เข้ามาสอบถามเห็นเป็นมะม่วง ก็สงสัยถามว่า มะม่วงอะไร ราคาสูงเกินความจริง ในเมื่อมะม่วงที่อื่นขายกันในราคา กิโลกรัมละ 35 บาท พูดทำนองจะให้ลดราคา

คุณสถาพร คิดในใจเอาไว้ว่าเขาจะไม่ยอมลดราคามันและจะไม่ยอมลดศักดิ์ศรีความเป็นสุดยอดมะม่วงของอัมพวาลงอย่างเด็ดขาด ผู้จัดการฝ่ายการตลาดบอกต่อไปว่า เขาทำผิดเงื่อนไข ตอนที่ลงทะเบียนไว้ว่า จะจำหน่ายลิ้นจี่ แต่นำมะม่วงมาขายด้วยจึงผิดสัญญา ขอให้เลิกขายมะม่วงเสีย เขายอมรับผิดแต่โดยดี มะม่วงมันทองเอกเพิ่งขายไปได้ 2 ลัง เหลืออีก 1 ลัง จากนั้นคุณสถาพรได้แจกจ่ายมะม่วงมันทองเอกให้กับประชาชนที่ยืนเข้าคิวที่เหลือจนหมด

สร้างความงุนงงให้กับประชาชนอย่างมาก ว่ามันเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น จึงแจกมะม่วงราคาแพงกันง่ายๆ เช่นนี้ เขาทราบดีว่ามีมะม่วงจากจังหวัดอื่นมาขายที่ห้างนี้เช่นกัน แต่ไม่มีมะม่วงมันทองเอกอย่างแน่นอน การกระทำของเขาอาจเป็นการขัดผลประโยชน์คนอื่นก็ได้ เนื่องจากมีประชาชนแห่มาซื้อมะม่วงมันทองเอกจากเขาเป็นจำนวนมาก แทนที่จะไปซื้อมะม่วงจากจังหวัดนั้น

เขาใช้เวลาขายมะม่วงมันทองเอกไม่ถึง 1 ชั่วโมง หมดไป 2 ลัง ซึ่งเขาได้ทำหน้าที่คนอัมพวาแล้ว ด้วยการกอบกู้ศักดิ์ศรีของมะม่วงอัมพวาไว้ไม่ให้ต่ำลง มะม่วงรสชาติดี จะขายราคาถูกๆ มันคู่ควรกันหรือไม่ คุณค่าของมันพลอยลดต่ำลงไปด้วย เขามีส่วนช่วยยกระดับมะม่วงมันทองเอกขึ้นมา

แม้ว่าแม่ค้ารายอื่นๆ ที่อัมพวาจะขายราคาต่ำก็ตาม แต่ถ้าหากพวกแม่ค้าเหล่านั้นได้ทราบการยกระดับราคามะม่วงรสชาติดีหายาก ก็คงจะต้องขยับราคาให้สูงขึ้นตามอย่างแน่นอน ใครได้ชิมมะม่วงมันทองเอกจากห้างในครั้งนั้น คงซาบซึ้งในรสชาติของมันดี หลังจากนั้น ก็ไม่มีมะม่วงมันทองเอกปรากฏในห้างนั้นอีกเลย

ก่อนจะจากสวนของคุณสถาพร ผู้เขียนขอแบ่งกิ่งมะม่วงมันทองเอกพันธุ์แท้ 1 กิ่ง กับยอดอีกหลายยอด ผู้เขียนได้นำกิ่งทาบให้กับสวนลุงเล็ก (เสน่ห์ ลมสถิตย์) อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ให้แกขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนกิ่งพันธุ์เพื่อให้มันได้แพร่กระจายออกไปทั่วประเทศ ในอนาคตคนไทยจะได้รู้จัก ได้ลิ้มรสชาติของมัน ในนาม มะม่วงมันทองเอกจากอัมพวา

มะม่วงมันทองเอก ที่ภาคเหนือ
พบ มะม่วงมันทองเอก ที่จังหวัดแพร่ ในอำเภอเด่นชัย อำเภอสูงเม่น ที่สวนไผ่หวานเพชรน้ำผึ้ง เลขที่ 91 หมู่ที่ 4 ตำบลแม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ได้ปลูกมะม่วงมันทองเอกพร้อมกับมะม่วงอื่นไว้หลายปีแล้ว จนให้ผลผลิต โดยได้กิ่งมาจากสถานีอบใบยาสูบเด่นชัย ซึ่งไม่ทราบว่าทางสถานีอบใบยาสูบได้พันธุ์มะม่วงมันทองเอกมาจากไหน น่าจะได้มาจากภาคกลาง ทุกปีทางสวนจะเก็บผลผลิตมาขายหน้าสวนในราคาย่อมเยา

มะม่วงมันทองเอก มะม่วงมีเอกลักษณ์ในตัวต่างจากมะม่วงอื่น มันได้พิสูจน์ตัวมันเองแล้วว่า มันควรจะโดดเด่นกว่ามะม่วงมันด้วยกัน จะกดราคาให้มันต่ำเหมือนกับมะม่วงมันทั่วไปคงไม่สมควร ศักดิ์ศรีของสุดยอดมะม่วงมันทองเอกต้องคงไว้ ถ้าหากท่านต้องการหามะม่วงมันทองเอกแท้ดั้งเดิมเป็นต้นตำนาน ต้องมาที่อัมพวาเพียงแห่งเดียวเท่านั้น อยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ ทุเรียนบาตรทองคำ และ มะม่วงมันทองเอก ให้เข้าไปหาที่เฟซบุ๊ก Nawan Tropical Garden หรือ โทร.ไปสอบถามกับ คุณสถาพร อร่ามดี โดยตรงที่เบอร์โทร.(081) 697-8763

วันนี้(วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2562) เวลา 14.00 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการชุดเฉพาะกิจกรมปศุสัตว์ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษพญาไท เจ้าหน้าที่จากสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต1 กองสารวัตรและกักกัน ด่านกักกันสัตว์ฉะเชิงเทรา และสำนักงานปศุสัตว์พื้นที่กรุงเทพมหานคร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีตำรวจนครบาลประเวศ ลงพื้นที่ในเขตประเวศ 2 จุด ตามข้อร้องเรียน เพื่อล่อซื้อและจับกุมผู้กระทำผิด พรบ.โรงฆ่าสัตว์ ซึ่งต้องระวางโทษ 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จากการจับกุมครั้งนี้ได้ผู้ต้องหา 2 ราย ของกลางซึ่งเป็นซากแพะ จำนวน 6 ตัว น้ำประมาณ 90 กิโลกรัม และอุปกรณ์การฆ่า จำนวน 10 รายการ มูลค่าประมาณ 40,000 บาท ทั้งนี้พบมีแพะมีชีวิตกว่า 40 ตัว รอการฆ่า พนักงานเจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งข้อกล่าวหา ดังนี้

1. ประกอบกิจการฆ่าสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 15 ซึ่งมีโทษ จำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ของพรบ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ 2559

2. ฆ่าสัตว์โดยไม่แจ้งการฆ่า ปรับตามรายตัว แพะ ตัวละ 20,000 บาท ของพรบ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ 2559

3. ฆ่าสัตว์นอกโรงฆ่าสัตว์ มาตรา 39 ซึ่งมีโทษ จำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ของพรบ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ 2559 หากพบเห็นการกระทำผิดโปรดแจ้งเบาะแสผ่านแอพพลิเคชั่น (Application) “DLD 4.0” ที่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ทั้งระบบ iOS ผ่าน App Store และ Android ผ่าน Google play เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจสอบการกระทำความผิดและดำเนินการตามกฎหมายได้อย่างทันท่วงที./

สวัสดีครับ สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน พบกันเป็นประจำในคอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย The challenge of smallscale farmers” กับผม ธนากร เที่ยงน้อย ว่าด้วยเรื่องธุรกิจการเกษตรในประเทศไทยนั้น ท่าน รศ.สมคิด ทักษิณาวิสุทธิ์ อธิบายไว้ว่า มี 6 กลุ่ม ที่ร่วมอยู่ในธุรกิจเกษตรของบ้านเรา

คือกลุ่มที่อยู่ในธุรกิจปัจจัยการผลิต กลุ่มที่อยู่ในธุรกิจการผลิต กลุ่มจัดหาสินค้า กลุ่มแปรรูปและเก็บรักษาสินค้า กลุ่มจัดจำหน่าย และกลุ่มผู้ส่งออกสินค้าเกษตร ฉบับนี้นำท่านไปพบปะเพื่อเรียนรู้อีกอาชีพหนึ่งในโลกของธุรกิจการเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มที่อยู่ในธุรกิจปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ไปดูวิธีคิด ดูการทำการตลาดที่ทำให้ธุรกิจเดินต่อไปได้ในยุคที่ธุรกิจปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ใครๆ ก็ยังคงหนีไม่พ้นคลื่นลมในกระแสเรดโอเชียนที่แข่งขันกันรุนแรง ตามไปดูกันเลยครับ

ต่อยอดจากธุรกิจเดิม
พาท่านไปพบกับ คุณนิษฐกานต์ อานันท์สิริโชติ เจ้าของร้านขายส่งทรงกรเกษตรอินทรีย์ ที่ตลาดอินโดจีนการ์เด้น ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ร้านขายส่งทรงกรเกษตรอินทรีย์ จำหน่ายวัสดุอุปกรณ์เพาะปลูกทุกชนิด รวมทั้งยังจำหน่ายวัสดุอินทรีย์ ขุยมะพร้าว มะพร้าวสับ แกลบดิบ แกลบดำ มูลสัตว์ คุณนิษฐกานต์ เล่าให้ฟังว่า เริ่มต่อยอดจากธุรกิจเดิมของ คุณแม่อาภาภรณ์ น้อยท่าทอง ซึ่งเป็นคุณแม่ของสามี ที่เป็นร้านขายวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร ขายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ทั้งกระถาง ดินปลูก เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ

“ตัวดิฉันเองเรียนจบมาทางด้านการจัดการโรงแรม จากวิทยาลัยดุสิตธานี ซึ่งเป็นคนละทางกับธุรกิจ แต่ก็ได้มารับช่วงธุรกิจร้านทรงกรต่อในช่วงที่รูปแบบการเกษตรเปลี่ยนไป มีทั้งเรื่องการเกษตรปลอดภัย การเกษตรอินทรีย์ เข้ามามากขึ้น นอกจากนั้น การตลาดก็เริ่มเปลี่ยนไป การค้าขายผ่านอินเตอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีอิทธพลมากขึ้น” คุณนิษฐกานต์ เริ่มเล่า

เพิ่มสินค้าอินทรีย์
ผลักดันแนวคิดเกษตรในครัวเรือน
คุณนิษฐกานต์ เล่าให้ฟังว่า เมื่อเข้ามาจับธุรกิจนี้ก็ได้ตัดสินใจเริ่มเพิ่มไลน์สินค้าอินทรีย์ โดยมีแนวคิดอยากเปลี่ยนแนวความคิดของคนส่วนใหญ่ที่มองการเกษตรเป็นเรื่องยาก ให้หันมาสนใจการทำเกษตรเบื้องต้นเล็กๆ ในบ้าน เช่น การปลูกผักกินเองโดยไม่ใช้สารเคมี จึงตั้งใจทำร้านทรงกรเกษตรอินทรีย์ ให้เป็นแหล่งรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืช วัสดุเพาะ รวมไปถึงการดูแลพืชผักสวนครัวให้ออกผลผลิตให้พอกินในครัวเรือน

“และที่สำคัญ เรามองว่าการผลิตแบบเกษตรปลอดภัยไปจนถึงเกษตรอินทรีย์จะมีอิทธิพลมากขึ้นในประเทศไทยเรา จึงเพิ่มสินค้าสำหรับคนที่ต้องการปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้ทางร้านทรงกรเกษตรอินทรีย์ เป็นแหล่งรวบรวม ปุ๋ยมูลสัตว์ต่างๆ เช่น มูลวัว มูลหมู มูลไก่ มูลไส้เดือน เพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้า

และแนะนำให้ลูกค้าของเรามองว่า ถ้าคิดจะปลูกผักทานเองสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงมาที่ร้านทรงกรเกษตรอินทรีย์ เรามีสินค้าพร้อมบริการทุกอย่าง เช่น เมล็ดพันธุ์พืชหลากหลายสายพันธุ์ จากหลากหลายบริษัทมาจัดจำหน่าย ทั้ง ของเจียไต๋ ของศรแดง ของ 3A และวัสดุพื้นฐานการเกษตรในการเริ่มปลูกผักหรือทำสวน ให้เป็นแหล่งรวบรวมวัสดุเพาะปลูกที่ทำจากมะพร้าว มะพร้าวสับชิ้น ขุยมะพร้าว โดยวัสดุหรือปุ๋ยจะเน้นไปในแนวทางอินทรีย์ แค่เพียงมาร้านเราก็จะได้วัสดุอุปกรณ์ครบในการปลูก ที่จะทำให้การเกษตรเล็กในครัวเรือนไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป”

นอกจากเน้นการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์แล้ว คุณนิษฐกานต์ ยังสนับสนุนเกษตรกรผู้ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ใกล้เคียง ให้นำผลผลิตมาฝากวางขายที่ร้านได้อีกด้วย

หมดยุค “แม่ค้าหน้างอ คอหัก”
ลูกค้าอยู่ได้ เราอยู่ได้
จากแนวคิดและความตั้งใจของคุณนิษฐกานต์ ที่จะทำให้ร้านทรงกรเกษตรอินทรีย์ เป็นแหล่งรวบรวมวัสดุทุกชนิด การจำหน่ายจึงเน้นราคาที่ถูก

“เพราะเนื่องจากเราซื้อมาขายในปริมาณจำนวนมาก ทำให้เราได้ราคาที่ถูกและขายในราคาที่ถูกเช่นกัน เราอยู่ได้ ลูกค้าอยู่ได้” นอกจากมีสินค้าที่สั่งจากบริษัทต่างๆ มาขายแล้ว คุณนิษฐกานต์ ยังมองว่า ต้องผลิตสินค้าบางชนิดเอง ดังนั้น สินค้า 20% จากทั้งหมดของร้านทรงกรเกษตรอินทรีย์ เช่น ดินผสมปลูกผักสวนครัว ดินผสมปลูกแค็กตัส เป็นต้น

“เพราะเราคิดว่าสินค้าที่มีคุณภาพดี ไม่ใช่แค่บอกด้วยปากว่าสินค้าคุณภาพดี แต่สินค้าของเราเกือบทั้งหมด เราได้ทดลองใช้จริง สินค้าที่เราผลิตเอง เราใช้เอง และใช้ได้ดีจริงๆ เราจึงนำมาขายและสามารถบอกลูกค้าได้เต็มปากว่า ผลิตภัณฑ์ที่เราขายนั้นคุณภาพดีจริงๆ เพราะเราลองใช้ด้วยตัวเอง ส่วนตัวมองว่าในโลกธุรกิจปัจจุบันนอกจากต้องแข่งขันกันเรื่องสินค้า ราคาแล้ว ยังต้องแข่งขันเรื่องการบริการอีกด้วย หมดยุคการค้าแบบที่แม่ค้าหน้างอ คอหัก ไม่ใส่ใจบริการลูกค้า เราต้องฝึกคนทำธุรกิจให้ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจของเราอยู่รอดได้” คุณนิษฐกานต์ อธิบายแนวคิด

ขยายกลุ่มลูกค้าผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต
ร้านทรงกรเกษตรอินทรีย์ นอกจากจะมีหน้าร้านแล้ว คุณนิษฐกานต์ ยังได้เพิ่มช่องทางการตลาดในยุคโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยมีเพจร้าน ชื่อเพจร้านขายส่งทรงกรเกษตรอินทรีย์ จำหน่ายวัสดุอุปกรณ์การเกษตรทุกชนิดราคาส่ง ID line 0904097674

“ที่ผ่านมา เราพยายามลองผิดลองถูกในเรื่องการตลาดผ่านโซเชียลมาพอสมควร ตอนนี้เรามีการทำรีวิวสินค้าลงในเพจของร้าน ที่เราทำรีวิวแบบง่ายๆ สื่อสารแบบตรงๆ หรือเรียกว่าทำแบบบ้านๆ ให้ลูกค้าเข้าใจง่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปลูกพืชชนิดต่างๆ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เรามีจำหน่าย การดูแลพืชพันธุ์ชนิดต่างๆ ทำให้เกิดลูกค้ากลุ่มใหม่ที่เราเองก็ไม่คาดคิด เช่น ลูกค้าบางคนอยู่ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ก็สั่งซื้อสินค้าของเรา ลูกค้าจากเกาะสมุยก็สั่งซื้อสินค้าของเรา ตอนนี้เราจึงเป็นร้านที่จัดจำหน่ายสินค้าไปทั่วประเทศ ในรูปแบบขายส่ง” คุณนิษฐกานต์ เล่าให้ฟัง

ธุรกิจนี้ยังอยู่ได้ แต่?
ในยุคที่เศรษฐกิจไม่ค่อยจะดีอย่างในปัจจุบัน การจะสร้างธุรกิจอะไรสักอย่าง คงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่คุณนิษฐกานต์ ยืนยันว่า ธุรกิจค้าขายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรยังไปได้อีกไกล “ส่วนตัวมองว่า ธุรกิจนี้ยังสามารถไปได้อีกไกล ถึงแม้จะมีคู่แข่งมาก แม้ว่าเศรษฐกิจในภาพรวมจะไม่ดี เพราะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เกี่ยวข้องกับการผลิตของกินของใช้ ที่เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกคน แต่

ปัจจัยสำคัญมากอย่างหนึ่งของคนที่คิดจะเข้ามาในธุรกิจค้าขายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรคือ เรื่องของความจริงใจในการทำธุรกิจ ความจริงใจต่อลูกค้า ไม่หลอกลวงยัดเยียดขายของให้ลูกค้า เราจะสามารถทำธุรกิจไปได้อีกนาน”

คำแนะนำสำหรับคนรุ่นใหม่ที่สนใจธุรกิจค้าขายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร คุณนิษฐกานต์ แนะนำว่า “คนรุ่นใหม่ใครสนใจในธุรกิจนี้เข้ามาพูดคุยกันได้ เรายินดีแนะนำ เราไม่สนใจเรื่องขายของ เข้ามาคุยกับเราไม่ต้องกลัวว่าเราจะยัดเยียดให้รับของเราไปขาย เราพร้อมแนะนำและพร้อมเดินไปด้วยกันในธุรกิจนี้แบบระยะยาว”

ใครสนใจอยากคุย อยากปรึกษา ขอคำแนะนำจากคุณนิษฐกานต์ โทร.ติดต่อไปที่เบอร์ 090-409-7674 หรือที่เพจเฟซบุ๊ก ร้านขายส่งทรงกรเกษตรอินทรีย์ จำหน่ายวัสดุอุปกรณ์การเกษตรทุกชนิด ราคาส่งครับ

ในโลกธุรกิจรายย่อยต่างคนต่างมีแนวคิดการดำเนินธุรกิจแบบของใครของมัน การลอกเลียนแนวคิดของคนใดคนหนึ่งมาทั้งหมดอาจจะประสบความสำเร็จได้ยาก เพราะมีปัจจัยอีกหลากหลายเรื่องที่แตกต่างกัน แต่หากนำแนวคิดเหล่านั้นมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับธุรกิจของเราเอง น่าจะส่งผลให้ธุรกิจก้าวเดินไปได้ดีไม่น้อยครับ

ฉบับต่อไปผมจะพาท่านไปพบพี่น้องเกษตรกรรายย่อยหัวก้าวหน้าที่ไหนกันอีก โปรดติดตามกันต่อ ใน “คิดใหญ่แบบรายย่อย The challenge of smallscale farmers” กับผม ธนากร เที่ยงน้อย เจอกันใหม่ฉบับต่อไปนะครับ

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยถึงสถานการณ์ดุลการค้าสินค้าเกษตร ซึ่งจากความตกลงเขตการค้าเสรีของไทยภายใต้กรอบเจรจาต่างๆ ที่ได้มีผลบังคับใช้ไปแล้วกับ 10 คู่เจรจา ได้แก่ อาเซียน จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย เปรู ชิลี และล่าสุดฮ่องกง (เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อ 11 มิถุนายน 2562) สศก. ได้มีการติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตร (พิกัดศุลกากรตอนที่ 01-24 และพิกัด 4001 ยางพาราธรรมชาติ) พบว่า

8 เดือนแรกของปี 2562 (มกราคม-สิงหาคม) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ไทยยังคงรักษาความได้เปรียบดุลการค้าสินค้าเกษตรในภาพรวม โดย อาเซียน ไทยได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 144,838 ล้านบาท (ลดลงร้อยละ 16 จากการส่งออกข้าวและน้ำตาลลดลง) สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ น้ำตาล เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และผลไม้ (ทุเรียน ลำไยสด/แห้ง มังคุด) จีน ไทยได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 112,843 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 13) สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ ผลไม้ (ทุเรียน มังคุด) ยางพารา และผลิตภัณฑ์แป้งจากธัญพืช ญี่ปุ่น ไทยได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 91,715 ล้านบาท (ลดลงร้อยละ 2 เป็นผลจากการส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์

ปลาและสัตว์น้ำลดลง) สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ อาหารปรุงแต่ง ปลาและสัตว์น้ำ และยางพารา ฮ่องกง ไทยได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 20,854 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9) สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ ผลไม้ (ทุเรียน) ข้าว และอาหารปรุงแต่ง เกาหลีใต้ ไทยได้เปรียบดุลการค้า มูลค่า 14,210 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 25) สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ น้ำตาล อาหารปรุงแต่ง และยางพารา และ ออสเตรเลีย ไทยได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 5,207 ล้านบาท (ลดลงร้อยละ 23 เป็นผลจากการส่งออกอาหารปรุงแต่งลดลง) สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ อาหารปรุงแต่ง ของปรุงแต่งจากธัญพืช/นม และซอส/เครื่องปรุง

ในส่วนของมาตรการเพื่อยกระดับราคายาง ซึ่งช่วยกระตุ้น

ให้เกิดการใช้ยางทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อนำไปสู่การดูดซับยางออกจากระบบ เกิดการขยายกำลังการผลิต การแปรรูปยาง ผลักดันราคายางให้สูงขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ ไม่ให้เกิดความผันผวน ผ่านการดำเนินงาน จำนวน 4 โครงการ ซึ่งขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการ และขยายวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมบางโครงการ ได้แก่ โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง

เพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต ณ ที่ตั้งเดิม หรือที่ตั้งใหม่ ให้แก่ผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางขั้นปลายน้ำ มุ่งเน้นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางขั้นปลายน้ำที่มีมูลค่าสูง เช่น ถุงมือยาง ยางยืด ยางล้อ ยางที่ใช้ในงานวิศวกรรม ฯลฯ ให้มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยที่รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบการ ร้อยละ 3 ตลอดระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2559 – 2569 ซึ่งประชุม กนย. เห็นชอบปรับวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมอีก 10,000 ล้านบาท จะทำให้มีปริมาณการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น จากเดิม 60,000 ตัน/ปี เป็น 100,000 ตัน/ปี โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุน

ให้เกิดการใช้ยางทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อนำไปสู่การดูดซับยางออกจากระบบ เกิดการขยายกำลังการผลิต การแปรรูปยาง ผลักดันราคายางให้สูงขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ ไม่ให้เกิดความผันผวน ผ่านการดำเนินงาน จำนวน 4 โครงการ ซึ่งขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการ และขยายวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมบางโครงการ ได้แก่ โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต ณ ที่ตั้งเดิม หรือที่ตั้งใหม่ ให้แก่ผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางขั้นปลายน้ำ

มุ่งเน้นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางขั้นปลายน้ำที่มีมูลค่าสูง เช่น ถุงมือยาง ยางยืด ยางล้อ ยางที่ใช้ในงานวิศวกรรม ฯลฯ ให้มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยที่รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบการ ร้อยละ 3 ตลอดระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2559 – 2569 ซึ่งประชุม กนย. เห็นชอบปรับวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมอีก 10,000 ล้านบาท จะทำให้มีปริมาณการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น จากเดิม 60,000 ตัน/ปี เป็น 100,000 ตัน/ปี โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุน

(นครราชสีมา) 9 ตุลาคม 2562 – บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ประสบความสำเร็จในการพัฒนามาตรการป้องกันโรคระบาดในฟาร์มสัตว์ปีกด้วยระบบคอมพาร์ทเม้นต์สำเร็จเป็นรายแรกของไทย ส่งผลให้องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organization of Animal Health หรือ OIE) ยกประเทศไทยและซีพีเอฟ เป็นตัวอย่างสำหรับการป้องกันโรคไข้หวัดนกในภูมิภาค

ซีพีเอฟ เป็นบริษัทไทยรายแรกที่นำหลักการจัดทำคอมพาร์ทเม้นต์ของ OIE มาประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนก ซึ่งเป็นมาตรการเชิงรุก โดยมีหลักการสำคัญ 4 ประการ ประกอบด้วย 1. หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Common Biosecurity) ที่มีมาตรการป้องกันโรคที่สอดคล้องกันตลอดห่วงโซ่การผลิต 2. การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก (Surveillance) ทั้งภายใไนพกนคอมพาร์ทเม้นต์และพื้นที่กันชน รัศมี 1 กิโลเมตร รอบฟาร์ม 3. การควบคุมโรค (Control Measure) และ 4.การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability System) ซึ่งหลักการทั้ง 4 ประการ เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยการผลิตสัตว์ปีกปลอดไข้หวัดนก

น.สพ. พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ในฐานะประธานคณะกรรมการ นโยบายสวัสดิภาพสัตว์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทจัดทำระบบคอมพาร์ทเม้นต์ปลอดโรคไข้หวัดนกสำหรับธุรกิจไก่เนื้อและเป็ดเนื้อร่วมกับกรมปศุสัตว์ตั้งแต่ปี 2549 เพื่อสร้างความมั่นใจด้านอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภค ทั้งนี้ บริษัทพัฒนามาตรการวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) ตามแนวทาง HACCP สำหรับโรคไข้หวัดนก ตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์ เพื่อการป้องกันโรคอย่างเข้มแข็ง

“แม้ว่าจะไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการ แต่ที่ผ่านมาคณะกรรมมาธิการสหภาพยุโรป ผู้แทนจากองค์การอนามัยโลก และ OIE ตลอดจนผู้แทนองค์กรเพื่อสุขภาพระหว่างประเทศต่างๆ ได้มาศึกษาดูงานและชื่นชมในความสำเร็จระบบคอมพาร์ทเม้นต์ ของ ซีพีเอฟ ที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยปลอดโรคไข้หวัดนก และสร้างความมั่นใจต่อผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ปลอดภัย อีกทั้งไทยยังเป็นประเทศนำร่องในการจัดทำระบบนี้ได้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย” น.สพ. พยุงศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการจัดทำระบบคอมพาร์ทเม้นต์ของ ซีพีเอฟ ยังส่งเสริมให้บริษัทฯ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต ซึ่งช่วยป้องกันโรคสัตว์ปีกที่อาจเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต (emerging disease) ตลอดจนช่วยสนับสนุนการค้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกระหว่างประเทศ

เพื่อการป้องกันโรคอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ ยังได้อบรมเกษตรกรในคอนแทร็คฟาร์มจัดทำระบบคอมพาร์ทเม้นต์ สำหรับป้องกันโรคไข้หวัดนก โดยมีสัตวแพทย์ของบริษัทและผู้เชี่ยวชาญจากกรม ปศุสัตว์ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

น.สพ. พยุงศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้แทนจาก OIE ได้เข้าเยี่ยมชมความสำเร็จในการจัดทำระบบคอมพาร์ทเม้นต์และจะยก ซีพีเอฟ เป็นกรณีตัวอย่างในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของ OIE ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เรื่องการป้องกันโรคสัตว์ปีกด้วยระบบคอมพาร์ทเม้นต์ เพื่อสร้างให้ภูมิภาคนี้ปลอดจากโรคไข้หวัดนก

ปัจจุบัน ซีพีเอฟ ยังได้พัฒนาต่อยอดเพิ่มมูลค่าด้วยผลิตภัณฑ์ “ไก่เบญจา” ซึ่งนอกจากจะเลี้ยงด้วยระบบคอมพาร์ทเม้นต์แล้วยังไม่ใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยง สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ

ดร. อาณัติ หาทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้การต้อนรับ ดร. กิตติชัย โศจิพันธุ์ ประธานคลัสเตอร์ระบบราง และคณะอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ประชุมหารือกิจกรรมความร่วมมือในโครงการย่อยภายใต้บันทึกความร่วมมือระหว่าง วว. และ มจพ. ในด้านระบบรางและยานยนต์สมัยใหม่

ทั้งนี้ วว. มีความพร้อมในการขยายผลไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านงานทาง ทั้งด้านองค์ความรู้ และการสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนทดแทนการนำเข้า (Local content) โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในเครือข่ายที่มีบันทึกความร่วมมือ เช่น การจัดการศึกษาดูงาน การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท การจัดหลักสูตรอบรมระดับวิชาชีพ เป็นต้น เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ และการวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2562 ณ ห้องประชุม 1 อาคารศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง วว.เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี

กองประชาสัมพันธ์ สำนักสื่อสารองค์กร วว. โทร. (02) 577-9360 – 61 โทรสาร. (02) 577-9362 E-mail : pr@tistr.or.th ปัญหาหมอกควันปกคลุมและเกิดมลพิษทางอากาศในพื้นที่ภาคเหนือ เป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี สาเหตุหลักมาจากการเผาในที่โล่งทั้งในพื้นที่ป่าและพื้นที่การเกษตร ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรง ทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรจะต้องใช้ปุ๋ยมากขึ้นในการบำรุงต้นพืช ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ในขณะที่ได้ผลผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบดำเนินการควบคุมการเผาในพื้นที่การเกษตร และมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร โดยมีเป้าหมายในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และนำเสนอทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรทดแทนการเผา สร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผา รวมทั้งสร้างต้นแบบในการทำการเกษตรปลอดการเผาเพื่อสนับสนุนการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรในระยะต่อไป

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวภายหลังเข้าร่วมการประชุมมอบนโยบายเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ ปี 2563 ในวันที่ 10 ตุลาคม 2562 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ ว่า กรมส่งเสริมการเกษตรตระหนักและห่วงใยสุขภาพของเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาหมอกควัน

จึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร โดยเน้นกิจกรรมถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ส่งเสริมให้มีจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทดแทนการเผาทำลาย เช่น การใช้เครื่องสับเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อใช้เป็นวัสดุคลุมหน้าดิน การทำปุ๋ยหมักน้ำหมักเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน การไถกลบตอซัง การจัดเก็บเศษวัสดุฟางข้าวมาเพาะเห็ดฟาง การอัดฟางก้อน การหมักฟางเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น

รวมทั้งการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตจากเดิมมุ่งสู่การทำการเกษตรปลอดการเผาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้สามารถเป็นวิทยากรด้านการทำการเกษตรปลอดการเผา และส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผา การจัดกิจกรรมนำร่องสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรทดแทนการเผา ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเพื่อแก้ปัญหาการเผาบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน โดยใช้กลไกของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และพื้นที่ส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในการดำเนินการร่วมกันของเกษตรกร และสร้างเครือข่ายเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ และสำรวจข้อมูลพื้นที่การเกษตรในช่วงวิกฤตหมอกควัน

โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557 ในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคเหนือที่มีปัญหารุนแรง ประกอบด้วย จังหวัดน่าน เชียงราย ตาก ลำปาง พะเยา แพร่ เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน และจังหวัดอุตรดิตถ์ และยังได้ขยายพื้นที่ดำเนินการไปยังอีก 16 จังหวัด ที่มีพื้นที่การเผาสูง ประกอบด้วย กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครนายก นครพนม นครราชสีมา นครสวรรค์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ ร้อยเอ็ด ลพบุรี สกลนคร และจังหวัดอุดรธานี กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย การสร้างวิทยากรเกษตรปลอดการเผา การสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผา การสร้างสัตยาบันปลอดการเผาของชุมชน – สร้างจิตสำนึก การสร้างระบบการเฝ้าระวังและแจ้งเหตุไฟไหม้ การจัดระเบียบการเผาในพื้นที่ช่วงวิกฤติหมอกควัน ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) ภายใต้มาตรการ 60/100 วัน ห้ามเผา

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า ผลการดำเนินงานภาพรวมของโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร ตั้งแต่ปี 2557-2562 มีการถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรเพื่อเป็นเกษตรกรปลอดการเผา ในพื้นที่รวม 1,374 ตำบล เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดความรู้ รวม 64,250 ราย สร้างวิทยากรเกษตรปลอดการเผา รวม 7,710 ราย พื้นที่เกษตรปลอดการเผา รวม 1,374,000 ไร่ และจำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ที่เป็นพื้นที่เกษตรลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มโครงการจาก จำนวน 614 จุด ในปี 2557 เหลือ 313 จุด ในปี 2562 สำหรับตัวอย่างพื้นที่นำร่องชุมชนเกษตรปลอดการเผาในพื้นที่การเกษตรอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และน่าน จำนวน 4 ชุมชน ได้แก่ 1)

ชุมชนต้นแบบปลอดการเผา ตำบลสะเมิงเหนือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ลดการเผาด้วยการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาผลิตปุ๋ยหมัก ปริมาณ 350 ตัน ราคาขายกิโลกรัมละ 3 บาท รายได้ 1,050,000 บาท 2) ชุมชนต้นแบบปลอดการเผา ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด ปริมาณ 150 ตัน ราคาขายกิโลกรัมละ 20 บาท รายได้ 3,000,000 บาท 3) ชุมชนต้นแบบปลอดการเผา ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เพาะเห็ดโคนน้อยจากฟางข้าว จำนวน 3 โรงเรือน ใช้ฟางข้าว 4,000 กิโลกรัม ต่อปี ผลิตเห็ดได้ 750 กิโลกรัม ราคาขายกิโลกรัมละ 160 บาท รายได้ 120,000 บาท และ 4) ชุมชนต้นแบบปลอดการเผา ตำบลทุ่งศรีทอง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ผลิตฟางอัดก้อนจำหน่าย (ได้รับการสนับสนุนเครื่องอัดฟางจากภาครัฐ) ปริมาณ 20,000 ก้อน ราคาขายก้อนละ 30 บาท เมื่อหักต้นทุนแล้ว มีรายได้ 150,000 บาท และผลิตปุ๋ยหมักจากซังข้าวโพด ปริมาณ 25,000 กิโลกรัม ราคาขายกิโลกรัมละ 5 บาท มีรายได้ 125,000 บาท รวมทั้ง 2 กิจกรรม มีรายได้รวม 275,000 บาท

โดยในปี 2563 กรมส่งเสริมการเกษตร มีแผนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร ภายใต้แผนงานบูรณาการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเจ้าภาพหลัก โดยมีเป้าหมายจะถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร จำนวน 16,800 ราย สร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาเพื่อสร้างกลไกในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร 210 ชุมชน ประกอบด้วย 130 ตำบล ใน 10 จังหวัดภาคเหนือที่มีประสบปัญหารุนแรง 68 ศพก. ในพื้นที่ 26 จังหวัด ที่มีพื้นที่การเผาสูง และ 12 ศพก. ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ใหม่)

เกือบ 40 ปี ที่คลุกคลีอยู่ในวงการมะพร้าวน้ำหอม คุณณรงค์ศักดิ์ ชื่นสุชน ผู้ก้าวจากเกษตรกรหนุ่มทำสวนมะพร้าว บุกเบิกตลาดค้าส่งมะพร้าวน้ำหอมด้วยตนเอง จนเติบโตรุกตลาดต่างประเทศด้วยแนวคิด ต้องการความยั่งยืนจากการทำการเกษตร ด้วยการก่อตั้งบริษัท แปรรูปสินค้า สร้างแบรนด์สินค้า และส่งออกด้วยตนเอง ครบทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จนปัจจุบัน คุณณรงค์ศักดิ์ มีพนักงานบริษัทอยู่ในความดูแลถึง 400 ชีวิต ตลาดมะพร้าวน้ำหอมที่ส่งออกยังต่างประเทศมีไม่น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของการผลิต ทั้งยัง เป็นแหล่งรับซื้อมะพร้าวน้ำหอมจากลูกสวนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ด้วยการรับซื้อมะพร้าวน้ำหอมจากเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวตามราคาซื้อขายสินค้าเกษตรที่แท้จริง

ความโดดเด่นของเกษตรกรรายนี้ เพราะความเป็นลูกชาวสวน จบการศึกษาเพียงมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ เติบโตคู่มากับการทำการเกษตรจริงๆ นับตั้งแต่ครั้งพ่อและแม่ ที่เป็นชาวสวน มีพื้นที่เพียงเล็กน้อย ปลูกพืชผักผลไม้ไปตามฤดูกาล และมะพร้าวน้ำหอม ก็เป็นผลไม้หนึ่งที่ปลูกมาตั้งแต่ยุคแรก ต่อเมื่อพืชอื่นมีความจำเป็นต้องพึ่งพาสารเคมี คุณณรงค์ศักดิ์ จึงหยุดปลูกพืชเหล่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี แล้วหันมาดูแลสวนมะพร้าวน้ำหอมเพียงชนิดเดียว

“จากเดิมเราก็ปลูกแล้วก็ขาย เหมือนสวนอื่นๆ แต่เรารู้ว่า เราไม่ควรย่ำอยู่กับที่ ควรพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ จึงพยายามเข้าตลาดค้าส่งด้วยตนเอง เข้าไปติดต่อ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในอดีต ปี 2539 ก็มีคู่ค้าที่ผูกพันกันประจำแต่ละสวน การเปิดตลาดจึงเป็นเรื่องยาก แต่ก็เป็นความโชคดีที่ปีนั้น ตลาดไทเปิดใหม่ ผมจึงเข้าไปติดต่อค้าส่ง ก็ได้คู่ค้าที่ดี ค้าส่งกันเรื่อยมา และภายใน 1-2 ปีแรก ผมก็สามารถเปิดตลาดค้าส่งที่ตลาดโคราชได้อีกแห่ง แต่ถึงแม้จะเปิดตลาดค้าส่งได้แล้ว แต่ผมก็ยังคงเป็นเกษตรกรที่ทำหน้าที่ทุกอย่างเอง ตั้งแต่เป็นชาวสวน จนถึงขับรถหกล้อส่งมะพร้าวน้ำหอมเอง”

การพัฒนาการของการค้ามะพร้าว ไม่ได้มีแค่มะพร้าวลูกเขียว หรือมะพร้าวสด แต่เริ่มเข้าสู่ยุคของการปอกเปลือกมะพร้าวเหลือแต่ลูกกะลา แล้วนำไปต้มหรือเผา นับเป็นก้าวที่ 2 ของการวงการมะพร้าวที่ไม่เฉพาะขายส่งมะพร้าวเขียว แต่เริ่มต่อยอดด้วยการแปรรูปให้เป็นผลรับประทานง่ายขึ้น

เมื่อมีโอกาสก้าวเข้าสู่ตลาดส่งออก ในปี 2544 เพราะมีเพื่อนแนะนำให้รู้จักกับลูกค้าชาวไต้หวัน และทำให้รู้จักการค้าในรูปแบบของ OEM (Original Equipment Manufacturer) หรือ รับจ้างผลิต โดยยังไม่มีแบรนด์เป็นของตนเอง และขยายฐานลูกค้าจากไต้หวันไปอีกหลายประเทศ

จุดเปลี่ยนที่สำคัญ คือ ต้องการความมั่นคงยั่งยืนในอาชีพ จึงตัดสินใจสร้างแบรนด์ของตนเอง โดยการก่อตั้งบริษัท เอ็นซี โคโคนัท จำกัด และต่อยอดการแปรรูปจากมะพร้าวน้ำหอมปอกเปลือก เป็นวุ้นมะพร้าวในห่อสุญญากาศ ถือเป็นการทำการเกษตรครบวงจร และเริ่มค้าขายกับต่างประเทศภายใต้แบรนด์ เอ็นซี โคโคนัท กับหลากประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ไต้หวัน จีน ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศในยุโรป

เปลือกมะพร้าว ที่เดิมเคยเป็นวัตถุดิบเหลือทิ้งจากสวนมะพร้าว ปัจจุบัน ถูกขายให้กับโรงงานผลิตไฟฟ้า เพราะการทิ้งเปลือกมะพร้าวเป็นต้นทุนการผลิตอย่างหนึ่ง คุณณรงค์ศักดิ์ จึงศึกษาเรื่องการนำเปลือกมะพร้าวไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าในกลุ่มชีวมวล อย่างน้อยก็ได้จัดการวัตถุดิบเหลือทิ้งจากสวนมะพร้าวเป็นเม็ดเงินกลับมา

คุณณรงค์ศักดิ์ บอกว่า ตลาดมะพร้าวน้ำหอมในประเทศไทย ยังไม่ดีนัก ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันมีผลกระทบ แต่สำหรับตลาดมะพร้าวน้ำหอมต่างประเทศ มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ซึ่งที่ผ่านมาการเติบโตของมะพร้าวน้ำหอมในต่างประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุกปี ทำให้การค้าในประเทศมีผลผลิตจาก เอ็นซี โคโคนัท เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ และส่งออกยังต่างประเทศมากถึง 95 เปอร์เซ็นต์ โดยในประเทศวางจำหน่ายที่ห้างโมเดิร์นเทรด เช่น โลตัส ซุปเปอร์สโตร์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ และศูนย์การค้าสยามพารากอน เท่านั้น

ปัจจุบัน คุณณรงค์ศักดิ์ ยังคงทำสวนมะพร้าวอยู่ ขยายพื้นที่ปลูกไปหลายแปลงในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และช่วยเหลือเกษตรกรทำสวนมะพร้าวด้วยการรับซื้อมะพร้าวที่ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่บริษัทกำหนด ภายใต้ราคาซื้อขายของตลาดสินค้าเกษตร ทั้งยังยืนยันด้วยว่า มะพร้าวน้ำหอม ยังเป็นสินค้าเกษตรที่มีทิศทางและการเติบโตที่ดีในต่างประเทศอีกมาก

“บางช้างสวนนอก บางกอกสวนใน” เป็นคำกล่าวที่มีมานานตั้งแต่โบราณ เนื่องจากเจ้านายเชื้อพระวงศ์บางพระองค์มีพระตำหนักเรือกสวนอยู่ที่แขวงบางช้าง จึงเรียกสวนที่บ้านนอกในแขวงบางช้างว่า “บางช้างสวนนอก” ส่วนบางกอกนั้นก็ทรงมีเรือกสวนอยู่ชั้นในใกล้กับวังของเจ้านาย ท่านจึงเรียกว่า “บางกอกสวนใน”

จากคำกล่าวเปรียบเปรยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณของทั้งสองสวน บางช้างสวนนอกอยู่ที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ดินแดนที่รุ่มรวยด้วยทรัพยากรธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมหลากหลาย

อัมพวา มีผลไม้รสชาติดีมีชื่อเสียงมาแต่โบราณ ในอดีตเมื่อฟังข่าวการประกาศราคาพืชผักจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ มักได้ยิน คำว่า “พริก หอม กระเทียม บางช้าง” อยู่ด้วยเสมอ นอกจากนี้ อัมพวา ยังมีผลไม้ดีมีชื่อเสียงอีกหลายอย่าง เช่น มะพร้าว มะม่วง ส้มโอ ส้มแก้ว ลิ้นจี่ และอัมพวา (มะเปรียง) เป็นต้น มะม่วงเขียวเสวย เชื่อว่ามีแหล่งกำเนิดที่อัมพวา เช่นเดียวกับ “มะม่วงมันทองเอก” และ “เหนียงนกกระทุง” ก็น่าจะเชื่อกันได้ว่ามีต้นกำเนิดอยู่ที่อัมพวา โดยเฉพาะ “มะม่วงอกร่องบางช้าง”

แล้วคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นมะม่วงจากอัมพวา มะม่วงอกร่องบางช้างไม่เป็นรองในการทำเป็น ข้าวเหนียวมะม่วง แม้ว่าปัจจุบันแม่ค้าขายข้าวเหนียวมะม่วงต่างหันมาใช้มะม่วงน้ำดอกไม้กันเป็นส่วนมากก็ตาม แต่ “มะม่วงอกร่องบางช้าง” ยังคู่ควรกับข้าวเหนียวมะม่วงมากกว่า เพราะความหวาน ความหอม ที่ไม่มีมะม่วงไหนมาเทียบได้

สาเหตุที่ มะม่วงอกร่องบางช้าง มีจำนวนน้อยลง เนื่องมาจากต้นเก่ามีอายุมากให้ผลผลิตน้อย ล้มตายไปก็มาก การปลูกทดแทนชาวสวนมะม่วงรุ่นใหม่ในพื้นที่บางช้าง ดำเนินสะดวก เลือกที่จะปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ตามๆ กัน แต่ก็ยังมี มะม่วงอกร่องบางช้าง หลงเหลืออยู่ ดังนั้น ดินแดนอัมพวาจึงมีสายพันธุ์มะม่วงโบราณดีๆ ที่ไม่คุ้นหูและแปลกหลายพันธุ์ที่น่าจะเชื่อว่ามีต้นกำเนิดอยู่ที่นี่จริง ซึ่งยังมีมะม่วงอีกหลายสายพันธุ์แต่ยังหาไม่พบหรือเจ้าของหวงพันธุ์คงปิดบังไว้ไม่ยอมเปิดเผย

มันทองเอก ของดียังมีอยู่
มะม่วงมันที่ได้รับการยอมรับกันว่ามีรสชาติดีหวานมันก็คือ มันขุนศรี เมื่อเอ่ยถึงมะม่วงมันหรือมะม่วงที่รับประทานดิบก็จะนึกถึง เขียวเสวย หนองแซง ฟ้าลั่น แรด ทะวายเดือนเก้า เพชรบ้านลาด และ มันขุนศรี จากนั้นความนิยมในบางสายพันธุ์ก็ลดลงไปบ้าง โดยเฉพาะ หนองแซง แรด ไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงกัน

มันขุนศรีรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก เปลือกหนาเหนียวมีปริมาณเนื้อมาก ผลดิบเป็นสีเขียวมีรสเปรี้ยว นิยมรับประทานตอนผลแก่จัด เนื้อละเอียด กรอบ ฉ่ำน้ำ หวานมัน ส่วนผลสุกมีเนื้อสีเหลือง เนื้อค่อนข้างเหนียวนุ่ม แต่ไม่เละ รสหวานแหลมอมเปรี้ยวบ้างนิดหน่อย วัดความหวานได้ถึง 25 องศาบริกซ์ มีกลิ่นหอม ไม่มีเสี้ยน มันขุนศรีมีผลคล้ายเขียวเสวย รูปทรงกลมยาวรี ส่วนหัวมน ส่วนท้องอ่อนโค้งไม่มาก ปลายผลเรียวงอนและมน น้ำหนักของผลเมื่อโตเต็มที่ เฉลี่ยต่อผล 350-450 กรัม เมล็ดแบนลีบ มะม่วงมันขุนศรีขายได้ราคาดี สร้างรายได้งามให้กับผู้ปลูกแม้จะมีพื้นที่ปลูกไม่มากก็ตาม ใช้ปลูกเป็นการค้าได้พันธุ์หนึ่ง

แต่ก็ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ใช้สารเคมีกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว

และมองข้ามการใช้แตนเบียนกำจัด คุณวิชาญ วิเคราะห์ว่า น่าจะเป็นเพราะความไม่พร้อมในการหาอุปกรณ์ผลิตแตนเบียน รวมถึงการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรในตำบลเดียวกันที่ยังไม่เข้มแข็งพอ เพราะการผลิตแตนเบียนให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรที่รวมกลุ่มกันนั้น ต้องมีการกำหนดวันเวลาที่ทำไว้ชัดเจน ไม่อย่างนั้นจำนวนแตนเบียนที่ผลิตได้อาจไม่เพียงพอ รวมถึงขณะนั้นเกษตรกรเห็นว่ามีพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่า จึงไม่ให้ความสำคัญกับการทำสวนมะพร้าว

นอกเหนือจากหนอนหัวดำแล้ว ศัตรูพืชที่สำคัญของมะพร้าว ยังมีด้วงแรดและด้วงงวง ที่จัดว่าเป็นศัตรูพืชที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งแตนเบียนไม่สามารถกำจัดด้วงเหล่านี้ได้

คุณวิชาญ ไม่ได้เป็นปราชญ์ชาวบ้านที่เก่งกาจไปทุกสิ่ง ปัญหาด้วงแรดและด้วงงวงก็ยังพบอย่างต่อเนื่อง แต่เพราะการทำการเกษตรด้วยปัญญา ทำให้ปัญหาต่างๆ ทุเลาลง

“ตัวร้ายจริงๆ คือ ด้วงงวง ที่เข้าไปวางไข่ในยอดอ่อนของมะพร้าว แต่ถ้าไม่มีด้วงแรด ด้วงงวงก็ไม่สามารถเข้าไปวางไข่ได้ เพราะด้วงแรดเป็นตัวกัดกินยอดอ่อนของมะพร้าว เป็นศัตรูพืชที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ดังนั้น หากกำจัดด้วงแรดได้ ด้วงงวงก็ไม่สามารถเข้าไปวางไข่ในยอดอ่อนของมะพร้าว ปัญหาด้วงก็หมดไป”

เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับคำแนะนำให้ซื้อสารฟีโรโมน เป็นตัวล่อ ผูกล่อไว้กับถังน้ำ เมื่อด้วงได้กลิ่นก็บินเข้ามาหาที่ถังน้ำ เมื่อบินลงไปก็ไม่สามารถบินขึ้นมาได้ เป็นการกำจัดด้วงแรด แต่ประสิทธิภาพการกำจัดด้วงแรดด้วยวิธีนี้ก็ไม่ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ ในบางรายใช้ก้อนเหม็นแขวนไว้ตามยอดมะพร้าว ใช้กลิ่นไล่ด้วงแรด แต่ลูกเหม็นก็ไม่สามารถวางกระจายได้ครอบคลุมทั่วทั้งสวน

วิธีหนึ่งที่คุณวิชาญแนะนำ คือ การหมั่นบำรุงรักษาต้นมะพร้าว โดยการให้น้ำ ให้ปุ๋ย อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มะพร้าวแข็งแรง นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตต้นทุกระยะ โดยเฉพาะระยะ 3-4 ปี เป็นช่วงที่แมลงศัตรูพืชชอบมากที่สุด เพราะมะพร้าวกำลังแตกใบอ่อน หากพบให้ทำลายด้วยวิธีชีวภาพหรือกำจัดด้วยมือตามความสามารถที่ทำได้

ทุกวันนี้ เฉลี่ยมะพร้าวแกงที่เก็บจำหน่ายได้ในสวนของคุณวิชาญ อยู่ที่ 1 ตัน ต่อไร่ ต่อปี ไม่เคยน้อยไปกว่านี้ ซึ่งพื้นที่ปลูกมะพร้าวของคุณวิชาญและครอบครัวรวมกัน กว่า 100 ไร่ ผลมะพร้าวแกงที่เก็บได้ มีพ่อค้าเข้ามาเก็บถึงสวน ราคาขายหน้าสวน ลูกละ 17 บาท

ดูเหมือนการป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าวด้วยวิธีข้างต้น จะเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จดีในระดับหนึ่ง แต่คุณวิชาญก็ยังไม่วางใจ เพราะยังมีอีกหลายพื้นที่ที่เกษตรกรปลูกมะพร้าวแบบทิ้งขว้าง เพราะมีรายได้จากพืชชนิดอื่นในสวนมากกว่า และหากทำได้ คุณวิชาญ จะใช้เวลาว่างเท่าที่มีเข้าไปส่งเสริมการป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าว เพื่อให้เกษตรกรที่ทำสวนมะพร้าวอย่างไม่กังวล ทั้งยังเป็นการลดต้นทุน ปลอดภัยกับเกษตรกรและผู้บริโภคอย่างแท้จริง

ปราชญ์มะพร้าว บางละมุง ท่านนี้พร้อมถ่ายทอดให้ข้อมูล หากเกษตรกรสวนมะพร้าวท่านใดต้องการ สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 062-956-3629 ยินดีเป็นอย่างยิ่งอาชีพดั้งเดิมของชาวบ้านในอำเภอท่าวังผา ส่วนใหญ่ถนัดปลูกพริกและฟักทอง แต่วันนี้ได้รับโอกาสจาก สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินท่าวังผา จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ เข้ามาสนับสนุนต่อยอดผลผลิตของเกษตรกร โดยการยกระดับไปสู่การแปรรูปพืชผักซึ่งเป็นผลผลิตภายในชุมชน ด้วยการนำมาอบแห้งและบดละเอียดเป็นผงบรรจุซองสุญญากาศจำหน่าย ซึ่งผักบางชนิดสามารถนำไปชงดื่ม และมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อสะดวกต่อผู้บริโภค

อาชีพดั้งเดิมของชาวบ้านในอำเภอท่าวังผา ส่วนใหญ่ถนัดปลูกพริกและฟักทอง แต่วันนี้ได้รับโอกาสจาก สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินท่าวังผา จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ เข้ามาสนับสนุนต่อยอดผลผลิตของเกษตรกร โดยการยกระดับไปสู่การแปรรูปพืชผักซึ่งเป็นผลผลิตภายในชุมชน ด้วยการนำมาอบแห้งและบดละเอียดเป็นผงบรรจุซองสุญญากาศจำหน่าย ซึ่งผักบางชนิดสามารถนำไปชงดื่ม และมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อสะดวกต่อผู้บริโภค

“มาตรการสำคัญของสหกรณ์คือ จะต้องหาตลาดก่อนที่จะมาวางแผนการผลิตกับสมาชิก เพื่อป้องกันผลผลิตล้นตลาด เพื่อไม่ให้เป็นปัญหากับการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์และอาชีพของสมาชิก โดยจะหารือเพื่อวางแผนล่วงหน้ากับเอกชนและตลาดจะที่รับซื้อว่า ปีนี้ต้องการผลผลิตชนิดไหน ปริมาณเท่าไหร่ และกำหนดคุณภาพอย่างไร เช่น พริกแห้ง บริษัทจะแจ้งว่าปีนี้ต้องการจำนวนเท่าไหร่ และให้เมล็ดพันธุ์ที่เขาต้องการมาส่งเสริมชาวบ้านปลูก โดยจะประกันราคารับซื้อขั้นต่ำไว้ ซึ่งเมื่อเริ่มลงมือปลูก สหกรณ์จะมีส่วนร่วมในการคุมคุณภาพร่วมกับเกษตรกร เพราะสิ่งที่สหกรณ์ต้องการ คือส่งเสริมให้ปลูกแบบปลอดสารเคมีและแปลงผลิตต้องได้มาตรฐาน GAP เนื่องจากเป้าหมายหลักของสหกรณ์ คือการสร้างโรงงานแปรรูประบบ GMP ซึ่งต้องนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพจากเกษตรกรมาป้อนสู่โรงงาน โดยสหกรณ์มีการทำห้องเย็นสำหรับแช่เยือกแข็งเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าด้วย”

ปัจจุบัน สหกรณ์ได้ทำเรื่องของบประมาณสนับสนุน ตามโครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ภาคเกษตรและกลุ่มเกษตรกร งบประมาณปี 2562 จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อใช้ในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โดยของบประมาณสำหรับสร้างโรงเรือนระบบอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อแปรรูปผลผลิตเพิ่มอีก 1 หลัง วงเงินประมาณ 1.1 ล้านบาท มูลค่าธุรกิจรวบรวมและแปรรูปผลผลิตของสหกรณ์ปีล่าสุดประมาณ 26.8 ล้านบาท ผลผลิตส่วนมากเป็นพริก ฟักทอง ฟักเขียว มะเขือเทศ กระหล่ำปลี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

ที่ผ่านมา สหกรณ์ได้รับงบอุดหนุนห้องแช่แข็งผักและผลไม้ทั้งงบจังหวัดและเงินกู้จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) และมีออร์เดอร์จัดส่งพริกแห้งปลอดสารให้กับเอกชนที่เป็นคู่ค้า จนได้รับการยอมรับจากบริษัทไทยเวิลด์อิมพอร์ตเอ็กซปอร์ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ส่งออกในฤดูกาลผลิตปี 2562 นอกจากนั้นในส่วนของพริกแห้งเกรด B ที่รองลงมา ได้ส่งเสริมให้สหกรณ์แปรรูปเป็นพริกป่นปลอดสารและบรรจุในซองสุญญากาศ ทำให้สหกรณ์ต้องมีการขยายพื้นที่ เพิ่มเครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อใช้สำหรับการแปรรูปพริกและผักของเกษตรกร เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

“ที่ท่าวังผาและพื้นที่ใกล้เคียง ชาวบ้านส่วนใหญ่ถนัดปลูกพริก สหกรณ์จึงรวบรวมพริกสำหรับส่งตลาดและจำหน่าย ซึ่งปีที่ผ่านมา บริษัท ไทยเวิลด์อิมพอร์ตฯ สนใจและติดต่อให้ส่งพริกแห้ง สหกรณ์จึงได้สร้างโรงเรือนระบบอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับอบพริกแห้งเพื่อการส่งออก ซึ่งการทำพริกแห้ง จะใช้พริกสด 10 กิโลกรัม ตากและอบแห้งแล้วจะได้พริกแห้ง 5-6 กิโลกรัม และพริกแห้ง 10 กิโลกรัม จะได้พริกป่นประมาณ 9 กิโลกรัม และนอกจากพริกแห้งแล้ว สหกรณ์ยังปลูกพริกซอส ส่งให้ บริษัท อะกริฟู้ด ซึ่งมีความต้องการถึง 500 ตัน ต่อปี แต่ปัจจุบันสหกรณ์ผลิตได้เพียง 250 ตันเท่านั้น และอีกธุรกิจสหกรณ์ทำขณะนี้คือการผลิตสินค้าตามออเดอร์ของลูกค้าด้วย

ซึ่งสหกรณ์แห่งนี้มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์หรือห้อง Lab ของตนเอง เพื่อตรวจสอบหาสารตกค้างในพืชผักของเกษตรกร ทำให้ที่ผ่านมาการส่งผลผลิตขายให้กับคู่ค่าจะไม่มีสินค้าของสหกรณ์ถูกตีกลับ และขณะนี้ทางสหกรณ์ได้พัฒนาการผลิตพืชผักเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยแปรรูปทั้งพริกแห้ง พริกป่น และแป้งฟักทอง หรือ Pumpkin Powder เป็นผงฟักทองสำหรับชงดื่ม เพื่อบำรุงสุขภาพ โดยได้ศึกษาร่วมกับสถาบันการศึกษา ทำวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการแปรรูปฟักทองพันธุ์ญี่ปุ่นมาเป็นฟักทองแบบผงที่ยังคงคุณค่าของสารอาหาร เนื่องในพื้นที่เกษตรกรยังปลูกฟักทองกันมาก ซึ่งฟักทองที่อำเภอท่าวังผา มีรสชาตดีและสีสวย สหกรณ์จึงคิดทำเป็นผงชงพร้อมดื่ม เพื่อลองทดสอบตลาด ก่อนจะขยายไปยังผลผลิตพืชตัวอื่นในอนาคต”

จากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น ทำให้สหกรณ์ต้องหาแปลงผักจากเกษตรกรมาสมทบ เพื่อส่งผลผลิตป้อนให้สหกรณ์ได้ตามความต้องการของคู่ค้า โดยในช่วงฤดูแล้งที่ผลผลิตของพริกจะไม่พอต่อความต้องการของตลาด มีการแย่งซื้อจากพ่อค้าทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ สหกรณ์จึงต้องหาแปลงผักของเกษตรกรพื้นที่ใกล้เคียงมาช่วย ซึ่งสหกรณ์จะมีการสุ่มตรวจแปลงเป็นระยะและต่อเนื่อง และเมื่อแปรรูปแล้ว ก็จะมีการสุ่มตรวจผลผลิตที่แปรรูปอีกครั้งก่อนส่งขาย เพื่อให้ได้คุณภาพผลผลิตตามที่ตลาดต้องการและไม่มีสารตกค้าง

ผลของการดำเนินธุรกิจที่ใช้ตลาดนำการผลิต คือหาช่องทางตลาดไว้ล่วงหน้าก่อน จะไปวางแผนส่งเสริมการปลูกพืชผักให้กับสมาชิก ทำให้ยอดเงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์มีจำนวนเพียง 36-37% ของธุรกิจสหกรณ์ทั้งหมด สมาชิกที่กู้เงินสหกรณ์มีประมาณ 400 คน รวมเงินกู้ประมาณ 10 ล้านบาท บางฤดูกาลอาจะมีปัญหาเรื่องการส่งชำระหนี้บ้าง แต่ก็ยังสามารถบริหารจัดการได้ เนื่องจากในการปล่อยกู้จะไม่ปล่อยกู้เป็นเงินสด แต่จะให้เป็นปัจจัย การผลิต เมื่อผลผลิตออกมา สมาชิกก็จะนำมาขายให้สหกรณ์ จึงจะมีการหักเงินส่งชำระหนี้คืนสหกรณ์ ทำให้สมาชิกไม่มีหนี้สินพอกพูน เนื่องจากสหกรณ์ส่งเสริมอาชีพที่ช่วยสร้างรายได้ และเหลือพอส่งชำระหนี้คืนสหกรณ์

นอกจากการแปรรูปแล้ว สหกรณ์แห่งนี้ยังมีการจ้างงานแรงงานในพื้นที่ด้วย โดยเฉพาะกระบวนการทำพริกแห้ง ที่เริ่มตั้งแต่การล้างทำความสะอาด และการเด็ดขั้วพริกสำหรับทำพริกแห้ง สหกรณ์จะจ้างผู้สูงอายุในพื้นที่ เพื่อให้มีรายได้ ให้อัตราค่าจ้างกิโลกรัมละ 4 บาท ทำให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ซึ่งส่วนมากไม่มีงานทำ ต้องอยู่เฝ้าบ้าน ได้มีโอกาสมีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินท่าวังผา จำกัด จังหวัดน่าน นับว่ามีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างอาชีพ สร้างรายได้และดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ให้มีความกินดีอยู่ดี จึงเป็นอีกหนึ่งสหกรณ์ตัวอย่างที่ได้ทำหน้าที่ในการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน สมกับความหมายคำว่า “สหกรณ์”

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มอบโล่ประกาศเกียรติ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบ 17 ปี แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้มีผลงานด้านการพัฒนาสังคมเป็นเลิศ ประเภทบริษัท หรือภาคธุรกิจที่มีผลงาน CSR เป็นเลิศ ในฐานะองค์กรเอกชนที่ร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ด้วยการสร้างโอกาสจ้างงานให้กับคนพิการได้ทำงานในชุมชน โดยมี นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธี นายสากล ม่วงศิริ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้มอบ และ นายประสิทธิ์ สู่ศิลวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ เป็นตัวแทนบริษัทฯ รับมอบ ณ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรุงเทพฯ

นายปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ กล่าวว่า ประกาศเกียรติคุณที่ได้รับช่วยตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยการจัดจ้างคนพิการได้มีงานและรายได้ที่มั่นคง เป็นการตอบรับนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนให้คนพิการสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีคุณค่าและเปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง สร้างความเสมอภาค และความเท่าเทียมกันของคนในสังคม

“บริษัทฯ ยินดีที่ได้เห็นผลลัพธ์ที่ดีเกิดขึ้นจากการจัดจ้างงานคนพิการทำงานสาธารณประโยชน์ในชุมชนมา 3 ปีต่อเนื่องกันของซีพีเอฟ ชุมชนส่วนใหญ่พึงพอใจกับศักยภาพการทำงานของคนพิการ และคนพิการหลายคน พลิกบทบาทเป็นเสาหลักของครอบครัว” นายปริโสทัต กล่าว

ปัจจุบัน บริษัทฯ จัดจ้างคนพิการทำงานรวมทั้งหมด 774 คน เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 แบ่งออกเป็น จ้างคนพิการทำงานในสถานประกอบการของบริษัททั่วประเทศ รวม 279 คน และจัดจ้างคนพิการที่ด้อยโอกาส ฐานะยากจน และมีอุปสรรคในการเดินทาง ให้ทำงานสาธารณประโยชน์หรือช่วยเหลืองานในชุมชนของคนพิการเอง อาทิ โรงเรียน วัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมถึงองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นต้น รวม 476 คน

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมอาชีพให้สัมปทานคนพิการจัดสถานที่ให้จัดจำหน่ายสินค้าในโรงงานและสถานประกอบการของบริษัทฯ อีก 19 คน ทั้งนี้ ซีพีเอฟ มีแนวทางที่จะลดจำนวนการให้สิทธิสัมปทานเพื่อไปจัดจ้างคนพิการโดยตรง 100% ต่อไป

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้คนพิการสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ อาทิ เบี้ยคนพิการ การบริการสุขภาพ เป็นต้น บนพื้นฐานของความเสมอภาคและความเท่าเทียม และร่วมพัฒนาให้คนพิการเป็นบุคลากรที่มีคุณค่าของครอบครัวและชุมชน ตามแนวคิด “เปลี่ยนภาระให้เป็นพลังของสังคม”

นอกเหนือจากการจ้างงานคนพิการให้ทำงานในชุมชนแล้ว ซีพีเอฟยังดำเนินกิจกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือกับกรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ สำนักงานประกันสังคม และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จัดอบรมให้ความรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ของคนพิการและการประกันสังคม ขณะเดียวกัน หน่วยงานทรัพยากรบุคคลของบริษัทฯ ยังเดินทางไปเยี่ยมบ้านและที่ทำงานของคนพิการเพื่อดูแลความเป็นอยู่และมอบของอุปโภคและบริโภคให้แก่คนพิการและครอบครัว รวมทั้งประเมินผลการทํางานของคนพิการ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า คนพิการที่ซีพีเอฟจัดจ้างทำงานสาธารณประโยชน์ในชุมชน มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและมีความสุข เพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการได้แสดงศักยภาพร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์กร รวมทั้งทำประโยชน์ให้ชุมชนและสังคมโดยรวม

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมอาชีพให้สัมปทานคนพิการจัดสถานที่ให้จัดจำหน่ายสินค้าในโรงงานและสถานประกอบการของบริษัทฯ อีก 19 คน ทั้งนี้ ซีพีเอฟ มีแนวทางที่จะลดจำนวนการให้สิทธิสัมปทานเพื่อไปจัดจ้างคนพิการโดยตรง 100% ต่อไป

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้คนพิการสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ อาทิ เบี้ยคนพิการ การบริการสุขภาพ เป็นต้น บนพื้นฐานของความเสมอภาคและความเท่าเทียม และร่วมพัฒนาให้คนพิการเป็นบุคลากรที่มีคุณค่าของครอบครัวและชุมชน ตามแนวคิด “เปลี่ยนภาระให้เป็นพลังของสังคม”

นอกเหนือจากการจ้างงานคนพิการให้ทำงานในชุมชนแล้ว ซีพีเอฟยังดำเนินกิจกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือกับกรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ สำนักงานประกันสังคม และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จัดอบรมให้ความรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ของคนพิการและการประกันสังคม ขณะเดียวกัน หน่วยงานทรัพยากรบุคคลของบริษัทฯ ยังเดินทางไปเยี่ยมบ้านและที่ทำงานของคนพิการเพื่อดูแลความเป็นอยู่และมอบของอุปโภคและบริโภคให้แก่คนพิการและครอบครัว รวมทั้งประเมินผลการทํางานของคนพิการ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า คนพิการที่ซีพีเอฟจัดจ้างทำงานสาธารณประโยชน์ในชุมชน มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและมีความสุข เพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการได้แสดงศักยภาพร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์กร รวมทั้งทำประโยชน์ให้ชุมชนและสังคมโดยรวม

รักษาการผู้ว่าการ กยท. กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน ตามมาตรฐานในระดับสากล ในครั้งนี้ ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันพัฒนาและกำหนดเกณฑ์การจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน ตามมาตรฐานในระดับสากลต่างๆ เช่น มาตรฐาน FSCTM, PEFCTM โดยให้เกษตรกรชาวสวนยางเข้ามามีส่วนร่วมปรับปรุง พัฒนาการจัดการสวนยางของตนเอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าน้ำยางและไม้ยาง รวมไปถึงผลผลิตอื่นๆ ในสวนยาง เช่น พืชแซมยาง พืชร่วมยาง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรชาวสวนยางอีกทางหนึ่ง โดยการนำไปจำหน่ายผ่านช่องทางตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถือเป็นการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราอย่างครบวงจร ที่ยังคำนึงถึงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย

ด้าน นายจิรวัฒน์ สุกปลั่ง ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายขายและพัฒนาธุรกิจ กล่าวว่า บริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจพลังงานทดแทน (Renewables Energy) ซึ่งเป็นธุรกิจที่จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้ เนื่องมาจากการตระหนักในการเปลี่ยนแปลงต่อสภาวะอากาศของโลก (Global Warming) รัฐบาลของหลายๆ ประเทศทั่วโลก จึงมีนโยบายสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากการใช้ถ่านหิน หรือ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สู่การใช้พลังงานทางเลือกและพลังงานสะอาดหนึ่งในนั้นคือ “พลังงานทดแทนจากเชื้อเพลิงชีวมวล” ซึ่งผลิตจากชิ้นส่วนไม้เล็กๆ ที่ไม่สามารถผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องใช้อื่นๆ ได้

“การผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อป้อนให้กับโรงไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีชิ้นส่วนไม้ยางที่ผ่านการรับรองภายใต้มาตรฐานการจัดการสวนยางที่ยั่งยืนเป็นวัตถุดิบที่ต้องสำรองไว้สำหรับผลิตเป็นพลังงานเชื้อเพลิง ดังนั้น บริษัทจึงเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในการทำความร่วมมือกับ กยท. อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดมาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากลในสวนยางของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ด้วย โดยทางบริษัทยินดีที่จะร่วมสนับสนุนการให้เกิดการรับรองมาตรฐานสวนยาง และจัดหาตลาดทางเลือกให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราไทย สร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจยางพาราไทยต่อไป” นายจิรวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติม

กรุงเทพมหานคร ภาคเอกชน โดย 3 สมาคมภาคเกษตร ได้แก่ สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืช และสมาคมฯ นวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย แสดงจุดยืนต่อเกษตรกรและเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศ เข้าให้ข้อมูลและชี้แจงข้อเท็จจริงตามคำเชิญของคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม ระบุการตัดสินใจเกี่ยวกับสารแต่ละชนิด ควรใช้การพิจารณาตามหลักสากลว่าด้วยเหตุผลและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ มากกว่าการคาดเดา หรือจากผลที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีการแสดงความเห็นให้มีการตั้งคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรมขึ้นเพื่อศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการตัดสินใจและนำเสนอต่อสภาฯ นั้น สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืช และสมาคมฯ นวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ได้ชี้แจงว่าปัจจุบันในภาคการผลิตขนาดใหญ่ การจัดการศัตรูพืชโดยการใช้สารยังคงจำเป็นสำหรับเกษตรกร การยับยั้งการใช้สารจะส่งผลต่อภาคการผลิตและส่งออกพืชเศรษฐกิจที่ทีความจำเป็นต้องใช้สารดังกล่าว ซึ่งอาจสร้างความเสียหายโดยไม่จำเป็น เนื่องจากการใช้สารแต่ละประเภทอยู่ภายใต้การกำหนดค่ามาตรฐานจากองค์กรสากล ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจทำให้ไทยเสียเปรียบคู่แข่งขันรายอื่นๆ ที่สามารถพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันในด้านการผลิต และการตลาด

ผลจากการตัดสินใจที่ได้กำหนดเป้าหมายไว้แล้วล่วงหน้านั้น เป็นความไม่ยุติธรรมต่อเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง การตัดสินใจเกี่ยวกับสารแต่ละชนิด ควรใช้การพิจารณาตามหลักสากล ว่าด้วยเหตุผลและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มากกว่าการคาดเดา หรือจากผลที่กำหนดไว้ล่วงหน้า สมาคมฯ ยินดีรับฟังเหตุผล หลักฐานและข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน

สมาคมฯ คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกร ผลผลิตของพืชเศรษฐกิจหลักๆ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงไปถึงอุตสาหกรรมอาหาร แปรรูปอาหาร อาหารสัตว์ และภาคส่งออก เป็นสำคัญ หากมีการตัดสินเกี่ยวกับปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่เกษตรกรยังมีความจำเป็นต้องใช้ ทั้งนี้ สมาคมฯ ได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯ เพิ่มเติมว่า ภาคอุตสาหกรรมเกษตรได้ดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจ ฝึกอบรมและทดสอบ การใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยของตัวเกษตรกรเอง และผู้บริโภค โดยได้จัดให้มีการฝึกอบรมร้านค้า เกษตรกร และผู้รับจ้าง โดยทำงานร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลากว่า 30 ปี จึงเห็นควรจะจัดให้มีมาตรการในการถือปฏิบัติในภาคเกษตรอย่างเคร่งครัด

สมาคมฯ จึงขอฝากถึงรัฐบาลและผู้มีอำนาจตามกฎหมายในการตัดสินใจในเรื่องนี้ว่า ขอให้คำนึงถึงความจำเป็น ความอยู่รอดของเกษตรกร ผลกระทบที่จะมีต่ออุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และอาหารสัตว์ ไปจนถึงอุตสาหกรรมและผลกระทบที่จะเกิดโดยตรงกับการส่งออกพืชเศรษฐกิจเป็นสำคัญ

สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร (KAPI) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำผลงานวิจัยเด่น อาทิ แบรนด์ KAPIOKU, แบรนด์ไพลสยาม ผลิตภัณฑ์แป้งข้าวหอมมะลิ GENGIGRAIN และ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเสริมโปรตีนชนิดผง เข้าร่วมแสดงในโซน Advanced Technologies ณ งานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน CHINA-ASEAN EXPO หรือ CAEXPO ครั้งที่ 16 ซึ่ง KAPI ได้รับเชิญร่วมจัดแสดงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และร่วมงานประชุมวิชาการ The 7th Forum on China-ASEAN Technology Transfer and Collaborative Innovation, CAEXPO 2019 ณ ศูนย์การประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติ นครหนานหนิง มณฑลกว่างซี เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 20-24 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา

โดยในปีนี้ ทางสถาบันได้ส่ง นางสาวชลลดา บุราชรินทร์ นักวิจัย ฝ่ายวิจัยเชิงพาณิชย์และ การจัดการสารสนเทศ และ นางสาวพัลลภา วุฒิภาพรกุล นักวิจัย ฝ่ายนาโนเทคโนโลยีและเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นตัวแทนหน่วยงานนำผลงานวิจัยจัดแสดงในโซนสินค้านวัตกรรม เทคโนโลยีขั้นสูง ณ ฮอลล์ D3 ซึ่งเป็นพื้นที่จัดแสดงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมจีน-อาเซียน งานนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศจีนกับอาเซียนจีนกับอาเซียนเผื่อเร่งผลักดันและพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค พร้อมส่งเสริมความร่วมมือของธุรกิจ SMEs และส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกัน

ด้าน นางสาวชลลดา บุราชรินทร์ นักวิจัย ฝ่ายวิจัยเชิงพาณิชย์และการจัดการสารสนเทศ กล่าวว่า “ทางสถาบัน KAPI ได้คัดเลือกผลงานวิจัยที่เหมาะสมกับผู้บริโภคกลุ่มตลาดจีน-อาเซียน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเครื่องสำอาง แบรนด์ KAPIOKU (คาพิโอกุ), ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ แบรนด์ Plai Siam (ไพลสยาม), ผลิตภัณฑ์แป้งข้าวหอมมะลิ แบรนด์ GENGIGRAIN (เก็งกิเกร็น) และ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเสริมโปรตีนชนิดผง สำหรับผู้สูงอายุ รสงาดำ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดล้วนได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานชาวจีนและผู้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการจากประเทศต่างๆ เป็นอย่างมาก

สำหรับผลงานวิจัยที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างสูงในปีนี้ได้แก่ คือ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ Plai Siam (ไพลสยาม) ที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้าชาวจีนอย่างต่อเนื่องจากปีที่แล้ว โดยกลุ่มชาวจีนล้วนชื่นชอบในแง่ของคุณสมบัติ กลิ่นหอมของไพล และดีไซน์ที่เด่นสะดุดตา โดยในครั้งนี้สถาบันฯ ได้นำผลิตภัณฑ์ไพลสยามมา 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำมันเหลืองไพลและยาหม่องไพล นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวมือจากสารสกัดอะโวคาโด และ ลิปบาล์มบำรุงริมฝีปาก จากสารสกัดโปรตีนรังไหม ก็ได้รับความสนใจและการตอบรับเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน”

ในงานเดียวกันนี้ ตัวแทนจากสถาบันฯ KAPI ยังได้รับเกียรติเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ The 7th Forum on China-ASEAN Technology Transfer and Collaborative Innovation, CAEXPO 2019 โดยมี รศ.นพ. สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้ขึ้นกล่าวถึงนโยบาย Thailand 4.0 แนวทางการวิจัย ทั้ง Frontier Research, Biomedical Research, YOTHI Medical Innovation District (YMID) และ Precision Medicine ตลอดจนการพัฒนากำลังคน และความร่วมมือของการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระหว่างประเทศไทย-จีน

ผู้ประกอบการไทยที่สนใจในผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพจากผลงานวิจัยของคนไทย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ คุณชลลดา บุราชรินทร์ โทร. (080) 269-5536 อี-เมล chonlada.bu@ku.th ฝ่ายวิจัยเชิงพาณิชย์และการจัดการสารสนเทศ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA บริษัท เนสท์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด และศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน เปิดตัวโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมการเกษตรระดับนานาชาติ หรือ AGrowth ครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อให้การสนับสนุนธุรกิจและผู้ประกอบการจากทั่วโลกในการส่งผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีอันทันสมัยที่จะขับเคลื่อนไปสู่ผลลัพธ์เชิงบวกต่ออนาคตของอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศไทย ซึ่งสยามคูโบต้าได้ร่วมสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากสตาร์ทอัพที่มีความเชี่ยวชาญจากทั่วโลก โดยการคัดเลือกสตาร์ทอัพที่มีความเชี่ยวชาญจากแต่ละด้าน และมีประสบการณ์การนำสินค้ามาใช้ในตลาดได้จริง เพื่อนำโซลูชั่นมาทดลองและแก้ปัญหาจริงให้กับเกษตรกรที่อยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ที่ผ่านมา นักวิจัยได้ร่วมมือกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลดอนตูม

ผู้ผลิตมะเขือเทศราชินีแช่อิ่มโดยใช้พาราโบล่าโดม ผลการวิจัยพบว่า ทางกลุ่มฯ สามารถรับซื้อมะเขือเทศราชินีจากสมาชิกผู้ปลูกเพิ่มขึ้น เฉลี่ยวันละ 1 ตัน ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลสดให้แก่ทางกลุ่มฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 นอกจากนี้ ทางกลุ่มฯ ยังมีรายได้เพิ่มจากการจำหน่ายมะเขือเทศผง มะเขือเทศแช่อิ่มสูตรหวานน้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20

ขณะเดียวกัน นักวิจัยยังได้ขยายผลการทดลองใช้พาราโบล่าโดม ในพื้นที่อื่นๆ เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจินตชาติบ้านสวนผักผลไม้อินทรีย์แปรรูป ตำบลบึงนคร อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกปลูกผลไม้โดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง และรับซื้อผลผลิตป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต ทำให้พื้นที่ปลูกและสมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังได้ขยายผลโครงการไปยังกลุ่มผู้ผลิตผลไม้อบแห้ง สวนสระแก้ว ที่ติดตั้ง พาราโบล่าโดม ใกล้กับแหล่งปลูกมะม่วง และผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ที่ใกล้ชุมชน ส่งผลให้เกิดการจ้างงานกับสมาชิกในชุมชนและเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ที่ตกเกรดจากการจำหน่ายผลสด

ถ่ายทอดนวัตกรรมแปรรูปสู่ชุมชนเนื่องจากปัญหาปากท้องและความสุขของคนไทย เกี่ยวพันกับความมั่นคงของประเทศ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในฐานะหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลในการทำหน้าที่ ป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงเพื่อประโยชน์ของประชาชนและความมั่นคงของรัฐ จึงได้ร่วมมือกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) “คืนความสุขให้คนไทย” โดยร่วมกันนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ขยายผลเสริมฐานชีวิต สร้างอาชีพ ให้คนไทยไร้หนี้ มีกินมีใช้ มีสินค้าผลิตออกขายตลอดทั้งปี ซึ่งนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศชาติ

ซึ่งนวัตกรรมการอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก (พาราโบล่าโดม) เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ วช. และ กอ.รมน. จะนำไปใช้เผยแพร่สู่ชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ เพราะเป็นระบบอบแห้งที่ใช้พลังงานจากธรรมชาติ สามารถผลิตสินค้าอบแห้งได้หลากหลายชนิด ช่วยพัฒนาอาชีพและยกระดับรายได้ประชาชน เพื่อสร้างความสุข ตามแผน “ยุทธศาสตร์ชาติ” นำประเทศไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

ได้รับโอกาสดีได้ไปเยี่ยมชมและพูดคุยกับเจ้าของโรงเชือดวัวที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลคือ บริษัท อิบรอฮีม แอนด์ บีฟ จำกัด จึงนำความรู้และประสบการณ์ดีๆ มาแบ่งปันค่ะ ตามไปดูว่ามาตรฐานสากลของโรงเชือดที่ว่านี้เป็นอย่างไร

เริ่มจากธุรกิจเขียงเนื้อวันนี้ได้รับรองมาตรฐานระดับสากลคุณไพฑูรย์ ฮึกหาญ เจ้าของบริษัท อิบรอฮีม แอนด์ บีฟ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 28/1 หมู่ที่ 11 ตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เริ่มเล่าให้ฟังว่า

“เมื่อเรียนจบในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาเกษตรกรรม จากวิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีจังหวัดราชบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2523 จึงเข้ากรุงเทพฯ เพื่อหางานทำ จนผมได้ไปเปิดเขียงจำหน่ายเนื้อวัวที่ตลาดศิริชัย บางบอน 1 เขตบางบอน แต่ในตลาดมีคู่แข่งเยอะ ผมจึงสร้างจุดเด่นโดยเอาชิ้นส่วนวัวมาเป็นชิ้นใหญ่ๆ เลย อย่างขา ซีกลำตัววัว เอามาแขวนโชว์ที่เขียง มีลูกค้าขาประจำอย่างมากมาย ต้องมีเนื้อโคไปวางจำหน่ายถึงวันละ 3 ตัน”

จุดเปลี่ยนอีกครั้งในธุรกิจเนื้อวัวของคุณไพฑูรย์คือ

“ในสมัยรัฐบาลหนึ่งภาครัฐส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจเนื้อวัวทำให้เป็นธุรกิจถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล ผมจึงรับเอานโยบายนี้มาปฏิบัติโดยสร้างโรงฆ่าและชำแหละวัวตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์ ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ นี่เป็นที่มาของบริษัท อิบรอฮีม แอนด์ บีฟ จำกัด” คุณไพฑูรย์เล่าถึงที่มา

คุณไพฑูรย์ เล่าต่อไปว่า

“จากจุดเริ่มต้นของบริษัท อิบรอฮีม แอนด์ บีฟ ที่ได้รับมาตรฐานการผลิตเบื้องต้นจากภาครัฐจนถึงวันนี้ เราได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ มากมายจากการที่เราใช้หลักการเอาใจใส่ลูกค้า ตามใจลูกค้าที่เข้ามาหาเรา ลูกค้ารายใดต้องการการรับรองคุณภาพมาตรฐานตัวใด เราก็จะพยายามทำให้ได้ จนในวันนี้ผลิตภัณฑ์เนื้อของ บริษัท อิบรอฮีม แอนด์ บีฟ จำกัด ได้มาตรฐานการผลิตสินค้าแปรรูปของหน่วยงานต่างๆ เช่น GMP, HACCP, EST Number (การรับรองสถานประกอบการตามข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์ภายใต้มาตรฐาน HACCP ซึ่งใช้ขออนุญาตส่งออกเนื้อไปยังตลาดต่างประเทศได้) และได้รับเครื่องหมายฮาลาล (HALAL) แล้ว”

“ซึ่งโรงฆ่าและชำแหละวัวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตเนื้อเทียบเท่ากับ บริษัท อิบรอฮีม แอนด์ บีฟ จำกัด มีเพียง 2 ราย เท่านั้น แต่แตกต่างกันตรงที่บริษัทอีกรายที่ว่ายังไม่ได้รับเครื่องหมายฮาลาล ผมจึงพูดได้ว่า บริษัท อิบรอฮีม แอนด์ บีฟ จำกัด ของเราได้รับมาตรฐานการผลิตในระดับสากลที่พร้อมจะเดินหน้าทำตลาดต่างประเทศได้อย่างสบาย”

สำหรับกระบวนการเชือดและชำแหละเนื้อของ บริษัท อิบรอฮีม แอนด์ บีฟ จำกัด มีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ค่ะ

– เริ่มจากการนำวัวมาเข้าเครื่องล็อกทั้งตัวโดยใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีกลไกและระบบต่างๆ เหมือนกับของต่างประเทศ แต่ผลิตในประเทศไทยโดยช่างคนไทย เมื่อวัวมาเข้าเครื่องล็อกแล้วจะมีเพียงส่วนหัวและคอโผล่ออกมา แล้วเครื่องจะหมุนให้วัวหงายท้องเพื่อให้คนเชือดทำการล้างคอด้วยน้ำสะอาดก่อนจะเชือด

– เมื่อเชือดแล้วจะใช้เชือกมัดขาหลังใช้รอกยกตัววัวขึ้นเพื่อตัดคอและขาส่วนที่ต่ำกว่าข้อเข่าออก แล้วเลาะหนังออก ติดเครื่องหมายแสดงที่มาของเนื้อ

– ผ่าเอาเครื่องในออก ตัดแต่งไขมันแล้วผ่าครึ่งลำตัวด้วยเลื่อย– ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วนำไปเก็บบ่มซากในห้องเย็น ประมาณ 7 วัน หรือตามระยะเวลาที่ลูกค้าต้องการ

คุณไพฑูรย์ เล่าว่า

“เครื่องจักรสำหรับเชือดและชำแหละซากของเรามีราคากว่า 12 ล้านบาท และทุกขั้นตอนการเชือดและชำแหละวัวของ บริษัท อิบรอฮีม แอนด์ บีฟ จำกัด จะแตกต่างจากที่อื่นคือ ตลอดกระบวนการเชือดวัว และเนื้อวัวจะไม่สัมผัสพื้นโรงเชือดเลย และการล้างทำความสะอาดโรงเชือดด้วยน้ำผสมคลอรีนจึงมั่นใจได้ในเรื่องของความสะอาดและไม่มีกลิ่นติดค้าง”

ความแตกต่างของการทำให้วัวสลบ กับไม่ทำให้สลบก่อนเชือด

โรงเชือดวัวมาตรฐานหลายแห่งที่เคยเข้าไปสัมผัส ใช้วิธีการทำให้วัวสลบ (Stun) ก่อนเชือด แต่กระบวนการเชือดวัวของบริษัท อิบรอฮีม แอนด์ บีฟ จำกัด จะไม่ใช้วิธีการทำสลบก่อน จากความแตกต่างในกรณีนี้ เปล่งสุรีย์ ขออนุญาตอธิบายตามหลักวิชาการ อ้างรายงานการวิจัยของ รองศาสตราจารย์ ดร. วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ทำการพัฒนาเทคนิคตรวจสอบความเครียดในสัตว์ก่อนและหลังการเชือด โดยการตรวจวัดผลทางชีวเคมีในเลือดสัตว์ที่ไม่มีการทำให้สลบก่อนเชือด ผลการศึกษาทางชีวเคมีพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของสารต่างๆ ในเลือดสัตว์ก่อนการเชือดและหลังการเชือด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อสภาพความเครียดของสัตว์

สรุปง่ายๆ ว่าสัตว์ที่ไม่ผ่านการทำให้สลบก่อนเชือดจะมีความเครียดน้อยกว่าสัตว์ที่ผ่านการทำให้สลบก่อนการเชือดค่ะใช้วัวลูกผสมจากฟาร์มเกษตรกรคู่สัญญา

คุณไพฑูรย์ เล่าถึงวัวที่จะนำมาเชือดว่า

“วัวที่นำมาเชือดส่วนใหญ่จะเป็นวัวลูกผสมชาร์โรเล่ส์ ประมาณ 75% และที่เหลือเป็นวัวลูกผสมบราห์มัน ซึ่งวัวลูกผสมชาร์โรเล่ส์ให้เนื้อ 60-64% เนื้อไม่รวมกระดูก ส่วนวัวลูกผสมบราห์มันให้เนื้อ 53% เนื้อไม่รวมกระดูก ส่วนปริมาณการเชือดตอนนี้ โรงเชือดอิบรอฮีมจะเชือดวัว 15-20 ตัว ต่อวัน รวมทั้งเรายังให้บริการรับจ้างเชือดแก่ผู้ประกอบการอื่นๆ ด้วย แต่กำลังการทำงานของเราสามารถเชือดและชำแหละได้เต็มที่วันละ 50 ตัว”

“ตอนนี้จึงมีปัญหาว่าปริมาณวัวที่จะนำมาเข้าโรงเชือดยังไม่พอ โดยวัวทั้งหมดเราได้มาจากฟาร์มของเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งเป็นฟาร์มที่มีเครื่องหมาย Q รับรองมาตรฐานฟาร์มอยู่แล้ว” คุณไพฑูรย์บอก

ในเรื่องของการตลาด คุณไพฑูรย์บอกว่า ผลิตภัณฑ์เนื้อมีตลาดหลักอยู่ 2 ตลาด คือ ตลาดแรก ตลาดภายในประเทศที่เป็นกลุ่มลูกค้าซึ่งเป็นโรงงานแปรรูปเนื้อ

“ลูกค้ากลุ่มนี้เราจะส่งผลิตภัณฑ์เนื้อในลักษณะเนื้อก้อนซึ่งลูกค้าจะนำไปแปรรูปต่ออีกที นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นภัตตาคารอย่างโออิชิ ที่ตอนนี้เรากำลังตกลงทางธุรกิจกันอยู่ ตลาดในประเทศอีกส่วนหนึ่งที่กำลังตกลงทางธุรกิจกันอยู่ก็คือ กลุ่มลูกค้าที่ผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งลูกค้าในกลุ่มนี้ต้องการส่วนของเครื่องในวัวไปใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ทดแทนการนำเข้าซึ่งเราก็มีรถห้องเย็นพร้อมจะให้บริการอยู่แล้ว”

ตลาดในประเทศมีลูกค้าหลากหลายกลุ่ม ส่วนตลาดต่างประเทศก็ยังมีช่องทางอีกมากมาย“อีกตลาดคือ ตลาดต่างประเทศที่เราส่งขายมานานแล้วคือ ที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเราส่งไปในลักษณะเนื้อก้อนเช่นกัน ส่วนตลาดที่เรากำลังติดต่อจะนำสินค้าของเราไปจำหน่ายคือ ประเทศเวียดนาม กับประเทศดูไบ ซึ่งน่าจะมีอนาคตที่สดใส” คุณไพฑูรย์เล่าให้ฟัง

นี่คือ ส่วนหนึ่งของธุรกิจสำคัญที่เรียกว่าขาดไม่ได้สำหรับแวดวงวัวเนื้อบ้านเราค่ะ ใครสนใจผลิตภัณฑ์หรืออยากติดต่อบริษัท อิบรอฮีม แอนด์ บีฟ จำกัด โทร. (032) 287-799 โอกาสหน้าจะหาเรื่องราวดีๆ มานำเสนออีก สวัสดีค่ะ

มะเขือเทศ เป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกา ที่คนพื้นเมืองใช้เป็นอาหารมาแต่ดั้งเดิม แต่ก็เข้ามาอยู่ในสังคมอาหารและผลไม้ของไทยมานานแล้ว บางครั้งนำเข้าครัวไปเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่ขาดไม่ได้เลย เช่น ผัดเปรี้ยวหวาน ส้มตำ บ้างก็นำมาแปรรูปเป็นซอสก็เป็นที่นิยม น้ำมะเขือมีบรรจุกล่องขายกันทั่วทุกแห่งหน บางคนก็นำมารับประทานสดๆ เป็นผลไม้ บ้างก็ใช้ประดับจานอาหารเพื่อความสวยงาม

ข้อมูลจาก คุณต้น หรือ คุณพรศักดิ์ ชัยศักดานุกูล จาก อากงฟาร์ม กล่าวไว้ว่า “เมื่อก่อนนั้น ปี พ.ศ. 2525 อากงฟาร์ม เป็นฟาร์มเลี้ยงหมูที่อากงกับคุณพ่อเริ่มต้นทำ มีทั้งหมูพ่อแม่พันธุ์และหมูขุน รวมกันประมาณ 2,000 กว่าตัว กิจการที่ทำก็ดำเนินก้าวหน้าไปด้วยดี แต่เนื่องจากความเจริญและชุมชนอยู่อาศัยที่ขยายเข้ามาใกล้ฟาร์มเข้าทุกที ทำให้มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและกลิ่น จึงต้องลดปริมาณหมูที่เลี้ยงลง จนกระทั่งเลิกเลี้ยงไปในที่สุด ในปี พ.ศ. 2558 หลังจากเลี้ยงหมูมายาวนานถึง 33 ปี”

เริ่มแรกปลูกเมล่อนในโรงเรือน

ก่อนที่จะเลิกเลี้ยงหมู พอดีคุณต้นได้มีโอกาสไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ในช่วงจังหวะที่อยู่ฮอกไกโด ได้มีโอกาสชิมเมล่อนฮอกไกโด รู้สึกติดใจในรสชาติ ซึ่งไม่เคยได้กินที่เมืองไทย ในระหว่างการเที่ยวได้เห็นโรงเรือนเล็กๆ อยู่ข้างทางหลายโรงเรือน ไม่มีโอกาสเข้าไปดู ได้แต่ยืนดูรอบนอก แล้วก็จำเอามาดัดแปลงทำเป็นโรงเรือนของเราเอง

ต่อมาในปี 2559 จึงดัดแปลงเล้าหมูให้กลายเป็นโรงเรือนปิดที่มีหลังคาเป็นพลาสติกเพื่อรับแสงแดดตามปกติและสามารถกันฝนได้ ส่วนด้านข้างเป็นตาข่ายที่สามารถกันแมลงได้ โดยไม่คิดว่าจะทำเป็นธุรกิจ เพียงคิดว่าอยากกินเมล่อนที่อร่อยเหมือนกับกินที่ฮอกไกโด จากนั้นได้เข้ากลุ่มเพื่อนคนที่ชอบเมล่อนด้วยกัน ในเฟซบุ๊ก ชื่อ คนรักเมล่อน ได้ความรู้มามากมาย และได้ปรึกษากับอาจารย์เบส ซึ่งทำเมล่อนจนเชี่ยวชาญที่จังหวัดหนองคาย ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ นอกจากนี้ คุณต้น ยังเดินสายไปตามฟาร์มเมล่อนต่างๆ ในเมืองไทย เพื่อเรียนรู้และทดลองชิมมาแล้วเกือบทั่วทุกสวน เมื่อมั่นใจว่าสามารถทำได้ จึงสั่งเมล็ดพันธุ์เมล่อนมาจากญี่ปุ่นทดลองปลูกดู ครั้งแรกๆ ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะหลังจากชิมแล้วรสชาติยังไม่ถูกใจเหมือนที่ฮอกไกโด จึงเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ไป 4-5 รอบ จนกระทั่งได้สายพันธุ์ที่ถูกใจ และได้ใช้เมล็ดพันธุ์นี้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน

นอกจากสายพันธุ์ที่ใช่แล้ว การจัดการปริมาณน้ำและแร่ธาตุที่พืชต้องการจะต้องเหมาะสมกับสายพันธุ์นั้นด้วย สายพันธุ์ที่สวนอากงใช้มี 2 สายพันธุ์ คือ ฟุระโนะ เปลือกตาข่ายสีเขียวเนื้อส้ม ฮอกไกโดฟูยุ เปลือกตาข่ายสีทองเนื้อสีเขียว แต่เป็นที่น่าเสียดายเนื่องจากภาวะอากาศของบ้านเราหนาวไม่เพียงพอ จึงปลูกได้เฉพาะในฤดูหนาวเท่านั้น และแต่ละปีจะปลูกได้เพียงครั้งเดียว เพราะจะใช้เวลาถึงสองเดือนครึ่งต่อรอบการผลิต ผลผลิตที่ได้มีรสชาติใกล้เคียงกับของฮอกไกโดมาก แต่ผลผลิตที่ได้ยังมีจำนวนไม่มากเหมือนที่ญี่ปุ่น

คุณต้น บอกว่า เมล่อนที่คนไทยชอบจะมีความกรอบ แต่ของญี่ปุ่นจะไม่กรอบมาก แต่จะละลายในปาก ความหวานหอมจะติดลิ้นอวลอยู่ในปากอยู่หลังจากกลืนไปแล้ว ความหวานที่ดีของเมล่อนจะต้องหวานใกล้เคียงกันทั้งลูก แต่ถ้าความหวานในลูกแตกต่างกัน เช่น หัวท้ายหวานน้อยกว่าช่วงกลางผล ก็จะถือว่าไม่ได้มาตรฐาน ปลูกครั้งแรกเอาไว้กินในบ้าน แจกเพื่อนฝูงบ้าง แต่เมื่อเพื่อนได้ชิมแล้วก็ติดใจในรสชาติ จึงสั่งซื้อไปฝากคนที่เคารพนับถือหรือผู้หลักผู้ใหญ่ จึงได้คิดปลูกเป็นการค้า ปัจจุบัน สวนอากงมีเมล่อนขายเฉพาะในฤดูหนาว ราคาขาย ผลละ 500-1,200 บาททีเดียว

ในเมื่อเมล่อนปลูกได้เฉพาะในฤดูหนาว แล้วโรงเรือนก็ถูกปล่อยว่างไว้ จึงทำให้คุณต้นต้องคิดต่อว่าจะปลูกอะไรได้อีกบ้าง ก็มาจบที่มะเขือเทศ เนื่องจากคุณต้นคิดว่าทั้งโลกบริโภคมะเขือเทศเป็นอันดับหนึ่ง และมะเขือเทศมีหลายร้อยสายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ก็ใช้ประโยชน์ต่างกัน บ้างกินเป็นผลไม้ ทำซอส ทำน้ำผลไม้ ประกอบอาหารบ้าง แต่ด้วยความที่ตัวเองไม่ได้พิสมัยกับมะเขือเทศมากนัก เนื่องจากไม่ชอบกลิ่นและความนิ่มของไส้มะเขือเทศที่คนไม่ชอบมะเขือเทศรังเกียจ จึงต้องหามะเขือเทศสายพันธุ์ที่ไม่มีปัญหาเรื่องนี้ จึงเริ่มศึกษาสายพันธุ์ในกลุ่มที่รู้จักก็ยังไม่ถูกใจ จนกระทั่งได้เมล็ดพันธุ์จากเพื่อนที่อเมริกา แต่เมล็ดพันธุ์ที่ใช้มีราคาถึงเมล็ดละ 50 บาท ซึ่งมีราคาแพงมาก จึงจำเป็นต้องดูแลการปลูกอย่างพิถีพิถันตั้งแต่เริ่มต้นเลยทีเดียว

วิธีการปลูกมะเขือเทศองุ่น

สวนอากง จะใช้วิธีการเพาะเมล็ดมะเขือเทศองุ่นด้วยการนำเมล็ดมาวางไว้บนทิชชูที่พรมน้ำ แล้ววางเมล็ดลงบนทิชชูที่วางในกล่องทึบแสง เมื่อเรียงเมล็ดเรียบร้อยแล้ว ก็จะฉีดพ่นฝอยด้วยฟ็อกกี้อีกครั้ง แล้วเทน้ำในกล่องออกให้หมด นำไปไว้ในที่มืด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก็จะนำมาใส่ถาดเพาะ โดยใช้พีชมอสส์ หลังจากนั้นรดน้ำด้วยฟ็อกกี้เช้าเย็น โดยระวังไม่ให้วัสดุปลูกแฉะ นำมาวางในโรงเรือนที่ไม่โดนฝนและมีแสงแดดรำไร ใช้เวลาประมาณ 14-15 วัน ต้นมะเขือเทศจะมีความสูงประมาณ 4-5 นิ้ว ก็สามารถนำมาปลูกในโรงเรือนได้แล้ว

โรงเรือนของสวนอากงจะมีหลังคาพลาสติกกันน้ำและตาข่ายกันแมลงรอบข้าง ส่วนในโรงเรือนจะเป็นพื้น 3 ระดับเพื่อให้เหมาะสมกับการระบายน้ำและการจัดการตามภาพที่เห็น (หน้า 34) โดยครั้งแรกจะใช้กระถางพลาสติกแต่ต่อมาเห็นว่าจังหวัดราชบุรีมีกระถางมังกรเป็นผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น จึงเปลี่ยนมาใช้กระถางมังกรแทน เพราะจะลดการใช้พลาสติกได้อีกด้วย

นอกจากนี้ กระถางมังกรยังใช้งานได้นานกว่า เทแกลบดำใส่กระถางเป็นวัสดุปลูก ซึ่งทางสวนอากงใช้เพียงอย่างเดียวเพราะเห็นว่าเป็นวัสดุที่ผ่านความร้อนมาเชื้อโรคที่ติดมาจึงไม่มี ส่วนธาตุอาหารทางสวนฯ ผสมมากับน้ำ ซึ่งรดทุกวันอยู่แล้ว เมื่อเทแกลบใส่กระถางก็จะเปิดน้ำเปล่าใส่น้ำให้เต็มจนล้นออกมา วันละหนึ่งรอบ ทำอย่างนี้อยู่ 3-4 ครั้ง ก็พร้อมที่จะปลูก ในช่วงหน้าร้อนถ้าจะพรางแสงตอนปลูก และเลือกการปลูกต้นกล้าในตอนเย็น เพราะแสงแดดไม่ร้อนมาก

สำหรับโรงเรือนของสวนอากง จะมี 3 โรงเรือน โรงใหญ่ขนาดความกว้าง 11 เมตร ยาว 40 เมตร 1 โรง และโรงเรือนเล็ก 2 โรง มีขนาดกว้าง 11 เมตร ยาว 24 เมตร โรงใหญ่จะวางกระถางมังกรได้ จำนวน 500 กระถาง ปลูกกระถางละ 2 ต้น ในหนึ่งโรงเรือนจึงจะได้ 1,000 ต้น เมื่อต้นมะเขือเทศตั้งตัวได้ก็จะเริ่มให้ปุ๋ยเคมีผ่านทางน้ำ โดยมากน้อยตามขนาดต้น แต่ให้เพียงเจือจางทุกวัน เช้า กลางวัน เย็น ส่วนหน้าฝนอาจให้เพียงบางเวลา เพราะอากาศชื้นเพียงพอ ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ถึง 2 เดือนครึ่ง ก็จะเริ่มเก็บผลได้ เก็บได้ 6 สัปดาห์ ก็จะหยุดเก็บเนื่องจากผลผลิตมีน้อยลง โดยจะรื้อต้นและวัสดุปลูกออกจากโรงเรือนทั้งหมด ซึ่งถ้าเป็นแปลงปลูกมะเขือเทศอื่นจะบำรุงต้นเพื่อรอผลผลิตรุ่นสอง แต่ทางสวนอากงเลือกที่จะหยุดการปลูก เนื่องจากศัตรูพืชและโรคพืชเริ่มเข้ามารบกวน โดยเลือกปลูกใหม่ดีกว่าการประคบประหงมต้นอีกครั้ง

เมื่อขนกระถางออกหมด ก็จะล้างทำความสะอาดโรงเรือนทั้งหมด ใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน ก็จะฉีดยาฆ่าเชื้อโรคและพักโรงเรือนไว้ 7 วัน หลังจากนั้น ก็จะนำกระถางและดินปลูกเข้าในโรงเรือนและนำต้นกล้าที่เพาะไว้มาปลูกใหม่หมุนเวียนแบบนี้เรื่อยๆ

รสชาติของมะเขือเทศสายพันธุ์นี้จะมีกลิ่นน้อย และไม่มีเมล็ด เนื้อไม่เละ หวานติดเปรี้ยว ต่างกับมะเขือเทศทั่วไปที่มีกลิ่นไส้ในเละ มะเขือเทศองุ่นจะขายอยู่หน้าเพจ อากงฟาร์ม และที่กรูเมต์มาร์เก็ต ในสยามพารากอน เอ็มควอเทียร์ และ เอ็มโพเรียม 3 สาขา ราคาขายปลีก แพ็กละ 160 บาท มีน้ำหนัก 400 กรัม หรือกิโลกรัมละ 400 บาท ส่วนในเพจจะมีค่าส่ง กล่องละ 50 บาท 2 กล่องขึ้นไป 100 บาท ผลผลิตมะเขือเทศองุ่นจะเก็บสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในวันพฤหัสบดี ปัจจุบัน ผลผลิตยังน้อยอยู่ เฉลี่ยประมาณคราวละ 60 กิโลกรัม

สนใจติดต่อ คุณพรศักดิ์ ชัยศักดานุกูล อากงฟาร์ม หมู่ที่ 10 ตำบลดำเนินสะดวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ID LINE : @agongfarm FB : อากงฟาร์ม Agong-Farm IG : agongfarm Movile : 094-416-4644

ปัญหา หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด ด้วงงวง ล้วนแล้วแต่เป็นแมลงศัตรูมะพร้าวที่เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวไม่ต้องการให้เกิดขึ้นทั้งในสวนของตนเองและสวนของเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อพบแล้ว ปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชเหล่านี้จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการควบคุมหรือกำจัดที่ดีพอ

คุณวิชาญ บำรุงยา เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวในพื้นที่ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ผู้ที่เคยได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น ประจำปี 2558 ในสาขาอาชีพทำสวน และเราให้คำจำกัดความเขาว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” ในมุมของเกษตรกรทำสวนมะพร้าว

มุมมองของ คุณวิชาญ คือ การแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืชทุกอย่างด้วยการงดใช้สารเคมี หรือใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดในกรณีที่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดการตกค้างไปถึงผู้บริโภค แม้สารเคมีบางชนิดที่ได้รับการประเมินปริมาณในการใช้แล้วว่า ไม่ตกค้างจนก่อให้เกิดโทษต่อผู้บริโภคก็ตาม

“หนอนหัวดำ และแมลงดำหนาม เป็นแมลงศัตรูพืชที่ในอดีตไม่เคยมี เกษตรกรของไทยไม่เคยประสบ กระทั่งปีที่เกิดการระบาดในภาคใต้ และไม่นานก็แพร่ระบาดมาถึงภูมิภาคอื่นๆ การแก้ปัญหาที่ภาครัฐแนะนำขณะนั้นคือ การใช้สารเคมีกำจัด เพราะต้องการให้การแพร่ระบาดหมดไปโดยเร็ว อีกทั้งเป็นปัญหาใหม่ที่เพิ่งพบ ทำให้ไม่มีงานวิจัยใดมารองรับการแก้ปัญหาศัตรูพืชชนิดนี้มาก่อน”

ระยะที่พบการระบาด เมื่อได้รับคำแนะนำจากภาครัฐ สิ่งที่เกษตรกรทำได้คือ การทำตาม เพื่อแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด แต่เมื่อภาวะระบาดผ่านพ้นไป การทบทวนถึงวิธีแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนจึงมีขึ้นไม่เพียงแต่การป้องกันหรือกำจัด แต่มองไปถึงต้นทุนการผลิตที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ตอบโจทย์เกษตรกรให้ได้รู้ว่า กำไรจากการทำสวนมีมากหรือน้อย

คุณวิชาญ มองว่า การใช้สารเคมีกำจัดหนอนหัวดำและแมลงดำหนาม มีต้นทุนที่สูงมาก สารเคมีปริมาณ 250 มิลลิลิตร ราคาไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท เมื่อใช้ในปริมาณที่แนะนำ สามารถใช้ในมะพร้าว จำนวน 8 ต้น และควบคุมได้ในระยะเวลาเพียง 6-8 เดือน เมื่อคิดเป็นต้นทุนแล้ว เฉลี่ยมีค่าใช้จ่ายต่อต้นอยู่ที่ 150 บาท ต่อ 6-8 เดือน

“แตนเบียนบราคอน” เป็นแมลงตามธรรมชาติที่มีความสามารถในการกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวได้ตามทฤษฎีการใช้แตนเบียนกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว คือ การปล่อยแตนเบียน จำนวน 200 ตัว (1 กล่อง มี 200 ตัว) จะสามารถควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวได้ ในพื้นที่ 1 ไร่

ที่ผ่านมา มีเกษตรกรหลายรายทำตาม หวังผลที่ดีขึ้น แต่การควบคุมและกำจัดก็ยังไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด แม้จะลดลง แต่ก็ยังพบการระบาดอยู่ และหากสวนใกล้เคียงไม่ทำไปพร้อมๆ กัน โอกาสควบคุมและกำจัดได้จะประสบความสำเร็จได้ก็ค่อนข้างยาก

แต่ถึงอย่างไร “แตนเบียน” ก็เป็นความหวัง

คุณวิชาญ ใช้ทฤษฎีการปล่อยแตนเบียนเป็นตัวตั้ง แล้ววิเคราะห์จากปัจจัยโดยรอบ พบว่า เมื่อสวนรอบข้างไม่ได้พร้อมใจกันปล่อยแตนเบียนไปกำจัดแมลงศัตรูพืชพร้อมกัน ก็เกิดช่องโหว่ เพราะพื้นที่จะกว้างมากขึ้น จำนวนแตนเบียนที่ปล่อยไปตามพื้นที่สวนของเกษตรกรแต่ละรายก็ไม่เพียงพอ ดังนั้น หากเกษตรกรไม่พร้อมใจกัน เจ้าของสวนที่ปล่อยแตนเบียนก็จำเป็นต้องปล่อยแตนเบียนเพิ่มจำนวนมากขึ้นหรือปล่อยจำนวนเท่าเดิมแต่ระยะเวลาถี่ขึ้น และเริ่มใช้แตนเบียนกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556

คุณวิชาญ ปล่อยแตนเบียนสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 10-20 กล่อง ได้ผลดีเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์“ถ้าจะให้ได้ผลดี สวนข้างเคียงต้องทำไปด้วยกัน ไม่อย่างนั้นแตนเบียนจากสวนเราก็กระจายไปสวนอื่นด้วย ยังไงก็ไม่ได้ผล”

เมื่อแตนเบียนจำเป็นต้องใช้จำนวนมากในการปล่อย คุณวิชาญจึงเป็นโต้โผในการเพาะเลี้ยงแตนเบียน เพื่อให้ได้ปริมาณมากพอสำหรับปล่อยทุกสัปดาห์ ทุกสวน เพื่อให้การควบคุมและกำจัดได้ผล

การรวมกลุ่มกันของเกษตรกรสวนมะพร้าวในอำเภอบางละมุงจึงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งหมด เพราะพื้นที่บางละมุงมีมากถึง 8 ตำบล ปัจจุบัน เกษตรกรสวนมะพร้าวที่พร้อมใจกันรวมกลุ่มผลิตแตนเบียนมีมากถึง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลหนองปรือ และ ตำบลตะเคียนเตี้ย

การรวมกลุ่มเกิดขึ้นได้ไม่เพียงแค่เห็นผลว่า แตนเบียนสามารถควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวได้ แต่เพราะเป็นการทำที่ต้นทุนต่ำกว่าการใช้สารเคมีมากการผลิตแตนเบียน ควรเพาะหนอนข้าวสาร (แทนหนอนหัวดำ) สำหรับใช้เป็นอาหารของแตนเบียน การเพาะหนอนข้าวสาร จำเป็นต้องใช้รำ ปลายข้าว ไข่ผีเสื้อ หมักไว้รวมกัน จากนั้นเมื่อได้หนอนข้าวสาร ก็นำมาวางไว้ให้เป็นอาหารของแตนเบียน เพื่อเพิ่มจำนวนแตนเบียน กระบวนการตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงได้แตนเบียนตามจำนวนที่ต้องการ ใช้ระยะเวลา 45 วัน

ปัจจุบัน ปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำ ศัตรูมะพร้าวตัวฉกาจ ยังไม่หมดไป แต่ก็พบได้น้อยมาก

เทคนิคการดูแลมะพร้าวอื่นๆ ปราชญ์มะพร้าวท่านนี้ แนะนำไว้ ดังนี้ใส่ปุ๋ยขี้ไก่แกลบปีละครั้ง จำนวน 2 กิโลกรัม ช่วงต้นหรือปลายฤดูฝน ขึ้นอยู่กับความสะดวก

ทำน้ำหมักชีวภาพจากมูลสุกร นำไปพ่นที่ใบมะพร้าวทุกเดือน ช่วยป้องกันแมลงรบกวนได้ดีระดับหนึ่ง

เทคนิคที่คุณวิชาญใช้และเชื่อว่าทุกคนเห็นด้วย คือ การทำให้ต้นมะพร้าวแข็งแรง การป้องกันโรคจากการใช้สารชีวภาพ และการบำรุงต้นด้วยการใส่ปุ๋ยขี้ไก่ รวมถึงการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะเกิดภาวะแล้ง ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้มะพร้าวให้ผลผลิตดีอย่างต่อเนื่องแน่นอน

สี่ เกษตรทฤษฎีใหม่ (New Theory Agriculture) เป็นการจัดการ

ทรัพยากรน้ำในไร่นาให้เพียงพอ เพื่อผลิตพืชอาหาร โดยเฉพาะข้าวเอาไว้บริโภคในครัวเรือน รวมถึงการผลิตอื่นๆ เพื่อบริโภค และจำหน่ายส่วนที่เหลือแก่ตลาด เพื่อสร้างรายได้อย่างพอเพียง จะช่วยสร้างความมั่นคงด้านอาหาร (Food Security) ซึ่งเป็นขั้นพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือน และ

ห้า วนเกษตร (Agroforesty) เป็นการเน้นมีต้นไม้ใหญ่ และพืชเศรษฐกิจหลายระดับที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อใช้ประโยชน์ป่าไม้ของพืชหรือสัตว์ชนิดต่างๆ ที่เกื้อกูลกัน อีกทั้งเป็นการเพิ่มพื้นที่ทรัพยากรป่าไม้ที่มีจำกัดได้อีกทาง จะช่วยให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) อีกด้วย ซึ่งระบบการเกษตรแบบยั่งยืนของบริษัทฯ

ได้มีการยึดหลักตามแนวทางมาตรฐาน SRP มาประยุกต์ใช้แบบผสมผสานทุกรูปแบบ มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการผลิตข้าว ที่คำนึงถึงความสมดุลของระบบนิเวศในแต่ละพื้นที่ส่งเสริมเพาะปลูก มีมาตรการช่วยฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรในไร่นาและสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยระบบการผลิตที่เหมาะสม (Appropriate Production System) นอกจากนี้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรสมาชิกและคนในชุมชนที่เกี่ยวข้อง ก็เป็นสิ่งที่เราตระหนักและให้ความสำคัญมาตลอด

การขับเคลื่อนการเกษตรยั่งยืนของข้าวตราฉัตร (Diving To Sustainable Rice System) ถือเป็นภารกิจหลักอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการพัฒนาคุณภาพข้าวไทย เพราะระบบการเกษตรแบบยั่งยืน จะสมบูรณ์ได้ ต้องทำให้เกษตรกรสามารถเรียนรู้ นำไปปฏิบัติได้จริง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของทรัพยากรในไร่นาและสิ่งแวดล้อม และพัฒนาไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด

กรมวิชาการเกษตร ตามหา​พันธุ์กล้วยโบราณ 12 ชนิด สนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ล่าสุดพบแล้ว 6 ชนิด ในพื้นที่​ จ.นราธิวาส​ และกล้วยพันธุ์หายากอื่นๆ​ อีก 30 ชนิด พร้อมจัดทำแปลงรวบรวมพันธุ์กล้วยพื้นเมืองภาคใต้ตามพระราชดำริ​ บนพื้นที่​ 2.1​ ไร่ และอยู่ระหว่างจำแนกและตรวจวิเคราะห์ลายพิมพ์​ DNA เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

นายจิระ สุวรรณประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่​ 8​ (สวพ.8) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ตามที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริขอให้รวบรวมพันธุ์กล้วยหายากตามรายชื่อพันธุ์กล้วยที่มีอยู่ในสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี​ และตามหนังสือโบราณ เมื่อปี 2468 ของจังหวัดยะลา ที่ได้กล่าวถึงกล้วยชายแดนใต้ 12 พันธุ์ มาไว้ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ​ จ.นราธิวาส

ประกอบด้วย 1.ปีแซ กาปา (กล้วยตะเภา) 2.ปีแซ ซูซู (กล้วยนมสาว) 3.ปีแซ ยะลอ (กล้วยหอม) 4.ปีแซ กูกู กูดอ (กล้วยเล็บม้า) 5.ปีแซ ลือเมาะมานิ​ 6.ปีแซ กาลอ (กล้วยตานี) 7.ปีแซ อาปอ (กล้วยอะไร) 8.ปีแซ ยะรี บอยอ (กล้วยนิ้วจระเข้) 9.ปีแซ ตาปง (กล้วยขนม) 10.ปีแซ สะราโต๊ะ (กล้วยร้อยหวี) 11.ปีแซ สะรือเน๊ะ (กล้วยเตี้ย) และ​ 12.ปีแซ อาเนาะอาแย (กล้วยลูกไก่) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ท้องถิ่นและมีชื่อเป็นภาษามาลายู ทั้งนี้ พระราชดำรัสดังกล่าวมีขึ้นเมื่อครั้งทรงเสด็จฯ ติดตามการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหินจอก หมู่ 6 ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 23 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา

โดยความก้าวหน้าล่าสุด จากการที่กรมวิชาการเกษตรได้สนองพระราชดำริโดยมอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส ดำเนินการสำรวจรวบรวมพันธุ์กล้วยโบราณที่หายากตามพระราชดำริตามหมู่บ้านและชุมชนต่างๆ​ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียง ปรากฏว่าสามารถตามหาพบแล้ว​ จำนวน 6 พันธุ์ ประกอบด้วย 1.ปีแซคา ป่า (กล้วยตะเภา) 2.ปีแซซูซู (กล้วยนมสาว) 3.ปีแซยะลอ (กล้วยหอม) 4.ปีแซกาลอ (กล้วยตานี) 5.ปีแซละเมาะมานิ (กล้วยเล็บมือนาง) และ​ 6.ปีแซสะราโต็ะ (กล้วยร้อยหวี) โดยส่วนใหญ่จะมีชื่อท้องถิ่นเป็นภาษามาลายูและการค้นพบส่วนใหญ่พบใน​ จ.นราธิวาส

นอกจากนี้ ระหว่างที่ตามหากล้วยพันธุ์หายาก 12 พันธุ์ กรมวิชาการเกษตร ค้นพบสายพันธุ์อื่นๆ​ อีก 30 พันธุ์ อีกด้วย โดยทั้งหมดได้ถูกรวบรวมจัดทำแปลงปลูกบนพื้นที่​ 2.1 ไร่​ ขึ้นภายใต้โครงการรวบรวมพันธุ์กล้วยพื้นเมืองภาคใต้ตามพระราชดำริไว้ ณ งานวิชาการเกษตร ศูนย์การศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จ.นราธิวาส และอยู่ระหว่างการจำแนกและจะทำการตรวจวิเคราะห์ลายพิมพ์ DNA เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักวิชาการ

“โครงการรวบรวมพันธุ์กล้วยพื้นเมืองภาคใต้ตามพระราชดำริ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์กล้วยหายากในพื้นที่และส่วนหนึ่งเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่วนอีก 6 ชนิด ที่ยังตามหาไม่พบ กรมวิชาการเกษตรได้วางเป้าจะเร่งลงพื้นที่เพื่อสำรวจ รวบรวมพันธุ์กล้วยหายากตามชุมชนหมู่บ้านต่างๆ​ ให้ครบ 12 พันธุ์ เพื่อให้ทันต่อการถวายรายงานการดำเนินงานการรวบรวมพันธุ์กล้วยฯ​ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริในปีหน้า ซึ่งปัจจุบันนอกจากพันธุ์กล้วยโบราณ 12 ชนิด ที่ตามหาเพื่อสนองพระราชดำริแล้ว กรมวิชาการเกษตร ยังได้ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์พันธุ์พืชหายากทุกชนิดอีกด้วย” นายจิระ กล่าว

ด้าน นายโนรี อิสมะแอ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตร ได้เริ่มรวบรวมพันธุ์กล้วยพื้นเมืองในพื้นที่ใกล้เคียงเท่าที่จะสามารถหาได้ตั้งแต่ปี​ 60 โดยนำพันธุ์กล้วยพื้นเมืองที่รวบรวมได้มาอนุบาลไว้ในถุง ดำเนินการเตรียมแปลงปลูกพันธุ์กล้วย บริเวณพื้นที่งานวิชาการเกษตร ภายในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จ.นราธิวาส โดยปรับพื้นที่ วางผังแปลง ยกร่องแปลงตามผังแปลงที่กำหนด​ จำนวน 36 แปลง ตามหลักวิชาการ​ เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์กล้วยดังกล่าวไม่หายสูญหายไปไหน

“อยากฝากไปถึงคนไทยให้ตระหนักถึงคุณค่าของกล้วยโบราณพันธุ์หายาก และช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชของไทยรักษาไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษา เรียนรู้ ไม่ให้สูญหายไปไหน หากท่านใดมีพันธุ์กล้วยพื้นเมืองภาคใต้ที่นอกเหนือจากนี้ และประสงค์ที่จะให้นำมารวบรวมไว้ในโครงการนี้ ติดต่อได้ที่หน่วยงานกรมวิชาการเกษตร ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง หรือหากใครพบเห็นกล้วยพันธุ์โบราณหายากอีก 6 ชนิด​ ดังกล่าว ในหมู่บ้านหรือชุมชนใด สามารถแจ้งมาได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส (ศวพ. นราธิวาส) โทร. 073-651-397″ นายโนรี กล่าว

สายพันธุ์มะพร้าว ที่เกษตรกรนิยมปลูกในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์สวีลูกผสม 1 พันธุ์ชุมพรลูกผสม 60-1 พันธุ์ชุมพรลูกผสม 2

ผลผลิตมะพร้าวแก่ ส่วนใหญ่ถูกใช้ทำน้ำตาล มะพร้าวกะทิ เป็นต้น มะพร้าวผลแห้งคละ 100 ผล แปลงเป็นเนื้อมะพร้าวแห้งได้ 25 กิโลกรัม หรือมะพร้าวผลแห้งคละ 100 กิโลกรัม แปลงเป็นนํ้ามันมะพร้าวดิบได้ 12.83 กิโลกรัม

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ผลผลิตมะพร้าวในประเทศปี 2562 ว่า มีปริมาณ 874,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.51 แต่ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมมะพร้าวในประเทศ ที่มีความต้องการใช้มะพร้าวผลแก่ถึง 1.04 ล้านตัน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับ กรมอนามัย และคณะทำงานโครงการรณรงค์บริโภคไข่ไก่ 300 ฟอง จัด “งานวันไข่โลก” เดินสายจัดกิจกรร มชวนบริโภคไข่ไก่ ใน 3 โรงพยาบาลใหญ่ ศิริราช รามาธิบดี และจุฬาลงกรณ์ ภายใต้แนวคิด “กินไข่ทุกวัน กินได้ทุกวัย” อัดแน่นทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมบ รรยายความรู้ประโยชน์ไข่ไก่ พร้อมกิจกรรมแจก ไข่ฟรี กิจกรรมยาเก่าแลก ไข่ใหม่ และกระทบไหล่ศิลปินดัง ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัย ที่ดีของประชาชนคนไทยผ่านการรับประทานไข่ไก่ซึ่งมี สารอาหารอันเป็นประโยชน์มากมาย

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และในฐานะผู้แทนประธานคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่ และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) เปิดเผยว่า ไข่ไก่เป็นอาหารโ ปรตีนที่มีคุณค่า ทางอาหารสูงมาก เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของคนทุกเพศทุกวัย ขณะเดียวกันการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อผลิตไข่ไก่ยังเป็นอาชีพหลักอาชีพหนึ่งของเกษตรกรไทย ซึ่งสามารถผลิตไข่ไก่ได้เฉลี่ยปีละ 15,000 ล้านฟอง เป็นความมั่นคงทางอาหารของประเทศ และสามารถตอบสนองความต้องการการบริโภคของคนไทยได้อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม พบว่าอัตราการบริโภคของคนไทยยังอยู่เพียง 247 ฟอง ต่อคน ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายปี 2561 ที่ 300 ฟอง ต่อคน ต่อปี

“คนไทยยังคงบริโภคไข่ไก่ต่ำกว่าหลายๆ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งๆ ที่ไข่ไก่เป็นอาหารโปรตีนมาก คุณค่าและให้ประโยชน์มากมายต่อร่างกาย จึงเป็นภารกิจของกระทรวงฯ ร่วมกับ เอ้กบอร์ด และคณะทำงานโครงการรณรงค์บริโภคไข่ไก่ 300 ฟอง ตลอดจนกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่จะต้องร่วมกัน รณรงค์ส่งเสริมสุขภาพที่ดีของประชาชนผ่านการบริโภคไข่ไก่ ซึ่งนอกจากจะได้ผลลัพธ์ในด้านสุขภาพแล้ว ยังส่งผลพลอยได้ไปถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่วประเทศให้ประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืนด้วย” นายประภัตร กล่าว

ด้าน น.สพ. สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า เอ้กบอร์ดและคณะทำงานโครงการรณรงค์บริโภค ไข่ไก่ 300 ฟอง จะใช้โอกาส “วันไข่โลก (World Egg Day)” ในการรณรงค์บริโภคไข่ไก่เป็นประจำ ทุกปี ในปี 2562 นี้ก็เช่นกัน โดยยุทธศาสตร์ไก่ไข่ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562-2566 ยังคงตั้งเป้าการ บริโภคไข่ไก่ของคนไทยไว้ที่ 300 ฟอง ต่อคน ต่อปี ภายใต้แนวคิด “กินไข่ทุกวัน กินได้ทุกวัย” ทั้งนี้ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใน วงกว้าง ให้คนไทยเห็น คุณประโยชน์ในการบริโภคไข่ซึ่งมีงานวิจัยจากมหาวิทยาลั ยระดับโลกอย่าง ม.ฮาร์เวิร์ดรองรับ ขณะที่กรมจะกำกับดูแลกระบวนการเลี้ยงไก่ไข่ของประเทศไทยซึ่งมาตรฐานการผลิตในระดับสูง ให้ผลผลิตไข่ที่สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

นพ. ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า “ไข่” เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายที่อยู่คู่ครัวไทยมาช้านาน สามารถดัดแปลงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู อีกทั้งยังมีราคา ที่ถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ “ไข่ไก่ 1 ฟอง ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี มีโปรตีน 7 กรัม และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและการทำงานของระบบประสาทกระตุ้นการทำงานของสมอง เสริมสมาธิและความจำ ที่สำคัญ เลซิธินในไข่แดงยังเป็นสารตั้งต้น ของสารสื่อประสาท ช่วยบำรุงประสาท ป้องกันหลอดเลือด แข็งตัว ป้องกันโรคหัวใจ โคลีน ช่วยเพิ่มความจำ และระบบไหลเวียนของเลือด ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ลูทีน และซีแซนทีน

ป้องกันจอรับภาพเสื่อมสภาพ ช่วยบำรุงสายตา โฟเลต มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง สังกะสี ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย การขาดสังกะสีทำให้เตี้ยและแคระแก ร็น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง วิตามินบี1 บี2 บี6 และ บี12 ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี ช่วยให้ไขมันแตกตัวเป็นอนุภาพเล็กๆ และไหลเวียนไปกับกระแสเลือด ป้องกันการจับตัว ของไขมันที่ผนังหลอดเลือด โดยสารอาหารเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนได้อย่างดีเยี่ยม รวมถึงช่วยบำรุงสมองในกลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุอีกด้วย” นพ. ดนัย กล่าว

ทั้งนี้ กรมอนามัยให้คำแนะนำสำหรับปริมาณไข่ที่เหมาะสมในการบริโภคสำหรับคนแต่ละช่วงวัย ดังนี้ เด็กทารกตั้งแต่อายุ 6 เดือน เริ่มให้ไข่แดงต้มสุก 0.5-1 ฟอง ผสมกับข้าวบดในครั้งแรกควรให้ปริมาณน้อยๆ แล้วค่อยเพิ่มปริมาณ เด็กอายุ 7-12 เดือน ให้กินไข่ต้มสุกวันละ 0.5 หรือ 1 ฟอง เด็กวัยก่อนเรียน อายุ 1-5 ปี เด็กวัยเรียน หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร กลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ไม่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง สามารถกินไข่ได้วันละ 1 ฟอง ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สามารถกินไข่ได้ 3 ฟอง ต่อสัปดาห์ และต้องดูแลการบริโภคอาหารอย่างอื่นร่วมด้วย เลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงหรือตามคำแนะนำของแพทย์ และไม่แนะนำให้กินไข่ดิบหรือไข่ยางมะตูม เพราะไข่ดิบอาจจะปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ (Salmonella) ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้มีไข้ ท้องเสีย ย่อยยาก และร่างกายไม่สามารถดูดซึมวิตามินไปใช้ประโยชน์ได้

ด้าน ภาคเอกชนผู้จัดงาน นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ ประธานคณะทำงานโครงการรณรงค์บริโภคไข่ไก่ 300 ฟอง กล่าวว่า ปัจจุบันคณะทำงานโครงการนี้ได้รับการแต่งตั้งจากคณะอนุกรรมการเพิ่มการบริโภคไข่ไก่ ซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) กิจกรรมโรดโชว์วันไข่โลกปีนี้ ได้รับความร่วมมื ออย่างดียิ่งจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมปศุสัตว์ กรมอนามัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งล้วนมีความปรารถนาดีต่อสุขภาพ ของประชาชนชาวไทย จึงร่วมกันให้ความรู้สร้างความเข้าใจถึงประโยชน์ของไข่ไก่ และสนับสนุนให้คนไทยไม่พลาดโอกาสการได้รับสารอาหารดีๆ ที่ผลิตได้ภายในประเทศ

“เป้าหมายการบริโ ภคไข่ไก่ 300 ฟอง ต่อคน ต่อปีของคนไทย จึงเป็นเป้าหมายที่มุ่งช่วยส่งเสริม สุขภาพที่ดีของประชาชน เมื่อประชาชนในประเทศแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ย่อมนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตและคุณภาพ สังคมที่ดีด้วย” นายเรวัติ กล่าว

สำหรับงานสัปดาห์วันไข่โลก 2562 ของประเทศไทย กำหนดจัดขึ้น 3 วันใน 3 โรงพยาบาลใหญ่ ตั้งแต่ 07.00-16.00 น. ได้แก่ 1. ร.พ.ศิริราช วันที่ 7 ต.ค. 62 ณ ชั้น 1 อาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนคริ นทร์ 2. ร.พ.จุฬาลงกรณ์ วันที่ 9 ต.ค. 62 ณ ชั้น 1 อาคาร 14 ชั้น เชื่อมต่อชั้น 1 อาคารคัคณางค์ และ 3. ร.พ.รามาธิบดี วันที่ 11 ตุลาคม 62 ณ โถงชั้น 1 อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ และ อาคารหลัก (อาคาร 1) ภายในงานเน้นการจัดรายการ Guru Talk

โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลทั้ง 3 แห่งมาบอกเล่าเรื่องราวของไข่ไก่ พร้อมกิจกรรมมากมาย อาทิ ร่วมเล่นเกมส์รับรางวัล กิจกรรมแจกไข่ฟรี เพียงแค่สแกนคิวอาร์โค๊ดเข้าร่วมงาน กิจกรรมยาเก่าแลกไข่ใหม่ จำหน่ายไข่สดและไข่แปรรูปคุณภาพราคาพิเศษนำรายได้ช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้แต่ละโรงพยาบาล พร้อมกระทบไหล่ศิลปินชื่อดัง ร.พ.ศิริราชพบ คุณโยชิ มิสทิฟ ฟานี่ 2017 ร.พ.จุฬาลงกรณ์ พบกับ คุณณัฎฐพัชร์ วิพัธครตระกูล (ปุ้ยฝ้าย AF) และ ร.พ.รามาธิบดี พบ คุณนัท ทิวไผ่งาม ขอเชิญผู้สนใจร่ว มรับฟังความรู้ ถามคำถามคาใจ และร่วมกิจกรรมดีๆ ได้ตามวันเวลาและสถานที่ดังกล่าว

อนึ่ง วันไข่โลก (World Egg Day) ริเริ่มโดย “คณะกรรมาธิการไข่นานาชาติ” หรือ “International Egg Commission” มีสมาชิกทั่วโลกก ว่า 80 ประเทศ โดยเริ่มจัดงานวันไข่โลกขึ้นเป็นครั้งแรกที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อปี 2539 พร้อมกำหนดให้ทุกวันศุกร์ที่สองของเดือนตุลาคมเป็นวันไข่โลก ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 11 ตุลาคม 2562 เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ทางด้านโภชนาการของไข่ไก่

เมืองไทย นับเป็นสวรรค์สำหรับคนรักผลไม้ เพราะมีผลไม้เมืองร้อนและเมืองหนาวนานาชนิดให้เลือกรับประทานตลอดทั้งปี หลายคนรู้ดีว่า ช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ของทุกปี จะมีผลไม้เข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ทั้งลำไยสดหวานอร่อยจากภาคเหนือ ทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง จากภาคใต้ให้เลือกซื้อหากันอย่างจุใจ

ในแต่ละปี มักมีผลไม้เข้าตลาดเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาดและมีราคาตกต่ำ เกษตรกรชาวสวนผลไม้จำเป็นต้องขายผลผลิตในราคาถูก ให้มีรายได้หมุนเวียนเพื่อความอยู่รอด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร รัฐบาลต้องทุ่มงบประมาณก้อนโต เพื่อดำเนินมาตรการต่างๆ แก้ไขปัญหาผลไม้ล้นตลาด เช่น ส่งเสริมการแปรรูปผลไม้ เร่งกระจายสินค้าออกจากแหล่งผลิตไปยังผู้ซื้อทั่วประเทศและตลาดส่งออก ฯลฯ

วช. หนุนแปรรูปผลไม้ สร้างมูลค่าเพิ่ม

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เล็งเห็นปัญหาผลไม้ล้นตลาดที่เกิดซ้ำซากเป็นประจำทุกปี จึงสนับสนุนทุนวิจัยให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุศราภรณ์ มหาโยธี ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ศึกษาวิจัยแนวทางสร้างมูลค่าเพิ่มผลไม้ ภายใต้ชื่อ “โครงการขับเคลื่อนผู้ผลิตผลไม้อบแห้งพรีเมี่ยมรายย่อย รักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยองค์ความรู้ การใช้พลังงานทางเลือกเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน”

ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก (พาราโบล่าโดม) เป็นระบบอบแห้งที่ใช้พลังงานจากธรรมชาติ สามารถผลิตสินค้าอบแห้งได้หลากหลายชนิด และเป็นระบบปิดที่ป้องกันฝุ่นละอองและสัตว์พาหะที่ปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์ได้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรมีความมั่นใจในการใช้งานเพื่อผลิตสินค้าจำหน่ายสู่ผู้บริโภค ทั้งนี้ เกษตรกรหรือแม้แต่วิสาหกิจชุมชนซึ่งมีความพร้อมในด้านการพาะปลูกและวัตถุดิบ แต่ยังขาดทักษะการผลิตอาหารตามมาตรฐน GMP ตลอดจนการพัฒนาสินค้าใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมความรู้และศักยภาพแก่เกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน นักวิจัยจึงได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ตั้งแต่การใช้งานพาราโบล่าโดมอย่างมีประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพตามมาตรฐน GMP การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ตลอดจนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้สามารกผลักดันสินค้าสู่ตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดเด่นของเทคโนโลยี “พาราโบล่าโดม”

ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก (พาราโบล่าโดม) มีโครงสร้างแบบเรือนกระจก (green house) ปิดคลุมด้วยแผ่นโพลีคาร์บอเนตที่ใส ไม่มีสี เมื่อรังสีดวงอาทิตย์ส่งผ่านแผ่นโพลีคาร์บอเนตที่ใสไปยังผลิตภัณฑ์ (ผลไม้ พืช ผัก สมุนไพร) ที่อยู่ในชั้นวาง บางส่วนจะตกกระทบพื้นของระบบฯ ทำให้ภายในระบบฯ มีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้น้ำในผลิตภัณฑ์ระเหยออกมา และถูกพัดลมดูดอากาศด้านหลังของระบบอบแห้ง ดูดออกไปภายนอก ความชื้นของผลิตภัณฑ์จึงค่อยๆ ลดลง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ได้รับพลังงานทั้งจากรังสีดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบโดยตรง และจากอากาศร้อนในส่วนอบแห้ง ทำให้ผลิตภัณฑ์แห้งเร็วกว่าการตากแดดตามธรรมชาติ
กระบวนการแปรรูปผลไม้ด้วยวิธีการแช่อิ่มสูตรหวานน้อย เป็นการเพิ่มมูลค่าผลไม้แช่อิ่มอบแห้งด้วยการลดปริมาณการใช้น้ำตาล ได้แก่ สับปะรด มะเขือเทศแช่อิ่มอบแห้ง และการแปรรูปในรูปมะเขือเทศแบบผง ทำให้ได้สินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ และการบริโภคสารที่มีฟังก์ชั่นที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ไลโคปีน ในมะเขือเทศผง

จุดเด่นของเทคโนโลยี “พาราโบล่าโดม”

ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก (พาราโบล่าโดม) มีโครงสร้างแบบเรือนกระจก (green house) ปิดคลุมด้วยแผ่นโพลีคาร์บอเนตที่ใส ไม่มีสี เมื่อรังสีดวงอาทิตย์ส่งผ่านแผ่นโพลีคาร์บอเนตที่ใสไปยังผลิตภัณฑ์ (ผลไม้ พืช ผัก สมุนไพร) ที่อยู่ในชั้นวาง บางส่วนจะตกกระทบพื้นของระบบฯ ทำให้ภายในระบบฯ มีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้น้ำในผลิตภัณฑ์ระเหยออกมา และถูกพัดลมดูดอากาศด้านหลังของระบบอบแห้ง ดูดออกไปภายนอก ความชื้นของผลิตภัณฑ์จึงค่อยๆ ลดลง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ได้รับพลังงานทั้งจากรังสีดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบโดยตรง และจากอากาศร้อนในส่วนอบแห้ง ทำให้ผลิตภัณฑ์แห้งเร็วกว่าการตากแดดตามธรรมชาติ
กระบวนการแปรรูปผลไม้ด้วยวิธีการแช่อิ่มสูตรหวานน้อย เป็นการเพิ่มมูลค่าผลไม้แช่อิ่มอบแห้งด้วยการลดปริมาณการใช้น้ำตาล ได้แก่ สับปะรด มะเขือเทศแช่อิ่มอบแห้ง และการแปรรูปในรูปมะเขือเทศแบบผง ทำให้ได้สินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ และการบริโภคสารที่มีฟังก์ชั่นที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ไลโคปีน ในมะเขือเทศผง

คุณไพรัตน์ยังได้บอกว่าแอนแทรกโนสนับเป็นโรค

ที่สำคัญสำหรับการปลูกทับทิม และได้แนะนำให้มีการฉีดพ่นสารฆ่าเชื้อราในกลุ่มคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ แต่จะต้องฉีดในช่วงที่ต้นทับทิมยังไม่ออกดอก แต่ถ้าช่วงระยะทับทิมออกดอกและติดผลอ่อนแนะนำให้ใช้สารโวเฟ่น แต่การป้องกันโรคแอนแทรกโนสแบบยั่งยืนคือ เรื่อง “การจัดการแสงและทิศทางลม” เป็นที่สังเกตว่าเกษตรกรที่ปลูกทับทิมในระบบชิดจะเกิดปัญหาโรคแอนแทรกโนสระบาดง่ายและค่อนข้างรุนแรง

“ผลทับทิมโดนแดดเผา” หรือที่ภาษาทางวิชาการเรียกซันเบิร์น ผลทับทิมที่โดนแดดมากๆ จะทำให้ผิวเปลือกทับทิมด้าน ไม่สามารถขยายผลได้ เมื่อได้รับน้ำหรือมีฝนตกลงมาหรือมีการใส่ปุ๋ยจะทำให้ผลแตกได้

แต่สำหรับทับทิมพันธุ์ศรีปัญญามีข้อดีตรงที่ขนาดของผลใหญ่ ทำให้ผลมักจะห้อยตกอยู่ภายในทรงพุ่ม จึงไม่ได้สัมผัสแดดโดยตรง แต่ถ้าเป็นทับทิมสายพันธุ์อื่นๆ จะแก้ปัญหาด้วยการห่อผล โดยห่อในระยะผลมีอายุได้ประมาณ 40-45 วัน หลังจากติดผลอ่อนและจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังจากห่อผลไป ประมาณ 1 เดือนครึ่ง หรือสังเกตง่ายๆ คือ ห่อในระยะที่ขนาดผลทับทิมใหญ่ใกล้เคียงกับผลส้มเขียวหวาน จะช่วยลดปัญหาเรื่องแดดเผาได้

น้ำทับทิมสด อนาคตไกล
ตลาดต้องการมาก
ปัจจุบัน รูปแบบการผลิตทับทิมของสวนเทพพิทักษ์เปลี่ยนไป แต่เดิมจะมุ่งเน้นผลิตเพื่อจำหน่ายผลสด จะต้องมีการจัดการในเรื่องการควบคุมคุณภาพของผลผลิต โดยเฉพาะในเรื่องของผิวและขนาดของผล นอกจากจะใช้แรงงานเป็นจำนวนมากในการห่อผล จะต้องมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างประณีต เพื่อไม่ให้ผลทับทิมร่วงหล่นตกพื้น ถ้าผลทับทิมตกลงมาจะทำให้เกิดรอยแผลและผลทับทิมจะเน่าบริเวณที่ตกกระแทก ถึงแม้จะมีข้อดีตรงที่ว่าผลทับทิมจะไม่เน่าทั้งผลก็ตาม แต่นำไปขายเป็นผลสดไม่ได้ แต่สามารถนำมาคั้นเป็นน้ำทับทิมสดได้

คุณไพรัตน์ ได้เล่าถึงขั้นตอนในการคั้นน้ำทับทิมพันธุ์ศรีปัญญาว่า เมื่อเก็บเกี่ยวผลทับทิมที่แก่จัดมาแล้ว จะนำผลทับทิมมาผ่าออกเป็น 4 ส่วน ล้างน้ำในอ่างขนาดใหญ่ที่ใส่น้ำสะอาดและผสมเกลือแกงลงไป ในอัตรา 500 กรัม (ครึ่งกิโลกรัม) ต่อน้ำ 500 ลิตร

ในการล้างผลทับทิมแต่ละครั้งจะต้องล้างให้สะอาดที่สุด สังเกตจนน้ำใสและไม่มีสีชาเลย หลังจากนั้น ให้นำผลทับทิมมาพักเพื่อให้สะเด็ดน้ำ นำมาบีบคั้นด้วยเครื่องบีบคั้นน้ำ ที่สวนเทพพิทักษ์ซื้อมาในราคาเครื่องละ 60,000 บาท เครื่องคั้นเครื่องนี้มีประสิทธิภาพในการคั้นผลทับทิมได้ถึง 4-5 ตัน ต่อวัน (4,000-5,000 กิโลกรัม)

ในการบีบคั้นยังมีเทคนิคตรงที่จะต้องนำผลทับทิมที่ล้างสะอาดและสะเด็ดน้ำแล้วมาใส่ในถุงแรงดันที่มีคุณสมบัติเหนียวและยืดหยุ่นได้ดี ในการบีบคั้นน้ำทับทิมศรีปัญญาถ้าจำหน่ายภายในประเทศ คุณไพรัตน์จะบีบซ้ำเพียง 2 ครั้ง แต่ถ้าจะส่งขายตลาดต่างประเทศจะบีบซ้ำถึง 3 ครั้ง เพื่อเพิ่มความฝาดของเปลือกทับทิม (ในการบีบคั้นจะบีบทั้งเปลือก และส่วนของเปลือกจะมีปริมาณสารแทนนินมาก สารแทนนินมีส่วนช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร) ผลทับทิมสด จำนวน 100 กิโลกรัม จะบีบคั้นเป็นน้ำทับทิมได้ประมาณ 45 ลิตร

“ชาดอกทับทิม”
เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของสวนเทพพิทักษ์
เนื่องจากในช่วงที่ต้นทับทิมออกดอกนั้นจะมีปริมาณมาก ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะร่วงหล่นหรือปล่อยให้ติดผลอ่อน มีบางส่วนจะร่วงหล่นเอง เนื่องจากอาหารไม่เพียงพอ คุณไพรัตน์ จึงคิดว่าจะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้ดอกทับทิมเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ในช่วงที่ทับทิมศรีปัญญาออกดอกมากๆ จะใช้แรงงานเข้าไปเพื่อคัดเฉพาะดอกที่มีความสมบูรณ์ไว้

ส่วนดอกที่มีท่อน้ำเลี้ยงเล็กหรือก้านขั้วดอกเล็ก ให้ตัดเอามาผลิตเป็น “ชาดอกทับทิม” โดยนำมาหั่นเป็นฝอย โดยเครื่องสไลซ์ที่คุณไพรัตน์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นมาเอง หลังจากนั้นนำมาตากแดดให้แห้งกรอบ นำไปชงหรือบรรจุซอง จึงเป็นชาดอกทับทิมพร้อมดื่ม

ในทางสมุนไพรพบว่า “ชาดอกทับทิม” จะมีส่วนช่วยลดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ป้องกันการอักเสบในลำไส้ใหญ่ ล้างไต ลดไขมัน และลดน้ำตาลในเลือดได้ ราคาขายชาดอกทับทิมของสวนเทพพิทักษ์จะขายในราคาขีดละ 50 บาท (จำนวน 100 กรัม) เมื่อนำไปชงผสมน้ำได้มากถึง 35 ลิตร หลังจากนั้น นำไปสเตอริไลซ์กรอกขวดขายจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำชาดอกทับทิมที่มีสีแดงสวยน่าดื่มและมีประโยชน์ต่อร่างกาย

“ศรีสยาม” ทับทิมสายพันธุ์ใหม่
ของสวนเทพพิทักษ์
คุณไพรัตน์ ได้ประสบความสำเร็จในการนำพันธุ์ทับทิมศรีปัญญามาผสมพันธุ์กับทับทิมสเปน คัดเลือกพันธุ์จนได้ต้นที่ดีที่มีคุณสมบัติดี คือ “มีเมล็ดนิ่ม เนื้อมีสีแดง ขนาดผลใหญ่ (แต่ขนาดผลเล็กกว่าพันธุ์ศรีปัญญา) ต้นมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมในบ้านเราได้ดี”

ปัญหาของการปลูกทับทิมเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จนั้น นอกจากจะพบปัญหาเรื่องเมล็ดในผลทับทิมไม่นิ่มเหมือนกับทับทิมสเปน ทับทิมอินเดีย ฯลฯ แล้ว ต้นพันธุ์จะต้องมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและไม่อ่อนแอ โดยคุณไพรัตน์ได้ขยายความต้นทับทิมที่ไม่อ่อนแอจะต้องเป็นสายพันธุ์ที่ใบไม่ร่วงง่าย และทนทานต่อโรคแอนแทรกโนสได้ดี

ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของทับทิมพันธุ์ศรีสยามคือ รสชาติของน้ำจะหวานมาก หวานมากกว่าน้ำทับทิมศรีปัญญา ปัจจุบันในการผลิตน้ำทับทิมของสวนเทพพิทักษ์ได้ปรับปรุงคุณภาพของน้ำทับทิมด้วยการผสมน้ำทับทิมพันธุ์ศรีสยามกับพันธุ์ศรีปัญญาใน อัตรา 1 : 5 (น้ำทับทิมศรีสยาม 1 แกลลอน ผสมกับน้ำทับทิมศรีปัญญา 5 แกลลอน) ผลปรากฏว่าตลาดยอมรับมากยิ่งขึ้น

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สินค้าเกษตรสำคัญที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด (Top 4) ของจังหวัดอ่างทอง ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ไข่ไก่ และมะม่วงน้ำดอกไม้ โดยเกษตรกร ได้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) จากการผลิตข้าวนาปี ในพื้นที่มีความเหมาะสมมากและเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) เฉลี่ย 1,050 บาท/ไร่

ส่วนพื้นที่มีความเหมาะสมน้อยและไม่เหมาะสม (S3/N) เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 604 บาท/ไร่ ข้าวนาปรัง พื้นที่ S1/S2 เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 1,252 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่ S3/N เฉลี่ย 934 บาท/ไร่ มะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งไม่มีการจำแนกพื้นที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 6,508 บาท/ไร่ และ ไข่ไก่ ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 0.07 บาท/ฟอง

หากพิจารณาเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวของจังหวัดอ่างทอง พบว่า พื้นที่ S1/S2 สำหรับปลูกข้าวมีจำนวน 366,388 ไร่ และพื้นที่ S3/N มีเพียงจำนวน 13,859 ไร่ โดยพื้นที่ไม่เหมาะสมบางส่วนเกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนการผลิตและพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าอย่างหลากหลาย ได้แก่ การปลูกผักต่างๆ เช่น ตะไคร้ มีต้นทุนการผลิต 22,089 บาท/ไร่ ระยะเวลาปลูกถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 5-6 เดือน ซึ่งใน 1 ปีสามารถปลูกได้ถึง 2 รอบ เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 20,086 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคารับซื้อในจังหวัดอยู่ที่กิโลกรัมละ 13-15 บาท โดยตะไคร้สามารถทำสมุนไพรแปรรูป เช่น ชาตะไคร้ ส่งขายได้ทั้งตลาดภายในจังหวัดและภายนอกจังหวัด อาทิ ศูนย์ทำสมุนไพรแปรรูปจังหวัดอ่างทอง ตลาดไท และตลาดสี่มุมเมือง

ชะอม ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 19,734 บาท/ไร่ ระยะเวลาปลูกประมาณ 2 เดือนขึ้นไป ยอดจะแตกออกมาให้เก็บผลผลิต และยิ่งมีการดูแลที่ถูกวิธีและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอสามารถเก็บยอดได้วันเว้นวัน สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้เกือบทุกวัน ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 22,266 บาท/ไร่/ปี ราคารับซื้อในจังหวัดอยู่ที่กิโลกรัมละ 10-15 บาท ส่งขายตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง และผู้บริโภคโดยตรง นอกจากจะตัดยอดขายแล้วยังสามารถชำกิ่งพันธุ์ขายได้อีกด้วย

ข่าแดง (ข่าอ่อน) มีต้นทุนการผลิต 68,998 บาท/ไร่ ระยะเวลาในการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้รุ่นละประมาณ 7-8 เดือน และเมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยว ยังสามารถปล่อยทิ้งไว้ได้อีกประมาณ 7-8 เดือน เพราะข่าจะแตกหน่อใหม่อย่างต่อเนื่อง ให้ผลตอบแทน สุทธิเฉลี่ย 27,003 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคารับซื้อในจังหวัดอยู่ที่กิโลกรัมละ 15-20 บาท และยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นส่วนผสมของพริกแกงได้อีกด้วย ส่งขายได้ทั้งตลาดสดภายในจังหวัดและภายนอกจังหวัด เช่น ตลาดไท ส่วนข่าแก่ส่งขายให้กับศูนย์ทำสมุนไพรแปรรูปจังหวัดอ่างทอง

มะเขือเทศราชินี มีต้นทุนการผลิต 34,252 บาท/ไร่ สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวเมื่อต้นมีอายุประมาณ 70-90 วัน ให้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 46,891 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคารับซื้อในจังหวัดอยู่ที่กิโลกรัมละ 40-60 บาท ส่งขายพ่อค้าทั่วไปและผู้บริโภคโดยตรง หากเกษตรกรส่งขายให้กับบริษัท ไมเนอร์ ฟู๊ด กรุ๊ป จำกัด (ร้านซิซซ์เล่อร์สลัดบาร์) บริษัทจะประกันราคารับซื้อที่กิโลกรัมละ 45 บาท นอกจากการปลูกผักต่างๆ แล้ว เกษตรกรยังสามารถปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาได้ โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีต้นทุนการผลิต 4,161 บาท/ไร่ ระยะเก็บเกี่ยว 120 วัน เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 3,172 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคารับซื้อ ในจังหวัดอยู่ที่กิโลกรัมละ 6-8 บาท ส่งขายแหล่งรับซื้อที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ด้าน นายชีวิต เม่งเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 จังหวัดชัยนาท (สศท.7) กล่าวเสริมว่า นอกจากนี้ การปลูกไม้ยืนต้น (ไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ) เพื่อแซมในพื้นที่ว่างเปล่าของเกษตรกรยังเป็นอีกทางเลือกเสริมรายได้ อาทิ ต้นสัก ต้นพะยูง ต้นมะค่า ต้นประดู่ ต้นสะเดา ต้นเต็ง และต้นรัง เนื่องจากเป็นไม้ที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดี และช่วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในอนาคตได้อีกด้วย

รวมทั้งการทำเกษตรผสมผสานจะสามารถสร้างรายได้และให้ผลตอบแทนมากกว่าการทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ทั้งนี้ ท่านที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมข้อมูลพืชทางเลือกในพื้นที่ภาคกลาง สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 โทร. (056) 405-005 – 8 หรืออีเมล zone7@oae.go.th

สมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันฯ บุกกระทรวงพาณิชย์ ได้ประกันราคา หวั่นแบนพาราควอตทำต้นทุนพุ่ง ไม่คุ้มทุน

สมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย และสมาคมเกษตรปลอดภัย เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร้องช่วยเหลืออย่างยั่งยืน อย่าเอาภาษีประชาชนมาใช้ พร้อมแจงเหตุต้นทุนการผลิตเพิ่ม และยืนยันต้องการใช้สารพาราควอตในภาคเกษตรกรรมของชาวสวนปาล์ม ขอให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำงานร่วมกัน

นายมนัส พุทธรัตน์ ประธานสมาพันธ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า “วันที่ 1 ตุลาคมนี้ กระทรวงพาณิชย์ จ่ายเงินชดเชยประกันรายได้ราคาปาล์มน้ำมัน กิโลกรัมละ 4 บาท โดยรับเงินส่วนต่างจากราคาประกันและราคาตลาด ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ไร่ โดยส่วนตัวแล้ว ไม่อยากให้รัฐนำภาษีประชาชนมาใช้ อยากให้วางแผนช่วยเหลืออย่างยั่งยืน เบื้องต้นมีหลายมาตรการออกมาสนับสนุน เพื่อลดการใช้ภาษีประชาชน คาดว่าจะเห็นเป็นรูปธรรมในต้นปีหน้า แต่มาตรการดังกล่าว อาจไม่สำเร็จได้ เนื่องจาก ต้นทุนการผลิตกำลังจะเพิ่มขึ้นจากปัญหาการแบนสารเคมี จึงอยากให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บูรณาการความร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรและประเทศสูงสุด”

ปัจจุบัน มีองค์กรออกมาเสนอให้ใช้สารทดแทนโดยไม่เคยลงมือทำ เกษตรกรไม่ใช่หนูทดลองที่ภาครัฐ NGO หรือผู้ขายจะเข้ามาสั่งให้ซ้ายหันขวาหันแล้วเกษตรกรต้องทำตาม เกษตรกรขอเป็นคนเลือกเองว่าจะใช้อะไร สารตัวไหน มีอะไรมาทดแทนได้จริงหรือไม่ ปลอดภัยจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรกลุ่มปาล์มน้ำมัน ขอให้กำลังใจท่านนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการวัตถุอันตราย และข้าราชการทุกคน ในการยืนยันมติจำกัดการใช้ 3 สารเคมี พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพรีฟอส รวมทั้งสนับสนุนให้เกษตรเพาะปลูกตามมาตรฐาน GAP ใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องตามข้อปฏิบัติกรมวิชาการเกษตร ซึ่งถือเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด

นอกจากนี้ เกษตรชาวสวนปาล์มในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีหลายร้อยครอบครัว คิดเป็น 100% ได้เข้าร่วมอบรมและสอบเพื่อรับใบอนุญาตใช้สารเคมี ตามมาตรการจำกัดการใช้ที่ได้กำหนดแล้ว นายสุชล สินผดุง เกษตรกรสวนปาล์มน้ำมัน จังหวัดปทุมธานี กล่าวเสริมว่า “เกษตรกรทุกคนต้องการใช้ พาราควอต จึงได้ตอบรับเข้าร่วมอบรมกันทุกคน โดยการสอบและการอบรมไม่ได้เป็นเรื่องยากเลย เป็นสิ่งที่เกษตรกรรู้และปฏิบัติเป็นประจำอยู่แล้ว ที่สำคัญ ชาวสวนปาล์มใช้สารพาราควอตเพียงปีละ 2 ครั้ง เพื่อฉีดพ่นในช่วงหญ้าเติบโตมาก ป้องกันเป็นที่อยู่อาศัยของงู หรือสัตวเลื้อยคลานที่มีพิษอื่นๆ โดยสวนของตนเองมีขนาดพื้นที่กว่า 40 ไร่ ไม่สามารถหาแรงงานคนมาจัดการได้”

“วีรศักดิ์”ลงพื้นที่พบปะผู้ประกอบการค้าส่ง-ค้าปลีก จ.นครสวรรค์ ดูความพร้อมร้านค้าเพื่อพัฒนาเป็น “สมาร์ท โชวห่วย” เตรียมจัดทำแผนพัฒนาโชวห่วยแบบครบวงจรตั้งแต่ขนาดเล็ก-ใหญ่ มั่นใจ!! โชวห่วยเข้มแข็งอยู่คู่สังคมไทยยาวยาว ภาครัฐต้องคลุกวงใน เข้าถึง-เข้าใจทุกรายละเอียดธุรกิจ พร้อมเปิดใจ-จับเข่าคุยรับฟังปัญหา-อุปสรรค-ข้อเสนอแนะ และนำมาปรับปรุงประยุกต์ใช้ให้ตรงความต้องการของแต่ละพื้นที่

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการพบปะผู้ประกอบการค้าส่ง-ค้าปลีก และลงพื้นที่ดูความพร้อมร้านค้าเพื่อพัฒนาเป็น “สมาร์ท โชวห่วย” ใน จ.นครสวรรค์ ว่า “ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ได้ลงพื้นที่เพื่อพบปะผู้ประกอบการค้าส่ง-ค้าปลีก ต่อเนื่องจากการลงพื้นที่ จ.นครราชสีมา เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีกไทยให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากธุรกิจโชวห่วยเป็นธุรกิจพื้นฐานที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้เกิดการหมุนเวียน

เกิดการจ้างงานในชุมชน ดังนั้น การพบปะเพื่อรับฟังปัญหา-อุปสรรค-ข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการในพื้นที่จริงๆ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาและผลักดันให้โชวห่วยไทยเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้อง ส่วนตัวมั่นใจว่า การที่ภาครัฐให้ความสำคัญและสนใจผู้ประกอบการรายธุรกิจลึกลงไปถึงรายละเอียดปลีกย่อย-รับฟังความคิดเห็น จะทำให้เข้าใจ-เข้าถึงความต้องการของภาคธุรกิจที่แท้จริง นำมาซึ่งแนวทางการแก้ไขและต่อยอดพัฒนาธุรกิจให้ตรงตามความต้องการของแต่ละพื้นที่ สามารถหามาตรการสนับสนุนได้อย่างถูกต้อง ส่งผลดีทั้งต่อผู้ประกอบการ ประชาชน ภาครัฐ และเศรษฐกิจของประเทศ”

“อย่างไรก็ตาม นอกจากการพบปะพูดคุยเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะต่างๆ แล้ว การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาสู่การเป็นโชวห่วยคุณภาพตอบสนองความต้องการของลูกค้าและคนในชุมชนก็เป็นสิ่งจำเป็น นโยบายสำคัญที่ภาครัฐกำลังดำเนินการอยู่ คือ การพัฒนาร้านค้าโชวห่วยให้เป็น “สมาร์ท โชวห่วย” โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยบริหารจัดการธุรกิจ การสั่งซื้อสินค้า การจัดทำบัญชี สต๊อกสินค้า การจัดรายการส่งเสริมทางการขาย การปรับภาพลักษณ์ร้านค้า พร้อมกระตุ้นให้เกิดการสร้างเครือข่ายในกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าปลีก/ธุรกิจค้าปลีกทั้งในและนอกพื้นที่ เป็นการสร้างฐานธุรกิจให้มีความมั่นคง ไม่ว่าเศรษฐกิจหรือการค้าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปทิศทางใด ผู้ประกอบการก็พร้อมที่จะรับมือและปรับเปลี่ยนตาม อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจระยะยาว โดยมีภาครัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุนและดูแลอย่างใกล้ชิด”

รมช.พณ.กล่าวต่อว่า “ร้านค้าส่ง-ค้าปลีกร้านแรกที่ได้ตรวจเยี่ยม คือ ร้าน ส.ล.โฮลเซลล์ ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง เป็นร้านค้าขายส่งสินค้าอุปโภค-บริโภคขนาดใหญ่ เป็นกิจการของคนไทย 100% และเป็นร้านค้าส่งที่ได้รับการพัฒนาจากกระทรวงพาณิชย์ มีเครือข่ายที่เป็นร้านค้าปลีกและร้านโชวห่วย ประมาณ 300 ร้านค้า ครอบคลุมจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และชัยนาท จากการพูดคุยพบว่า ปัจจุบันทางร้านได้มีการนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการร้านค้า รวมถึง มีการวางแผนกลยุทธ์ที่เน้นลูกค้าและตลาดเป็นสำคัญ ทำให้ลูกค้าที่เป็นร้านโชวห่วยและประชาชนทั่วไปมีความพึงพอใจและกลับมาซื้อสินค้าซ้ำ นอกจากนี้ ยังเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ร้านโชวห่วยที่เป็นเครือข่าย ทำให้มีลูกค้าที่เป็นร้านค้าปลีกเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ก็เป็นร้านค้าปลีกจำหน่ายสินค้าให้แก่คนในท้องถิ่นด้วย ทำให้เข้าใจร้านค้าปลีกและร้านโชวห่วยในพื้นที่ต่างๆ ที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงมากขึ้น”

“ร้านที่สอง ได้เดินทางไปที่ร้านชัยสมบูรณ์โอสถ ต.โกรกพระ อ.โกรกพระ ซึ่งเป็นร้านโชวห่วยต้นแบบในพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาจากกระทรวงพาณิชย์เช่นเดียวกัน เป็นร้านค้าปลีกขนาดเล็กที่จำหน่ายสินค้าอุปโภค-บริโภค จากการพูดคุยพบว่า เป็นร้านโชวห่วยในพื้นที่ที่เปิดมานานกว่า 50 ปี มีทัศนคติที่ดีต่อลูกค้า ทำให้มีลูกค้าประจำที่เป็นคนในท้องถิ่นมาอุดหนุนซื้อสินค้าในร้านตลอด ส่งผลให้กิจการสามารถยืนหยัดมาได้จนถึงทุกวันนี้ แสดงถึงความผูกพันระหว่างร้านโชวห่วยกับคนในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี โดยขณะนี้ กระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างการนำเทคโนโลยีไปช่วยบริหารสต็อคสินค้าและการขายเพื่อผลักดันให้เป็น “สมาร์ท โชวห่วย” ซี่งจะส่งผลทำให้ยอดขายต่อเดือนเพิ่มมากขึ้น”

“หลังจากนั้น ได้เดินทางไป ต.พยุหะ อ.โกรกพระ เพื่อพบปะ/แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ประกอบการโชวห่วยที่ต้องการพัฒนาร้านค้าของตนเองให้เป็น “สมาร์ท โชวห่วย” จำนวน 70 ราย โดยผู้ประกอบการได้เข้ารับการอบรมการเป็น “สมาร์ท โชวห่วย” เบื้องต้น ฟังคำชี้แจงรายละเอียด และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับ ซึ่งได้รับผลการตอบรับเป็นอย่างดี โดยในปี 2563 นี้ กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าจะพัฒนาร้านโชวห่วยให้เป็น “สมาร์ท โชวห่วย” จำนวน 30,000 ร้านค้า”

“โดยหลังจากที่ได้รับฟังและพูดคุยถึงรายละเอียด ปัญหา-อุปสรรคของผู้ประกอบการร้านค้าส่งค้าปลีกแล้ว ได้สั่งการให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เร่งสรุปปัญหา-อุปสรรค พร้อมจัดทำแผนพัฒนาโชวห่วยในแต่ละพื้นที่อย่างครบวงจร ตั้งแต่ขนาดเล็ก-ขนาดใหญ่ โดยเน้นความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อช่วยกันผลักดันให้ร้านโชวห่วยเป็น “สมาร์ท โชวห่วย” โดยเร็ว และเห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เปรียบเสมือน “การติดปีกให้โชวห่วยไทย” ซึ่งผลจากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ยิ่งมีความเชื่อมั่นว่า “โชวห่วย” ยังไงก็ต้องอยู่คู่สังคมไทยไปอีกนาน เป็นธุรกิจที่จะอยู่คู่กับวัฒนธรรมท้องถิ่นของไทยตลอดไป” รมช.พณ.กล่าวทิ้งท้าย

นายวสันต์ นุ้ยภิรมย์ อธิบดีกรมหม่อนไหม มอบแนวทางการปฏิบัติราชการให้แก่ผู้บริหารและข้าราชการกรมหม่อนไหม ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมหม่อนไหม คนที่ 8 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 โดยได้วางแนวทางการปฏิบัติราชการในปีงบประมาณ 2563 เน้นการทำงานที่มุ่งเป้าไปที่การเพิ่มผลผลิต เร่งระดมข้อมูลกำลังการผลิตสินค้าหม่อนไหมและความต้องการใช้ของแต่ละจังหวัด ได้แก่ รังไหมอุตสาหกรรม เส้นไหมหัตถกรรม หม่อนผลสด ชาหม่อน และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ

อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวต่อไปว่า กรมหม่อนไหมยังทำงานเชื่อมโยงกับนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการส่งเสริมโครงการหรือกิจกรรมที่มีศักยภาพ มีผลผลิต และมีความคุ้มค่า ขณะเดียวกันก็ดำรงไว้ซึ่งงานมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทั้งในพื้นที่อนุรักษ์และในพื้นที่ที่สร้างงานขึ้นมาใหม่ โดยวางแนวทางขับเคลื่อนนโยบายในระดับพื้นที่เป็นสำคัญ

นอกจากนี้ ยังเชื่อมโยงกับนโยบายตลาดนำการผลิต โดยส่งเสริมการตลาดในประเทศ รณรงค์ให้คนไทยสวมใส่ผ้าไหมมากขึ้น อย่างน้อยในงานเทศกาลและงานวันสำคัญต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมการตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของสินค้าหม่อนไหม

“การเพิ่มปริมาณการผลิต จะช่วยตอบโจทย์การส่งเสริมและพัฒนางานหม่อนไหมของประเทศได้เป็นอย่างดี เราจึงต้องเพิ่มจำนวนเกษตรกรไหมอุตสาหกรรม ไหมหัตถกรรม และการแปรรูป รวมถึงผู้ประกอบการหม่อนไหม เพิ่มปริมาณการผลิตสินค้าหม่อนไหม ผ้าไหม และผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน และผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งต้องส่งเสริมการตลาดสินค้าหม่อนไหมทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วย” อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าว

สอดรับมาตรฐาน SRP-The Sustainable Rice Platform ภายในงานประชุมและนิทรรศการข้าวเพื่อความยั่งยืน ครั้งที่ 2 ข้าว ซี.พี.-ข้าวตราฉัตร ร่วมกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment-UNEP) และสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (IRRI) ดึงจุดแข็งระบบการปลูกข้าวยั่งยืนของบริษัทฯ ภายใต้โครงการส่งเสริมการปลูกข้าว ที่ทำร่วมกับภาครัฐ ภาคเกษตรกร และภาคประชาชน มากว่า 10 ปี ทั่วประเทศ ทำให้ตอนนี้ มีพื้นที่เข้าร่วมในโครงการฯ กว่า 301,325 ไร่ และมีเกษตรกรสมาชิก

รวมทั้งสิ้น 12,178 ราย ข้าวตราฉัตรจึงได้จับมือร่วมกับ 2 ภาคีเครือข่ายใหญ่ ร่วมกันผลักดันข้าวคุณภาพระดับโลก เพื่อสอดรับมาตรฐาน SRP-The Sustainable Rice Platform คือการขับเคลื่อนการเกษตรยั่งยืน (Driving To Sustainable Rice System) ด้วยการบริหารจัดการระบบการผลิตข้าว โดยคำนึงถึงระบบนิเวศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมในไร่นา ผสมผสานการตลาด จนพัฒนานำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ของเกษตรกรสมาชิก ซึ่งข้าวตราฉัตรถือเป็นแบรนด์ข้าวคนไทยแบรนด์เดียว ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกในโครงการ SRP-The Sustainable Rice Platform

นายสุรชัย ชัยชนะสิทธิการ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด (ข้าวตราฉัตร) กล่าวว่า ข้าวตราฉัตร มุ่งมั่น ให้ความสำคัญเรื่องพัฒนาคุณภาพข้าวไทย ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มขีดความสามารถให้กับเกษตรกรไทยมาโดยตลอด เพื่อทำให้เกษตรกรไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถบริหารจัดการระบบการผลิตข้าวไทยที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ได้วัตถุดิบข้าวที่มีคุณภาพ ตรงตามมาตรฐาน

ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นตามมา และบริษัทฯ จะเป็นแหล่งตลาดให้กับเกษตรกรสมาชิก รับซื้อข้าวเปลือกคืนจากเกษตรกรสมาชิก ทำให้มั่นใจได้ว่าข้าวที่ปลูกมา จะมีตลาดรองรับที่แน่นอน ผ่านในรูปแบบของโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวของบริษัทฯ ซึ่งดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร อาทิ ภาครัฐ ภาคเกษตรกรสมาชิก และภาคประชาชน ร่วมกันสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน GAP มาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี กับความสำเร็จของโครงการฯ รวมพื้นที่กว่า 301,325 ไร่ ทั่วประเทศ และมีเกษตรกรสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 12,178 ราย

รูปแบบระบบการเกษตรแบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture) คือการทำการเกษตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม ความสมดุลของสภาพธรรมชาติ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ อาทิ

หนึ่ง เกษตรผสมผสาน (Integrated Farming) เป็นการผลิตที่มากกว่าสองกิจกรรมขึ้นไป ในเวลาเดียวกัน กิจกรรมทั้งสองนี้จะเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้น จากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินที่มีจำกัดในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สอง เกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) เป็นการผลิตที่ไม่ใช้สารอนินทรีย์เคมี หรือเคมีสังเคราะห์ แต่สามารถใช้อินทรีย์เคมีได้ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ทรัพยากรดิน สร้างความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) ให้แก่ผู้บริโภค

สาม เกษตรธรรมชาติ (Natural Farming) เป็นการทำเกษตรที่ไม่รบกวนธรรมชาติ หรือรบกวนให้น้อยที่สุด ไม่ไถพรวน ไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และไม่กำจัดวัชพืช แต่สามารถคลุมดิน และใช้ปุ๋ยพืชสดได้ จะช่วยฟื้นฟูความสมดุลของระบบนิเวศ (Rehabiltation Of Ecological Balance) และลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก

วิธีป้องกันกำจัด กรณีที่ปลูกต้นมะนาวไว้ใกล้บ้าน

แนะนำให้ใช้สารกำจัดแมลงหมอเกษตร ทองกวาว ให้แช่ยาเส้น หรือยาฉุนครึ่งถุง ปัจจุบันราคาถุงละ 20 บาท มีจำหน่ายตามร้านขายของชำทั่วไป ในน้ำสะอาด 1 ลิตร อย่างน้อยเป็นเวลา 3 ชั่วโมง หากแช่ค้างคืนได้จะยิ่งดี ได้เวลาตามกำหนดใช้มือบีบคั้นให้ได้น้ำสีชา กรองด้วยผ้าขาวบาง เอาเส้นยาออกใส่น้ำลงในอุปกรณ์ฉีดพ่นขนาดเล็ก หรือฟ็อกกี้ ใช้สเปรย์น้ำรีดเสื้อผ้าก็ใช้ได้ เติมเหล้าขาว หรือเหล้าโรง 2 ช้อนโต๊ะ และเสริมด้วยน้ำสบู่เจือจางเล็กน้อย เขย่าให้เข้ากัน แล้วฉีดพ่นที่ใบอ่อนผลิออกมาตั้งแต่วันแรก อย่าให้พลาดและพ่นต่อให้ทั่วทรงพุ่ม ผสมครั้งเดียวใช้ให้หมด สารผสมสูตรนี้ฉีดพ่นมะนาวที่ปลูกในกระถาง หรือปลูกในวงบ่อซีเมนต์ได้ 5-7 ต้น ฉีด 3 ครั้ง ทุกๆ วัน จนใบอ่อนมีอายุครบ 9-12 วัน จึงจะปลอดภัยจากหนอนชอนใบ

ในกรณีที่ปลูกมะนาวไว้เป็นสวนขนาดใหญ่ ให้ใช้ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ อัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 1 ปี๊บ ผสมให้เข้ากันดีก่อนฉีดพ่น และให้ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน และควรทิ้งระยะไว้ 1 สัปดาห์ ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต

รมช.มนัญญา ร่วมแสดงความยินดีโอกาสครบรอบ 47 ปี กรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมผลักดันนโยบายสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ สนับสนุนให้สหกรณ์ดึงลูกหลานสมาชิกสหกรณ์กลับสู่ถิ่นฐานบ้านเกิด เพื่อสานต่ออาชีพการเกษตร เน้นการทำเกษตรอินทรีย์ ลดใช้สารเคมี ทำเกษตรแนวใหม่ ทำน้อยแต่ได้มาก ใช้เทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพและขยายช่องทางตลาดให้เข้าถึงผู้บริโภค

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 47 ปี วันสถาปนากรมส่งเสริมสหกรณ์ ณ บริเวณลานหน้าพระอนุสาวรีย์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพฯ ในการนี้ ได้อ่านสารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมสหกรณ์ ครบรอบ 47 ปี และเชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพื่อมอบให้กับข้าราชการ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน พร้อมทั้งยังให้นโยบายการปฏิบัติงานแก่ข้าราชการ ลูกจ้างและบุคลากรของกรมส่งเสริมสหกรณ์

“กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นหน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกรและประชาชนทุกพื้นที่ ขอให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ร่วมกับกรมตรวจบัญชีสสหกรณ์ พัฒนาสหกรณ์ให้ได้มาตรฐาน จัดเกรดสหกรณ์ระดับ A B และ C และเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ให้สูงขึ้น เพราะสหกรณ์เป็นองค์กรที่มีความสำคัญที่จะช่วยดูแลเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งเน้นให้สหกรณ์ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค และกำลังประสานความร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อหาช่องทางตลาดให้กับสหกรณ์ เพราะหากสามารถทำให้สหกรณ์มีรายได้เพิ่มจากการค้าขายและการทำธุรกิจ จะส่งผลที่ดีกลับไปยังเกษตรกรที่เป็นสมาชิกด้วย” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีนโยบายสนับสนุนให้สหกรณ์มีส่วนช่วยเหลือการสร้างอาชีพรายได้แก่เกษตรกรอย่างมั่นคง ช่วยให้คนรุ่นใหม่ที่รักอาชีพทำการเกษตรไม่ทิ้งถิ่นฐาน โดยการดึงลูกหลานสมาชิกสหกรณ์กลับสู่บ้านเกิด เนื่องจากขณะนี้ในจังหวัดต่างๆ มีแต่คนแก่เลี้ยงหลานจำนวนมาก เพราะพ่อแม่ต้องไปงานในเมืองใหญ่ จึงมีแนวคิดที่จะดึงคนเหล่านี้ให้กลับบ้านมาดูแลและอยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว ซึ่งกำลังคิดหาโครงการที่จะดำเนินการผ่านสหกรณ์ เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ มาสานต่ออาชีพการเกษตรจากพ่อแม่ เน้นการทำเกษตรสมัยใหม่ ใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ ทำน้อยแต่ได้มาก และขอให้เน้นทำเกษตรอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี ควบคู่กับการใช้หลักการตลาดนำผลิต เพื่อสร้างอาชีพที่มั่นคง และได้สั่งการให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ไปศึกษาแนวทางเพื่อดำเนินการในทันที

ด้าน นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า โครงการส่งเสริมอาชีพให้ลูกหลานสมาชิกสหกรณ์นั้น กรมฯ จะประสานไปยังสหกรณ์ทุกพื้นที่ เพื่อเปิดรับสมัครผู้สนใจมาร่วมโครงการ ซึ่งเกษตรกรรุ่นพ่อรุ่นแม่ ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร จากนี้ไปต้องดึงรุ่นลูกซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่เข้ามาสานต่อ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์พร้อมให้การสนับสนุนทั้งด้านองค์ความรู้การประกอบอาชีพ และทั้งนี้ มีตัวอย่างให้เห็นในหลายจังหวัด มีผู้ที่มาทำงาน ในกรุงเทพฯ แต่ยิ่งนานไปกลับมีแต่หนี้สินเพิ่มมากขึ้น จึงต้องการกลับไปอยู่บ้านเกิดและทำการเกษตร ทางสหกรณ์จึงได้แนะนำให้ปลูกผักอินทรีย์เพื่อจำหน่าย จนสามารถปลดหนี้สินได้หมด เชื่อมั่นว่าคนรุ่นใหม่นั้น ถ้าตั้งใจทำเกษตรกรรมจริงจะทำได้สำเร็จ เพราะมีมุมมองเรื่องการตลาด สามารถขายผลผลิตผ่านออนไลน์ และเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน เมื่อเห็นโอกาสและช่องทางในการขายสินค้าแล้ว จึงจะมาวางแผนการผลิตได้ตรงตามที่ตลาดต้องการ”อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นหน่วยงานสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2515 มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน แนะนำ กำกับ และดูแลระบบสหกรณ์ของประเทศไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ “การสหกรณ์มั่นคง สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้มแข็ง เศรษฐกิจและสังคมของชุมชนยั่งยืน” ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนสหกรณ์ 7 ประเภท ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนและสหกรณ์ออมทรัพย์ รวมกันกว่า 8,097 แห่ง เป็นสหกรณ์ภาคเกษตร 4,547 แห่ง สหกรณ์นอกภาคเกษตร 3,550 แห่ง สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศกว่า 11.6 ล้านคน เป็นสมาชิกสหกรณ์ภาคการเกษตร 6.7 ล้านคน สมาชิกสหกรณ์นอกภาคเกษตร 4.9 ล้านคน มีทุนดำเนินการ 3.1 ล้านล้านบาท และปริมาณธุรกิจ 2.5 ล้านล้านบาท

ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (PCMC) กำหนดจัดงานงานวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 12 ปี ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562 เวลา 09.00-11.00 น. ณ ห้องประชุมนันทปัญญา ชั้น 1 อาคารเรียนและปฏิบัติการ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มีแสดงปาฐกถาธรรม โดย หลวงพ่อปัญญานันทมุนี (เจ้าอาวาสวัดชลประทาน รังสฤษดิ์ พระอารามหลวง) หัวข้อเรื่อง โรงพยาบาลคุณธรรม ยิ่งให้ ยิ่งได้

12 ปี PCMC Go Forward มุ่งสู่การเป็นโรงพยาบาลคุณธรรม บริการวิชาการสู่สังคม ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส น้อมนำคำสอน “ยิ่งให้ ยิ่งได้” ของหลวงพ่อปัญญานันทะภิกขุ มาเป็นแนวทางปฏิบัติงาน

นายจักริน แต้ไพสิฐพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สำนักกิจการเพื่อสังคม เครือ เบทาโกร (ที่ 2 จากซ้าย) นายณัฐ หาวารี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลพบุรี (ที่ 2 จากขวา) นางสาวไสววรรณ ไผ่ประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี (ซ้ายสุด) นาง สิริพร พุทธิพรโอภาส ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 4 ปทุมธานี (ขวาสุด) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคพนักงานในสถานประกอบการของบริษัทในเครือเบทาโกร จังหวัดลพบุรี ซึ่งมุ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับโรค NCDs โดยมีผู้บริหารและผู้แทนส่วนราชการ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นสักขีพยานและให้การสนับสนุนการดำเนินงาน รวมทั้งผู้มีเกียรติเข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุม บริษัท เพ็ท โฟกัส อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เมื่อเร็วๆ นี้

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการเปิดสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมสหกรณ์ ครบรอบ 47 ปี พร้อมบรรยายพิเศษ “นโยบายด้านการเกษตรภายใต้ภารกิจของหน่วยงานที่กำกับดูแล” โดยมี นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้บริหารฯ และข้าราชการ ให้การต้อนรับ ณ ห้องปรินซ์บอลรูม โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 กันยายน 2562 โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์ สหกรณ์จังหวัด ข้าราชการ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 600 คน เพื่อรับทราบนโยบาย รวมถึงแนวทางปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และเพิ่มพูนความรู้ ศักยภาพการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ในโครงการ “การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคการศึกษาระดับอาชีวศึกษาในการพัฒนาอุปกรณ์พ่วงต่อปรับรถเข็นทั่วไปเป็นรถเข็นไฟฟ้า M2E 1.2” ผลิตอุปกรณ์พ่วงต่อเพื่อปรับเปลี่ยนรถเข็นทั่วไปให้เป็นรถเข็นไฟฟ้า ส่งมอบให้แก่น้องๆ นักเรียนผู้พิการวิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา เพิ่มโอกาสให้ผู้พิการที่มีร่างกายท่อนบนที่ดี ให้มีความอิสระและดํารงชีวิตขั้นพื้นฐานได้ดีขึ้น โดยจัดส่งมอบเมื่อเร็วๆ นี้ (27 ก.ย. 62) ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัดชลบุรี

ดร. ดนุ พรหมมินทร์ หัวหน้าทีมวิจัยชีวกลศาสตร์ กลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวว่า ทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช. ได้พัฒนาต้นแบบอุปกรณ์พ่วงต่อปรับรถเข็นทั่วไปให้เป็นรถเข็นไฟฟ้า M2E 1.2 ในราคาประมาณ 7,000 บาท เพื่อรองรับการใช้งานรถเข็นของผู้สูงอายุและผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวทางร่างกายที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยรถเข็นรุ่นนี้ผ่านการประเมินผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ทางไฟฟ้า ด้วยการทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้า การป้องกันสัญญาณรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า

รวมทั้งผ่านการประเมินความเสี่ยงของอุปกรณ์การแพทย์ โดยศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC สวทช.) ส่วนการต่อยอดผลิตรถเข็นไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เอ็มเทค สวทช. ได้ริเริ่มโครงการการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคการศึกษาระดับอาชีวศึกษาในการพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ ด้วยวิธีการประกอบและติดตั้งอุปกรณ์พ่วงต่อปรับรถเข็นทั่วไปเป็นรถเข็นไฟฟ้า โดยลงนามความร่วมมือกับวิทยาลัยเทคนิค 3 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ และวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ นำร่องผลิตอุปกรณ์พ่วงต่อปรับรถเข็นทั่วไปเป็นรถเข็นไฟฟ้า รวมจำนวน 30 ชุด มอบให้อาสาสมัครผู้พิการและผู้สูงอายุในพื้นที่ใกล้เคียง

นายวิชัย หาญพลาชัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ กล่าวว่า หลังจากวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ได้รับการถ่ายทอดวิธีการผลิต และฝึกสอนการประกอบรถเข็นไฟฟ้า M2E 1.2 จากเอ็มเทค สวทช. ทำให้วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบสามารถผลิตรถเข็นไฟฟ้า M2E 1.2 ให้แก่ผู้พิการและ ผู้สูงอายุ รวมทั้งสามารถให้บริการซ่อมบำรุงหากเกิดความผิดปกติของอุปกรณ์ ในการต่อยอด อุปกรณ์นวัตกรรมนี้ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบจะหารือร่วมกับเอ็มเทค สวทช. เพื่อผลิตชิ้นส่วนของอุปกรณ์พ่วงต่อเป็นรถเข็นไฟฟ้าเพิ่มเติมมากขึ้น เพื่อเป็นการฝึกทักษะการผลิตให้กับนักศึกษา รวมถึงนำผลการถ่ายทอดขยายผลไปยังโรงพยาบาล เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้พิการและผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถือเป็นการช่วยเหลือสังคมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้อีกส่วนหนึ่ง

ด้าน นายอุดมโชค ชูรัตน์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา กล่าวว่า วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ เป็นสถานศึกษาที่ฝึกอาชีพให้กับคนพิการทางด้านการเคลื่อนไหวแขน ขา และลำตัว จากทั่วประเทศ ซึ่งเปิดสอนระดับ ปวช. และ ปวส. โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่คนพิการที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ปัจจุบันมีนักเรียนผู้พิการจำนวนกว่า 170 คน และมีนักเรียนหลายคนจำเป็นต้องใช้รถเข็นไฟฟ้าเนื่องจากแขนขาอ่อนแรง ในช่วงการถ่ายทอดวิธีการผลิตและฝึกสอนการประกอบรถเข็นไฟฟ้า M2E 1.2 จากเอ็มเทค สวทช. ที่ผ่านมา วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ได้ส่งอาจารย์เข้าร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกันในการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีทางด้านอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และได้ดำเนินการจัดหารถเข็นทั่วไปสำหรับการติดตั้งชุดอุปกรณ์พ่วงต่อปรับเป็นรถเข็นไฟฟ้า จำนวน 10 คัน ซึ่งหลังจากนี้จะนำไปใช้งานจริง โดยมอบให้กับน้องๆ นักเรียนผู้พิการและส่วนหนึ่งจะส่งมอบให้ผู้สูงอายุที่มีความต้องการใช้งานเพื่อสร้างอิสระและลดการพึ่งพาคนในครอบครัวได้

บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ตอกย้ำความเชี่ยวชาญในธุรกิจอาหาร ผสานออฟไลน์ – ออนไลน์ เปิดตัว แม็คโคร โฮเรก้า อคาเดมี หรือ MHA ศูนย์รวมความรู้ช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารครบวงจร พร้อมดึงกูรูชื่อดังเสริมแกร่ง จุดไอเดียสร้างสรรค์ปั้นธุรกิจพิชิตเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม็คโคร เป็นผู้นำในธุรกิจค้าส่งระบบสมาชิก ที่มีกลุ่มลูกค้าเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อย และผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม ธุรกิจจัดเลี้ยง หรือที่เรียกว่า กลุ่มโฮเรก้า ซึ่งล้วนมีส่วนสำคัญกับในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ แม็คโคร ร่วมเดินเคียงข้างผู้ประกอบการไทยและฟันผ่าวิกฤตการณ์เศรษฐกิจด้วยกันมายาวนานตลอด 30 ปี ทำให้เราเรียนรู้ถึงความต้องการของผู้ประกอบการ ในวันนี้แม็คโครจึงเปิดตัว แม็คโคร โฮเรก้า อคาเดมี หรือ MHA ศูนย์รวมความรู้เพื่อผู้ประกอบธุรกิจอาหารครบวงจร ที่มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายเข้มแข็งผ่านระบบออฟไลน์และออนไลน์ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา เป็นเพื่อนคู่คิดให้ผ่านพ้นวิกฤติต่างๆ ไปด้วยกัน

“กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ร้านอาหาร โรงแรม ธุรกิจจัดเลี้ยง หรือโฮเรก้า เป็นธุรกิจ ที่มีมูลค่าตลาดรวมกว่า 1 ล้านล้านบาท มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องปีละ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ ขณะที่แม็คโคร มีลูกค้ากลุ่มนี้จำนวนมากกว่า 7แสนราย เราใกล้ชิดกับลูกค้ามานาน จนรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น การบริหารต้นทุน การบริหารจัดการต่างๆ การจัดเก็บสต็อก ไม่รู้จะสร้างสรรค์เมนูอย่างไร ฯลฯ แม็คโครจึงพัฒนาองค์ความรู้ และสร้างทางเลือกใหม่ๆ ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งนำมาสู่การเปิดตัว แม็คโคร โฮเรก้า อคาเดมี หรือ MHA ครั้งนี้”

ด้าน นางซันนี่ ซีดิค ผู้อำนวยการอาวุโส-ฝ่ายบริหารสินค้าธุรกิจประกอบอาหาร และประธานโครงการแม็คโคร โฮเรก้า อคาเดมี บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “พันธกิจหลักของ แม็คโคร โฮเรก้า อคาเดมี หรือ MHA มุ่งเน้นการเป็นแหล่งรวมความรู้แบบครบวงจรให้กับผู้ประกอบธุรกิจอาหารมืออาชีพ ผ่านระบบออฟไลน์และออนไลน์ ใน 5 องค์ประกอบคือ การเป็นสื่อกลางในการให้ความรู้ (Knowledge Media), แหล่งการจัดสัมนาและเวิร์คช้อป (Seminar & Workshop), ออนไลน์เลิร์นนิ่ง (Online Learning), ที่ปรึกษาทางธุรกิจ (Business Advisor) และ เป็นเครือข่ายสังคมของผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร (Business Networking)”

“แม็คโครรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มลูกค้าโฮเรก้าสมาชิกของแม็คโคร มาพัฒนาเพื่อแก้ข้อจำกัด เพิ่มจุดแข็ง และสร้างจุดขาย เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการผ่านพ้นปัญหาไปได้ เนื่องจาก เราเข้าใจในทุกความท้าทายที่ผู้ประกอบธุรกิจอาหารต้องเผชิญในแต่ละวัน และคาดหวังว่า แม็คโคร โฮเรก้า อคาเดมี หรือ MHA จะเป็นเครือข่ายในการให้ความรู้สำหรับมืออาชีพในทุกมิติ เป็นมิตรแท้ที่พร้อมให้คำปรึกษา ตลอดจนจะเป็นผู้ช่วยในการจุดประกายไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้พร้อมสำหรับการแข่งขันในธุรกิจ รองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทุกยุคสมัย”

สำหรับแม็คโคร โฮเรก้า อคาเดมี หรือ MHA เปิดรับสมาชิกที่สนใจประกอบธุรกิจอาหารแบบมืออาชีพ มาร่วมอัพเดทแนวโน้มของวงการธุรกิจ ตลอดจนนำเสนอคอร์สเรียนออนไลน์ (ฟรี) หรือคอร์ส เวิร์คช้อปสร้างสรรค์เมนูจากวัตถุดิบชั้นเลิศที่เปิดตัวใหม่ พร้อมเปิด แม็คโคร โฮเรก้า อคาเดมี คลินิก ให้กับผู้สนใจรับความรู้แบบใกล้ชิดในสาขาต่างๆ ของแม็คโครตลอดทั้งปี ติดตามความเคลื่อนไหวดีๆ ผ่านเว็บไซต์ www.makrohordcaacademy.com หรือร่วมสมัครเป็นสมาชิก เพียงมีบัตรสมาชิกแม็คโคร ได้ที่ https://makrohorecaacademy.com/membership-account/membership-checkout/

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (Economic Intelligence Center :EIC) ได้คาดการณ์แนวโน้มการเติบโตในธุรกิจบริการอาหารยังคงมีต่อเนื่องในช่วงปี 2562-2563 โดยปัจจัยสำคัญของการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่ครัวเรือนมีขนาดเล็กลงและต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น รวมถึงการขยายตัวของเมือง (Urbanization) การเติบโตของเทคโนโลยี และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการขยายตัวของศูนย์การค้าใหม่ๆ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาทานอาหารนอกบ้าน หรือซื้ออาหารสำเร็จรูปมารับประทานที่บ้านมากขึ้น

สำหรับ โฮเรก้า (HORECA) หมายถึงกลุ่มของผู้ประกอบธุรกิจ โรงแรม, ร้านอาหาร (Restaurant) แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ ร้านอาหารที่เป็นแบรนด์ชั้นนำที่มีสาขา และร้านอาหารทั่วไป, ธุรกิจกาแฟ เบเกอรี่ และไอศกรีม และธุรกิจจัดเลี้ยง (Cafe’ and Catering)

จากประสบการณ์ในการปลูกทับทิมในเชิงพาณิชย์ของ คุณไพรัตน์ ไชยนอก เจ้าของสวนเทพพิทักษ์ บ้านเลขที่ 130 หมู่ที่ 9 ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ปัจจุบัน ปลูกทับทิมในพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ศรีปัญญา ในขณะที่เกษตรกรหลายรายปลูกทับทิมในเชิงพาณิชย์ไม่ประสบผลสำเร็จ หรือต้นทับทิมออกดอกติดผลไม่ดกเท่าที่ควร ประการสำคัญเกิดจากการได้รับแสงไม่ดี

คุณไพรัตน์ บอกว่า เริ่มแรกของการปลูกทับทิมจะต้องปลูกตามตะวัน ปลูกเป็นแถวยาวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ถ้าปลูกขวางตะวัน คือปลูกเป็นแถวยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้จะส่งผลให้ต้นทับทิมออกดอกติดผลเพียงข้างเดียว หรือให้ผลผลิตไม่ดก

ในเรื่องของระยะปลูกสรุปได้จากคุณไพรัตน์ ใช้ระยะระหว่างต้น 4 เมตร และระยะระหว่างแถว 7 เมตร จะเหมาะที่สุด เนื่องจากเครื่องจักรหรือรถไถเข้าไปทำงานได้สะดวก และยังช่วยลดปัญหาการสะสมของเชื้อราที่เป็นปัญหาหลักของการปลูกทับทิม แปลงปลูกทับทิมในเชิงพาณิชย์จะต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงสว่างส่องได้ทั่วถึง

ลดต้นทุนปุ๋ยเคมี
ด้วยการใช้ปุ๋ยคอกเป็นหลัก
ในการปลูกทับทิมในพื้นที่ 500 ไร่ ของสวนเทพพิทักษ์ เรื่องการจัดการใช้ปุ๋ยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ปริมาณของการใช้ปุ๋ยทางดิน ประมาณ 80% ของปุ๋ยที่ใช้คือ ปุ๋ยคอก และปุ๋ยคอกที่เลือกใช้ คุณไพรัตน์จะใช้ “ขี้หมู” ซึ่งมีการเลี้ยงหมูไว้เอง และนำขี้หมูที่ได้จากการล้างคอกในแต่ละครั้งนำมาตักราดบริเวณทรงพุ่มต้นทับทิมได้เลย

คุณไพรัตน์ได้เฝ้าสังเกตจากการใช้ขี้หมูพบว่า ต้นทับทิมแตกใบใหญ่และเขียวเป็นมัน เหตุผลที่ต้องเลี้ยงหมูเอง เนื่องจากถ้าซื้อขี้หมูจากฟาร์มที่ชาวบ้านหรือบริษัทเอกชนเลี้ยงมักจะมีการใช้ยาฆ่าเชื้อเพื่อดับกลิ่นเหม็นหรือฆ่าเชื้อราซึ่งมีสารโซดาไฟ เมื่อนำมาใส่ให้กับต้นทับทิมอาจจะเป็นพิษกับต้นทับทิมได้ จะต้องระวังเป็นพิเศษ สำหรับปุ๋ยเคมีที่ใช้จะเน้นสูตร 8-24-24 โดยใช้ในปริมาณ 20% ของการใช้ปุ๋ยทั้งหมดจะใส่ในช่วงเตรียมต้นก่อนออกดอก และมีการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และปรับปรุงคุณภาพของผลบ้าง

การเลือกใช้ ‘สารปราบศัตรูพืช’
ในการปลูกทับทิม
คุณไพรัตน์ บอกว่า สารฆ่าแมลงในกลุ่มของสารโปรฟีโนฟอส ซึ่งเป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงชนิดครอบจักรวาลและเป็นที่นิยมใช้ในการปลูกไม้ผลหลากหลายชนิด แต่สำหรับต้นทับทิมแล้วไม่ควรใช้อย่างเด็ดขาด ผลคือ จะทำให้ใบทับทิมไหม้และร่วงจนหมดต้น “เพลี้ยหอย” นับเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญชนิดหนึ่งในการทำผลทับทิม

ถ้าจะเลือกใช้สารในกลุ่ม “คลอไพรีฟอส” จะต้องใช้ในอัตราต่ำกว่าปกติ ถ้าใช้ในอัตราสูงจะทำให้ใบทับทิมร่วงเช่นกัน ทางเลือกในการป้องกันและกำจัดเพลี้ยหอยของสวนเทพพิทักษ์ จะใช้สารไวท์ออยล์ผสมกับสารเมโทมิล (เช่น แบนโจ) จะดีกว่า

สำหรับปัญหาเรื่อง “เพลี้ยไฟ” ที่นับเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของการปลูกทับทิม คุณไพรัตน์ แนะนำให้เลือกใช้สารโปรวาโด ซึ่งเป็นสารที่มีความปลอดภัยและใช้ในอัตราต่ำมาก โดยใช้โปรวาโด อัตรา 1-3 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร สามารถป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟได้ผลดี

ในขณะที่ในการป้องกันและกำจัดวัชพืชในสวนทับทิม คุณไพรัตน์ บอกว่า ใช้สารป้องกันและกำจัดวัชพืชได้ทั้งกลุ่มไกลไฟเสตและพาราควอต แต่ที่สวนเทพพิทักษ์จะประหยัดต้นทุนในการป้องกันและกำจัดวัชพืชด้วยการใช้เกลือแกงผสมร่วมกับสารพาราควอต โดยยกตัวอย่าง ถ้าใช้สารพาราควอต 7 ลิตร ที่สวนเทพพิทักษ์จะลดการใช้สารพาราควอตเหลือเพียง 5 ลิตร และผสมเกลือแกงลงไป อัตรา 2 กิโลกรัม เมื่อนำมาฉีดพ่นเพื่อฆ่าหญ้าได้ผลไม่แพ้กัน

เทคนิคในการแก้ปัญหา
‘ทับทิมผลแตก’
จากประสบการณ์ในการปลูกทับทิมมานานนับสิบปีของคุณไพรัตน์ได้สรุปปัญหาของทับทิมผลแตกจะเกิดจากสาเหตุใหญ่ๆ 2 ประการ คือ ผลถูกทำลายด้วยโรคแอนแทรกโนส ในช่วงระยะการเจริญเติบโตของผลทับทิมและมีเชื้อแอนแทรกโนสเข้าทำลายที่ผลอ่อนจนเกิดแผล ทำให้ผลไม่ขยายและแตกในที่สุด

เรามีความก้าวหน้าในการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญในทุกเรื่อง

การออกกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน การสร้างศักยภาพของผู้มีส่วนได้เสีย การประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และอื่นๆ เราพร้อมจะร่วมแบ่งปันประสบการณ์กับประชาคมโลก และร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ เพื่อให้แรงงานทาสยุคใหม่กลายเป็นปัญหาในอดีต”

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า “การเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่บริษัทให้ความสำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะขั้นตอนการจ้างแรงงานและการจัดสวัสดิการ ทั้งยังให้การสนับสนุนศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา (Fishermen Life Enhancement Centre : FLEC) ซึ่งมีการจัดอบรมและกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตให้กับแรงงานประมง ตลอดจนการยึดปฏิบัติตามนโยบายบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนของบริษัท โดยกำหนดเป้าหมาย 100% ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกของบริษัทที่นำมาใช้จะต้องนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) นำมาใช้ใหม่ (Recyclable) นำไปผลิตเป็นสินค้าใหม่ได้ (Upcyclable) หรือ สามารย่อยสลายได้ (Compostable) ภายในปี 2568”

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ทียู กล่าวว่า “ที่ไทยยูเนี่ยน เรามุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ที่จะต่อสู้กับการค้ามนุษย์ ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลเป็นเรื่องที่ซับซ้อน แต่เรามีวิธีในการดำเนินการเพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการปรับปรุงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน และเรายังมีการดำเนินการตรวจสอบคู่ค้าของเราโดยหน่วยงานจากภายนอก แต่เราทราบดีว่า เราไม่สามารถต่อสู้ปัญหากับปัญหานี้ได้เพียงลำพัง ซึ่งเป็นเหตุผลที่เราต้องใช้วิธีการความร่วมมือกันและทำงานกับผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลายในการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง”

การออกกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน การสร้างศักยภาพของผู้มีส่วนได้เสีย การประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และอื่นๆ เราพร้อมจะร่วมแบ่งปันประสบการณ์กับประชาคมโลก และร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ เพื่อให้แรงงานทาสยุคใหม่กลายเป็นปัญหาในอดีต”

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า “การเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่บริษัทให้ความสำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะขั้นตอนการจ้างแรงงานและการจัดสวัสดิการ ทั้งยังให้การสนับสนุนศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา (Fishermen Life Enhancement Centre : FLEC) ซึ่งมีการจัดอบรมและกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตให้กับแรงงานประมง ตลอดจนการยึดปฏิบัติตามนโยบายบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนของบริษัท โดยกำหนดเป้าหมาย 100% ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกของบริษัทที่นำมาใช้จะต้องนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) นำมาใช้ใหม่ (Recyclable) นำไปผลิตเป็นสินค้าใหม่ได้ (Upcyclable) หรือ สามารย่อยสลายได้ (Compostable) ภายในปี 2568”

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ทียู กล่าวว่า “ที่ไทยยูเนี่ยน เรามุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ที่จะต่อสู้กับการค้ามนุษย์ ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลเป็นเรื่องที่ซับซ้อน แต่เรามีวิธีในการดำเนินการเพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการปรับปรุงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน และเรายังมีการดำเนินการตรวจสอบคู่ค้าของเราโดยหน่วยงานจากภายนอก แต่เราทราบดีว่า เราไม่สามารถต่อสู้ปัญหากับปัญหานี้ได้เพียงลำพัง ซึ่งเป็นเหตุผลที่เราต้องใช้วิธีการความร่วมมือกันและทำงานกับผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลายในการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง”

สมาชิกของ SeaBOS ทุกคนได้มีการตั้งคณะทำงานชุดใหม่ด้านการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อจัดการผลกระทบสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอุตสาหกรรมอาหารทะเล พร้อมกับการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพจากการรับประทานอาหารทะเลมากขึ้น ซึ่งขณะเดียวกันยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการผลิตอาหาร

ดร.ปริญญ์ พานิชภักดิ์ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในเวทีสัมมนาวิทยาการของกรมส่งเสริมสหกรณ์ “การพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สู่ความยั่งยืน” ว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นองค์กรที่มีความสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานของสหกรณ์ทั่วประเทศ เพื่อเป็นองค์กรที่ดูแลความเป็นอยู่ให้กับประชาชน สหกรณ์ที่ประสบความสำเร็จต้องมีผู้นำที่เข้มแข็ง กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ลองผิดลองถูก ทดลองผลิตสินค้าและตลาดใหม่ๆ ในทางที่ดี และเห็นว่าสหกรณ์ต้องเอาเทคโนโลยี 4.0 และข้อมูลวิถีชีวิตของชุมชนแบบยุค 0.4 มาผนวกกัน เพราะข้อมูลคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการนำมาวางแผน และควรให้ความสำคัญในการทำยุทธศาสตร์ข้อมูล เพราะความท้าทายของเกษตรกรและสหกรณ์ ไม่ใช่เฉพาะภัยธรรมชาติแค่ปัญหาน้ำ ดิน ภัยแล้ง การขาดความรู้ในการทำบัญชี การโดนกดราคา การขาดตลาดใหม่ การไม่เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง แต่เป็นโลกดิจิตอลที่สหกรณ์ต้องเตรียมความรู้และเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง และกรมส่งเสริมสหกรณ์ต้องพัฒนาตัวชี้วัดความสำเร็จของสหกรณ์ ไม่ใช่วัดเพียงปริมาณ แต่ให้วัดเชิงคุณภาพ และให้สอดรับกับการปรับเปลี่ยนของยุคสมัยด้วย

ทั้งนี้ เหตุที่ต้องปรับปรุงเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากสหกรณ์คือองค์กรที้เข้าถึงประชาชนและเป็นหน่วยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับชุมชนตัวจริง ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สหกรณ์ต้องเปลี่ยนความคิด และหันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและการสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างอำนาจต่อรองให้มากขึ้น ที่ผ่านมาการแยกและแบ่งประเภทของสหกรณ์ถูกต้อง แต่ต้องเชื่อมให้สหกรณ์ที่แย่สุดกับสหกรณ์ที่ดีสุด เพื่อสร้างโอกาสและความร่วมมือที่จะพัฒนาไปพร้อมๆ กัน

คนโบราณสมัยก่อน ท่านมักจะนำสมุนไพรประเภทต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบสดๆ โดยตรง เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆ จากสมุนไพรให้ได้มากที่สุด และเครื่องดื่มรูปแบบชาสมุนไพรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น ชาขิง ชามะตูม ชาเก๊กฮวย ชารางจืด ชาคำฝอย และชาอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งก่อนที่จะแปรรูปมาเป็นชาเพื่อสุขภาพต่างๆ นั้น จำเป็นต้องนำเอาวัตถุดิบเหล่านั้นมาทำความสะอาด แล้วค่อยผ่านกระบวนการอบฆ่าเชื้อโรค จากนั้นจึงนำไปเข้าเครื่องตัด สับ บด และต้มสกัด จนได้ตามรูปแบบที่ต้องการ เช่น แบบผงละเอียด หรือของเหลวข้นๆ แล้วนำมาผสมน้ำตาลก่อนเข้าเครื่องอบแล้วพาสเจอร์ไรซ์ บรรจุซองเพื่อใช้และจำหน่ายต่อไป

เครื่องดื่มสมุนไพรชนิดบรรจุซองพร้อมชง ส่วนมากมักจะมีราคาสูง ค่อนข้างสูงกว่าการซื้อสมุนไพรสดมาต้มกินเอง ซึ่งสมุนไพรชนิดพร้อมชงนั้นย่อมมีความสะดวก และให้คุณค่าทางยาที่คงที่กว่าสมุนไพรสดต้มอย่างแน่นอน

ชาสมุนไพรของไทย ยังมีการนำส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศบ้าง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ เป็นต้น แต่ปัญหาจากการผลิตสมุนไพรก็คือ ปริมาณวัตถุดิบที่ได้มาแต่ละปีมักมีจำนวนไม่แน่นอน เพราะเกษตรกรส่วนมากมักจะเลือกปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอื่นที่ให้ผลตอบแทนมากกว่านั่นเอง!

นอกจากนั้นแล้ว ความนิยมในการดื่มชาสมุนไพร ยังอยู่ในวงจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้รักสุขภาพเท่านั้น จึงส่งผลทำให้ธุรกิจการทำชาสมุนไพรเหล่านี้ขยายตัวได้ช้าลงมาก

การพัฒนาและส่งเสริมให้มีการปลูกพืชสมุนไพรอย่างต่อเนื่อง ด้วยการประกันราคาผลผลิตให้แก่เกษตรกร เพื่อให้มีวัตถุดิบป้อนโรงงานอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ พร้อมทั้งพยายามลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เห็นคุณค่าในการดื่มชาสมุนไพร แทนการดื่มน้ำหวานหรือน้ำอัดลม และเครื่องดื่มอื่นๆ ที่ไม่มีประโยชน์กันมากขึ้น

เครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีทั้งที่เป็นวัตถุดิบสดๆ ชนิดบรรจุซองสำเร็จรูป และชนิดบรรจุกระป๋องพร้อมดื่ม

การที่สมุนไพรบางชนิดถูกนำมาดัดแปลงเป็น ชาสมุนไพร (หมายถึง สามารถชงกินกับน้ำร้อนได้คล้ายๆ ชา) ก็เนื่องด้วยสรรพคุณทางยาของสมุนไพรแต่ละชนิดที่นำมาดัดแปลง เพื่อให้เกิดความสะดวก เช่น

1. กระเจี๊ยบ เป็นพืชประเภทล้มลุก ซึ่งกระเจี๊ยบที่ใช้คือ กระเจี๊ยบแดง (ส่วนกระเจี๊ยบขาว หรือกระเจี๊ยบมอญ ส่วนมากใช้ปรุงประกอบอาหารประเภทแกง ผัด หรือต้มจิ้มน้ำพริก เป็นต้น)

กระเจี๊ยบแดง มีสรรพคุณในการช่วยลดไขมันในเส้นเลือด แก้ไอ ขับเสมหะ ป้องกันนิ่ว แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

วิธีการนำไปใช้ ให้ใช้ผงกระเจี๊ยบแดง (ที่มีส่วนผสมของน้ำตาลแล้ว) ละลายน้ำดื่ม หรือบางทีใช้กรรมวิธีการแปรรูปเป็นน้ำกระเจี๊ยบแดงสำเร็จรูปที่มีรสหวานบรรจุขวด (เช่น กระเจี๊ยบแดงที่ผลิตจากโครงการหลวง หรือจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ เป็นต้น)

2. เกสรบัวหลวง มีสรรพคุณในการช่วยบำรุงหัวใจ แก้อาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น ใจหวิว อารมณ์เสียบ่อยๆ หงุดหงิดง่าย จิตใจเซื่องซึม หงอยเหงา หายใจอึดอัด บำรุงปอด บำรุงกำลัง แก้ลม แก้ไข้ แก้กระหายน้ำ แก้ปากเปื่อย ซึ่งคนในสมัยก่อนมีการใช้เกสรบัวหลวงมามวนผสมกับยาเส้น ทำเป็นยาสูบ (บุหรี่ตราบัวหวาน) และในปัจจุบันมีการใช้วิธีตากเกสรบัวให้แห้งแล้วนำมาชงกับน้ำร้อนดื่ม

รูปแบบ และขนาดยาที่ใช้

เกสรปรุงเป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บรรเทาอาการหน้ามืด วิงเวียนทำให้ชื่นใจ เป็นยาสงบประสาท ขับเสมหะ

1. เกสรบัวหลวงสด หรือแห้ง ประมาณ 1 หยิบมือ ชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) ทิ้งไว้นาน 10-15 นาที ดื่มขณะที่ยังอุ่นอยู่ ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง

2. เกสรบัวหลวงแห้ง บดเป็นผง 0.5-1 ข้อนชา ชงน้ำร้อนดื่ม หรือใช้ในขนาด 3-5 กรัม ขิง เป็นพืชประเภทล้มลุกที่มีคุณค่าทางสมุนไพรมากอีกชนิดหนึ่ง เพราะสามารถนำมาทำเป็นยาและอาหารได้ ด้วยสรรพคุณสำคัญที่ช่วยในการขับลม ปัจจุบันได้มีการดัดแปลงเป็น ขิงผง บรรจุซองใช้ชงน้ำร้อนดื่ม (ส่วนมากจะมีน้ำตาลผสมอยู่) ส่วนขิงอ่อนนั้นส่วนมากมักถูกนำไปใช้ในการปรุงประกอบอาหาร ซึ่งได้ทั้งประเภทผัด และประเภทต้ม

ขิง มีสรรพคุณทำให้ร่างกายอบอุ่นและป้องกันโรคหวัด สมุนไพรรสจัดชนิดนี้ถูกใช้ในแพทย์แผนจีนเพื่อช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและฟื้นฟูการทำงานของลำไส้ นอกจากนี้ เมื่ออุ่นให้ร้อนจะมีรสชาติที่เผ็ดมากขึ้น ทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยป้องกันโรคหวัดและไข้ทับระดูได้อีกด้วย

3. มะตูม จัดเป็นประเภทไม้ยืนต้น ส่วนของผลมีลักษณะเปลือกแข็ง ส่วนมากมักจะใช้กินเป็นอาหารเมื่อผลมะตูมสุกแล้ว สำหรับมะตูมที่ยังมีขนาดอ่อนสามารถนำมาหั่นเป็นแว่นๆ แล้วนำไปตากแห้ง ชงแบบชาดื่มได้ และในปัจจุบันมีการผลิตออกมาแบบผงบรรจุซอง และประเภทน้ำบรรจุขวด (มีน้ำตาลผสม)

มะตูม มีสรรพคุณในการเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย แก้ร้อนใน ช่วยในการระบายท้อง และผลมะตูมอ่อนยังสามารถนำไปผลิตเป็นของหวานที่เรียกว่า มะตูมเชื่อม (หรือมะตูมแบบเกล็ดแห้ง เป็นการถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้กินได้นานๆ ได้)

4. เก๊กฮวย เป็นดอกไม้ที่ได้จากต้นเก๊กฮวย (ในประเทศจีน) ส่วนมากจะใช้ดอกแห้งนำมาชงกับน้ำร้อนดื่ม

สรรพคุณ แก้อาการร้อนใน ซึ่งในปัจจุบันมีการแปรูปเป็นเป็นเก๊กฮวยผงบรรจุซอง และเก๊กฮวยน้ำบรรจุขวด (ผสมน้ำตาลสำเร็จรูป) และสามารถนำมาทำเครื่องดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น (ใส่น้ำแข็ง หรือแช่ตู้เย็น)

4. ว่านรางจืด จัดเป็นพืชประเภทล้มลุก เป็นพืชมีสรรพคุณเฉพาะทางยาเท่านั้น ใช้ขจัดพิษในร่างกายจากสารเคมี ถอนพิษ แก้อาการแพ้พิษต่างๆ ขับพิษทางปัสสาวะ ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้พิษจากแอลกอฮอล์ หรืออาการเมาค้าง แก้อาการร้อนใน แก้กระหายน้ำ (สำหรับผู้ที่ได้รับพิษ ซึ่งทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และอยู่ใกล้แหล่งที่มีมลภาวะสูง หรือสูดอากาศเสียเข้าไปเป็นประจำ ควรจะดื่มชารางจืด อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยขับพิษออกจากร่างกาย)

6. ว่านหางจระเข้ จัดเป็นพืชล้มลุก (ต้นสีเขียว) ที่สามารถใช้ทำเป็นเครื่องสำอางได้หลายๆ ประเภท เช่น โลชั่น สบู่ แชมพูสระผม เป็นต้น อีกทั้งยังนำมาทำเป็นอาหาร (แบบอาหารหวาน) ได้โดยนำมาดัดแปลงบรรจุใส่ในขวด ทำเป็นน้ำว่านหางจระเข้ ที่ผสมเนื้อว่านหั่นเป็นชิ้นๆ

สรรพคุณของว่านหางจระเข้ ช่วยในการบรรเทาโรคกระเพาะอาหาร โรคมะเร็ง โรคทางเดินหายใจอักเสบ โรคปอด เป็นต้น7. ชาตะไคร้ ทำจากต้นและใบตะไคร้ อบให้แห้งแล้วบด ตะไคร้จะมีกลิ่นหอม ขับลม ช่วยย่อยอาหาร แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดเกร็งในท้อง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ และมีรายงานการทดลองพบว่า ตะไคร้นั้นมีคุณสมบัติต้านมะเร็งได้อีกด้วย

8. ชาใบเตย ทำจากใบเตยหอมอบแห้ง บดเป็นผง มีสีเขียวใบเตย มีกลิ่นหอมชื่นใจ ใบเตยมีคุณสมบัติบำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ชาใบเตยจึงเหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และคนธรรมดาทั่วไปก็ดื่มได้ โดยกลิ่นหอมของใบเตยชื่นใจ คลายเครียดได้ดี

9. ดอกคำฝอย จัดเป็นพืชประเภทล้มลุก ส่วนมากจะนำส่วนของดอกมาทำยา โดยการนำดอกมาตากแห้งแล้วบรรจุซอง หรือขวด (โครงการหลวง)

สรรพคุณของดอกคำฝอย สามารถช่วยลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด บำรุงประสาท เป็นต้น

ตัวอย่างชาสมุนไพรที่ได้กล่าวมานั้นเป็นชาสมุนไพรไทยที่มีขายอยู่มากในท้องตลาด ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ สามารถดื่มได้ทุกวัน สมุนไพรบ้านเรายังมีอีกมากที่ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์แถมยังหาได้ง่ายอีกด้วย และสามารถพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของชาสมุนไพรที่มีคุณภาพต่อไปได้อีก

การดื่มชาสมุนไพรหลังอาหาร หรือดื่มไปพร้อมๆ กับการกินอาหารนั้น นอกจากจะเป็นการช่วยบำรุงสุขภาพร่างกายแล้ว ยังสามารถช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายในหลายๆ ส่วน เช่น ระบบการย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบปัสสาวะ หัวใจทำงานได้ดี และยังเป็นตัวช่วยสะสาง ขับล้างไขมันที่เกาะติดอยู่ตามลำไส้อีกด้วย หรือที่เรียกว่า Detox นั่นเอง

การจิบชาสมุนไพรนั้นดีต่อร่างกายของเราแน่นอน ส่วนหนึ่งเพราะกลิ่นหอมอ่อนๆ ของใบชา จะช่วยให้เราผ่อนคลายความเครียดและความกังวลได้ และประโยชน์จากการจิบชาสมุนไพรเป็นประจำ จะช่วยรักษาร่างกายให้ชุ่มชื้น ทำให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวล แลดูอ่อนเยาว์ และยังช่วยป้องกันไวรัสและแบคทีเรีย นอกจากนี้ ชาสมุนไพรยังเต็มไปด้วยสารแอนติออกซิแดนท์ และฟลาโวนอยด์ ซึ่งช่วยในการปกป้องอาการเจ็บป่วยต่างๆ อีกด้วย

และหากคนไทยเราหันมาดื่มชาสมุนไพรเหล่านี้เพื่อสุขภาพกันมากขึ้น แทนการดื่มน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มบำรุงกำลังอื่นๆ ที่มีการโฆษณากันมากมายตามท้องตลาด ก็จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้สมุนไพรพื้นบ้านของไทยกลับมามีบทบาทและความสำคัญมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

ทุเรียน เป็นไม้ผลยอดฮิตในปัจจุบัน ทุกภาคสนใจปลูก แต่จะได้ผลมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน และความเข้าใจในการดูแลรักษา

คุณชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จันทบุรี บอกว่า ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถส่งออกต่างประเทศปีหนึ่งทำเงินหลายหมื่นล้านบาท เกษตรกรส่วนหนึ่งที่ปลูกทุเรียนมีรายได้ดีถึงขั้นเป็นเศรษฐี

แต่การที่จะปลูกทุเรียนแล้วขายได้ขายดี ต้องทำคุณภาพ เมื่อถึงเวลาขายต้องไม่มีแมลง โรค อยู่ที่ผล ไม่ตัดทุเรียนอ่อน หากดูภายใน ทุเรียนเนื้อไม่แกร็น ไม่ไส้ซึม และที่สำคัญมากนั้น ไม่มีสารตกค้างที่จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

การผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพดี มีหลัก 4 ประการ ด้วยกัน

ประการที่หนึ่ง…ต้องเข้าใจพืช โดยเฉพาะเรื่องการเจริญเติบโต มีช่วงไหนที่พืชสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค การเข้าทำลายของศัตรูพืช การออกดอก ติดผล และอื่นๆ ประการที่สอง…ต้องเข้าใจปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนต่างๆ หากเข้าใจจะลดต้นทุนการผลิตได้ ตรงกันข้าม หากไม่เข้าใจจะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต และสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

ประการที่สาม…ต้องเข้าใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งแวดล้อมแต่ละช่วงแตกต่างกัน อย่างทุเรียนออกดอกต้องการสิ่งแวดล้อมอย่างไร จะติดผลต้องการความชื้นมากน้อยขนาดไหน ทุเรียนแตกใบอ่อนขณะติดผลป้องกันและแก้ไขอย่างไร

ประการสุดท้าย…ต้องเข้าใจความสัมพันธ์ทั้งสามประการที่กล่าวมา คือเข้าใจพืช เข้าใจปัจจัยการผลิต และสิ่งแวดล้อม หากเข้าใจจะสามารถผลิตทุเรียนมีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภคได้

การผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพนั้น ต้องมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม กรมวิชาการเกษตร ในฐานะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้วิจัยและรวบรวมข้อมูลไว้ครบถ้วน สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 และสถาบันวิจัยพืชสวน หน่วยงานที่กล่าวมานี้ สังกัดกรมวิชาการเกษตร

ร่วมฟังเต็มๆ ในงาน “เสวนา 32 ปี เทคโนโลยีชาวบ้าน…ไม้ผลพารวย ยุค 5 G” 31 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ หนังสือพิมพ์ข่าวสด ผอ. ชลธี จะมาให้ความรู้ เรื่อง “ผลิตทุเรียนให้รวยยั่งยืน” ในวันและเวลาดังกล่าว

รมช. มนัญญา ร่วมแสดงความยินดีโอกาสครบรอบ 47 ปี กรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมผลักดันนโยบาย สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ สนับสนุนให้สหกรณ์ดึงลูกหลานสมาชิกสหกรณ์กลับสู่ถิ่นฐานบ้านเกิด เพื่อสานต่ออาชีพการเกษตร เน้นการทำเกษตรอินทรีย์ ลดใช้สารเคมี ทำเกษตรแนวใหม่ ทำน้อยแต่ได้มาก ใช้เทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาผลผลิต ให้มีคุณภาพและขยายช่องทางตลาดให้เข้าถึงผู้บริโภค

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 47 ปี วันสถาปนากรมส่งเสริมสหกรณ์ ณ บริเวณลานหน้าพระอนุสาวรีย์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทวศร์ กรุงเทพฯ ในการนี้ ได้อ่านสารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมสหกรณ์ ครบรอบ 47 ปี และเชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพื่อมอบให้กับข้าราชการ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน พร้อมทั้งยังให้นโยบายการปฏิบัติงานแก่ข้าราชการ ลูกจ้าง และบุคลากรของกรมส่งเสริมสหกรณ์

“กรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกรและประชาชนทุกพื้นที่ ขอให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ร่วมกับกรมตรวจบัญชีสสหกรณ์ พัฒนาสหกรณ์ให้ได้มาตรฐาน จัดเกรดสหกรณ์ ระดับ A B และ C และเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ให้สูงขึ้น เพราะสหกรณ์เป็นองค์กรที่มีความสำคัญที่จะช่วยดูแลเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งเน้นให้สหกรณ์ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค และกำลังประสานความร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อหาช่องทางตลาดให้กับสหกรณ์ เพราะหากสามารถทำให้สหกรณ์มีรายได้เพิ่มจากการค้าขายและการทำธุรกิจ จะส่งผลที่ดีกลับไปยังเกษตรกรที่เป็นสมาชิกด้วย” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีนโยบายสนับสนุนให้สหกรณ์มีส่วนช่วยเหลือการสร้างอาชีพรายได้แก่เกษตรกรอย่างมั่นคง ช่วยให้คนรุ่นใหม่ที่รักอาชีพทำการเกษตรไม่ทิ้งถิ่นฐาน โดยการดึงลูกหลานสมาชิกสหกรณ์กลับสู่บ้านเกิด เนื่องจากขณะนี้ในจังหวัดต่างๆ มีแต่คนแก่เลี้ยงหลานจำนวนมาก เพราะพ่อแม่ต้องไปงานในเมืองใหญ่ จึงมีแนวคิดที่จะดึงคนเหล่านี้ ให้กลับบ้านมาดูแลและอยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว ซึ่งกำลังคิดหาโครงการที่จะดำเนินการผ่านสหกรณ์ เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ มาสานต่ออาชีพการเกษตรจากพ่อแม่ เน้นการทำเกษตรสมัยใหม่ ใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ ทำน้อยแต่ได้มาก และขอให้เน้นทำเกษตรอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี ควบคู่กับการใช้หลักการตลาดนำผลิต เพื่อสร้างอาชีพที่มั่นคง และได้สั่งการให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ไปศึกษาแนวทางเพื่อดำเนินการในทันที

ด้าน นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า โครงการส่งเสริมอาชีพให้ลูกหลานสมาชิกสหกรณ์นั้น กรมฯ จะประสานไปยังสหกรณ์ทุกพื้นที่ เพื่อเปิดรับสมัครผู้สนใจมาร่วมโครงการ ซึ่งเกษตรกรรุ่นพ่อรุ่นแม่ ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร จากนี้ไปต้องดึงรุ่นลูกซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่เข้ามาสานต่อ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์พร้อมให้การสนับสนุนทั้งด้านองค์ความรู้การประกอบอาชีพ และ ทั้งนี้ มีตัวอย่างให้เห็นในหลายจังหวัด มีผู้ที่มาทำงาน ในกรุงเทพฯ แต่ยิ่งนานไปกลับมีแต่หนี้สินเพิ่มมากขึ้น จึงต้องการกลับไปอยู่บ้านเกิดและทำการเกษตร ทางสหกรณ์จึงได้แนะนำให้ปลูกผักอินทรีย์เพื่อจำหน่าย จนสามารถปลดหนี้สินได้หมด เชื่อมั่นว่าคนรุ่นใหม่นั้น ถ้าตั้งใจทำเกษตรกรรมจริง จะทำได้สำเร็จ เพราะมีมุมมองเรื่องการตลาด สามารถขายผลผลิตผ่านออนไลน์ และเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน เมื่อเห็นโอกาสและช่องทางในการขายสินค้าแล้ว จึงจะมาวางแผนการผลิตได้ตรงตามที่ตลาดต้องการ” อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นหน่วยงานสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม 2515 มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน แนะนำ กำกับ และดูแลระบบสหกรณ์ของประเทศไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ “การสหกรณ์มั่นคง สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้มแข็ง เศรษฐกิจและสังคมของชุมชนยั่งยืน” ปัจจุบัน ประเทศไทยมีจำนวนสหกรณ์ 7 ประเภท ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และสหกรณ์ออมทรัพย์ รวมกันกว่า 8,097 แห่ง เป็นสหกรณ์ภาคเกษตร 4,547 แห่ง สหกรณ์ นอกภาคเกษตร 3,550 แห่ง สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศกว่า 11.6 ล้านคน เป็นสมาชิกสหกรณ์ภาคการเกษตร 6.7 ล้านคน สมาชิกสหกรณ์นอกภาคเกษตร 4.9 ล้านคน มีทุนดำเนินการ 3.1 ล้านล้านบาท และปริมาณธุรกิจ 2.5 ล้านล้านบาท

เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ผมปลูกมะนาวไว้ที่สวนหลังบ้านในวงบ่อซีเมนต์ 3 ต้น ระยะแรกต้นมะนาวก็เติบโตดี แต่เมื่อเติบโตขึ้น ใบมีจำนวนมากขึ้น กลับพบว่าที่ใบมีรอยเหมือนทางรถคดเคี้ยวไปมา สอบถามเพื่อนๆ ได้รับคำตอบว่า นั่นคือหนอนชอนใบเริ่มอาละวาดแล้ว บางช่วงระบาดรุนแรงมากทำให้ใบเสียหาย ไม่ทราบว่าผมจะป้องกันและแก้ไขได้อย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ

หนอนชอบใบ (Leaf miner, Leafy worm) เป็นผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กมาก ตัวเต็มวัยเมื่อสยายปีกออก วัดความกว้างได้ 6.0-8.0 มิลลิเมตร ลำตัวสีหม่น ปีกสีขาวนวลมันวาว ปลายปีกมีจุดดำหลายจุด และมีแถบสีน้ำตาลเข้ม เพศเมียวางไข่ไว้ที่ใต้ใบมะนาวที่ผลิออกมาใหม่ คราวละ 1 ฟอง รูปร่างกลม สีเหลืองใส ขนาดเล็กมาก (ให้ดูภาพประกอบภายในวงหนังสติ๊ก) ตัวอ่อนฟักออกจากไข่ภายใน 3 วัน แล้วเจาะชอนเข้าในเนื้อใบ ดูดกินน้ำเลี้ยงคดเคี้ยวเป็นทางคล้ายทางรถยนต์ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และจะดำรงเป็นตัวหนอนอยู่ได้ 7-10 วัน จากนั้นจึงเข้าดักแด้ การระบาดรุนแรงมักเกิดขึ้นในช่วงที่มะนาวผลิใบอ่อน ระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนกันยายนของทุกปี หรืออยู่ในช่วงฤดูฝน พอย่างเข้าฤดูหนาวการระบาดจะลดความรุนแรงลง การเข้าทำลายใบมะนาวนอกจากทำให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของใบมะนาวลดลงแล้ว ยังเปิดทางให้โรคแคงเกอร์เข้าร่วมทำลายได้ง่ายขึ้น

นางสาวสมฤยอดทองหลาง อายุ 25 ปี จากสหกรณ์โคนมพิมาย

จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ได้รับโคพระราชทาน ชื่อ แรม อายุ 2 ปี 11 เดือน และได้รับการอบรมการเพิ่มขีดความสามารถยุวเกษตรกรโคนมในการเลี้ยงโคนม เพื่อเพิ่มผลผลิตฟาร์มโคนมที่ปฏิบัติได้และเห็นผลจริงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 กล่าวว่า ตนรู้สึกภูมิใจที่ได้ประกอบอาชีพที่พระองค์ท่านทรงพระราชทานให้ ซึ่งเป็นอาชีพที่มั่นคง สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน

ปัจจุบัน ครอบครัวได้เลี้ยงโคนม 63 ตัว แม่โครีด 35 ตัว โคสาว 14 ตัว โคพักท้อง 1 ตัว และลูกโค 13 ตัว ปริมาณน้ำนมโค เฉลี่ย 570 กิโลกรัม/วัน หรือมีอัตราการรีด เฉลี่ย 15.04 กิโลกรัม/ตัว/วัน ซึ่งการรีดนมโคขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย ถ้าช่วงไหนอากาศเย็น โคจะให้น้ำนมมากขึ้น แต่ถ้าอากาศร้อน ผลผลิตจะลดลง ตนก็ต้องดูแลเรื่องอาหาร ยาบำรุง การให้อาหารหยาบและอาหารข้น เพราะแต่ละวันอากาศจะไม่เหมือนกัน โคจะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล จึงต้องควบคุมเรื่องอาหารเป็นหลัก การเลี้ยงโคนมต้องอาศัยความใส่ใจและดูแลใกล้ชิด และต้องทำด้วยใจรักจริงๆ

นายพัฒนพล เพียงแก้ว อายุ 21 ปี จากสหกรณ์โคนมโคกก่อ จำกัด จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ตนได้รับโคพระราชทาน ชื่อ อุ้มบุญ อายุ 2 ปี 4 เดือน ขณะนี้โคตัวนี้ได้ตั้งท้อง 5 เดือน 11 วันแล้ว เมื่อตนได้รับโคพระราชทานไปแล้ว ได้นำไปผสมเทียมด้วยตนเอง รู้สึกภูมิใจและดีใจมาก จะเลี้ยงดูโคตัวนี้ให้ดีที่สุด ตอนนี้ตนแยกโคพระราชทานออกมาเลี้ยงเดี่ยว เพราะต้องดูแลใกล้ชิด แม้การเลี้ยงโคนมจะเหนื่อย แต่ก็มีความสุข ปัจจุบันโคนมที่ครอบครัวเลี้ยงอยู่มีทั้งหมด 45 ตัว แบ่งเป็นแม่โครีด 20 ตัว โคพักท้อง 10 ตัว และลูกโค 15 ตัว ปริมาณน้ำนมโค เฉลี่ย 400-500 กิโลกรัม/วัน มีรายได้ 6,400 บาท ต่อวัน ตนเลี้ยงวัวมา 7 ปีแล้ว มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 6,954 บาท นับเป็นรายได้ที่ช่วยเลี้ยงดูคนในครอบครัวได้อย่างดี สำหรับหน้าที่หลักภายในฟาร์ม ได้นำความรู้จากการเข้ารับการอบรมของกรมส่งเสริมสหกรณ์มาใช้ประโยชน์ โดยสามารถตรวจท้องโคนมและผสมเทียม การดูแลสุขภาพและรักษาสัตว์ ซึ่งสามารถลดรายจ่ายในการตรวจท้องและผสมเทียมเป็นอย่างมาก

นายภาณุวัฒน์ พวกจันทึก อายุ 18 ปี จากสหกรณ์โคนมด่านขุนทด จำกัด จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ตนรู้สึกดีใจและภูมิใจมากที่ได้มาสานต่ออาชีพจากพ่อแม่ ซึ่งโคนมที่ได้รับพระราชทานไปนั้นมีสุขภาพแข็งแรง เพิ่งจะคลอดลูก และเริ่มรีดนมได้แล้ว ตนเริ่มทำฟาร์มโคนมมาได้ 3 ปีแล้ว ส่วนตัวชอบอาชีพการเลี้ยงโคนมอยู่แล้ว เพราะเป็นอาชีพที่อิสระ ไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างใคร ปัจจุบัน ในฟาร์มของครอบครัวมีโคนมทั้งหมด 37 ตัว รีดนมได้ 20 ตัว ได้น้ำนมวันละ 360 กิโลกรัม ต่อวัน มีรายได้เฉลี่ย 6,400 บาท ต่อวัน

แต่เดิมที่บ้านทำฟาร์มสุกรแต่รายได้ไม่ค่อยแน่นอน จึงได้หันมาทำเกษตรแบบผสมผสาน และเริ่มเลี้ยงโคนม และเมื่อเทียบกันแล้วพบว่า การเลี้ยงโคนมให้ผลผลิตและรายได้ที่ดีกว่าการทำฟาร์มสุกร แต่ฟาร์มโคนมของตนมีอุปสรรคนิดหน่อย โดยเฉพาะเรื่องการให้อาหาร เพราะว่าต้องผสมอาหารข้างนอกแล้วยกขึ้นรถไถเอามาใส่ในถังให้โคกิน และหญ้าที่ปลูกไว้มีไม่เพียงพอให้โคกินได้ตลอด

อาชีพการเลี้ยงโคนม นับเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรไทย และเป็นอาชีพที่น่าภาคภูมิใจ เนื่องจากเป็นอาชีพพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประเทศเดนมาร์ก ในปี 2503 ได้ทอดพระเนตรกิจการโคนมของเกษตรกรชาวเดนมาร์ก ทรงให้ความสนพระทัยเกี่ยวกับกิจการการเลี้ยงโคนมของชาวเดนมาร์กเป็นอย่างมาก

ด้วยทรงเล็งเห็นว่า อาชีพการเลี้ยงโคนมจะช่วยให้ชาวไทยได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่า ทั้งยังช่วยให้เกษตรกรไทยได้มีอาชีพที่มั่นคงและเป็นหลักแหล่ง ไม่ต้องบุกรุกทำไร่เลื่อนลอยอีกต่อไป และทรงมีพระราชดำรัสในคราวหนึ่งว่า “การเลี้ยงโคนมก็เป็นอาชีพที่ดีสำหรับคนไทย เหมาะกับประเทศ และถ้าใช้หลักวิชาที่เหมาะสม ก็จะทำให้มีความเจริญและมีรายได้ดี”

กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้จัดอบรมเพิ่มขีดความสามารถทายาทและยุวชนเกษตรกรโคนมในการเลี้ยงโคนม เพื่อเพิ่มผลผลิตฟาร์มโคนมที่ปฏิบัติได้และเป็นผลจริง ซึ่งร่วมกับคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อบรมความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงและดูแลโคนมให้มีคุณภาพ โดยดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ปี รวม 7 รุ่น

นอกจากนี้ ยังเชิญชวนให้ขบวนการสหกรณ์โคนมร่วมใจน้อมเกล้าฯ ถวายโคสาว 89 ตัว แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี และด้วยพระมหากรุณาธิคุณฯ พระองค์ได้พระราชทานโคสาว ทั้ง 89 ตัว ให้กับเยาวชนบุตรหลานของสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรโคนม 89 ราย นำไปเลี้ยงต่อ

นางสาวสมฤทัย ยอดทองหลาง อายุ 25 ปี จากสหกรณ์โคนมพิมาย จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ได้รับโคพระราชทาน ชื่อ แรม อายุ 2 ปี 11 เดือน และได้รับการอบรมการเพิ่มขีดความสามารถยุวเกษตรกรโคนมในการเลี้ยงโคนม เพื่อเพิ่มผลผลิตฟาร์มโคนมที่ปฏิบัติได้และเห็นผลจริงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 กล่าวว่า ตนรู้สึกภูมิใจที่ได้ประกอบอาชีพที่พระองค์ท่านทรงพระราชทานให้ ซึ่งเป็นอาชีพที่มั่นคง สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน

ปัจจุบัน ครอบครัวได้เลี้ยงโคนม 63 ตัว แม่โครีด 35 ตัว โคสาว 14 ตัว โคพักท้อง 1 ตัว และลูกโค 13 ตัว ปริมาณน้ำนมโค เฉลี่ย 570 กิโลกรัม/วัน หรือมีอัตราการรีด เฉลี่ย 15.04 กิโลกรัม/ตัว/วัน ซึ่งการรีดนมโคขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย ถ้าช่วงไหนอากาศเย็น โคจะให้น้ำนมมากขึ้น แต่ถ้าอากาศร้อน ผลผลิตจะลดลง ตนก็ต้องดูแลเรื่องอาหาร ยาบำรุง การให้อาหารหยาบและอาหารข้น เพราะแต่ละวันอากาศจะไม่เหมือนกัน โคจะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล จึงต้องควบคุมเรื่องอาหารเป็นหลัก การเลี้ยงโคนมต้องอาศัยความใส่ใจและดูแลใกล้ชิด และต้องทำด้วยใจรักจริงๆ

นายพัฒนพล เพียงแก้ว อายุ 21 ปี จากสหกรณ์โคนมโคกก่อ จำกัด จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ตนได้รับโคพระราชทาน ชื่อ อุ้มบุญ อายุ 2 ปี 4 เดือน ขณะนี้โคตัวนี้ได้ตั้งท้อง 5 เดือน 11 วันแล้ว เมื่อตนได้รับโคพระราชทานไปแล้ว ได้นำไปผสมเทียมด้วยตนเอง รู้สึกภูมิใจและดีใจมาก จะเลี้ยงดูโคตัวนี้ให้ดีที่สุด ตอนนี้ตนแยกโคพระราชทานออกมาเลี้ยงเดี่ยว เพราะต้องดูแลใกล้ชิด แม้การเลี้ยงโคนมจะเหนื่อย แต่ก็มีความสุข ปัจจุบันโคนมที่ครอบครัวเลี้ยงอยู่มีทั้งหมด 45 ตัว แบ่งเป็นแม่โครีด 20 ตัว โคพักท้อง 10 ตัว และลูกโค 15 ตัว ปริมาณน้ำนมโค เฉลี่ย 400-500 กิโลกรัม/วัน มีรายได้ 6,400 บาท ต่อวัน ตนเลี้ยงวัวมา 7 ปีแล้ว มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 6,954 บาท นับเป็นรายได้ที่ช่วยเลี้ยงดูคนในครอบครัวได้อย่างดี สำหรับหน้าที่หลักภายในฟาร์ม ได้นำความรู้จากการเข้ารับการอบรมของกรมส่งเสริมสหกรณ์มาใช้ประโยชน์ โดยสามารถตรวจท้องโคนมและผสมเทียม การดูแลสุขภาพและรักษาสัตว์ ซึ่งสามารถลดรายจ่ายในการตรวจท้องและผสมเทียมเป็นอย่างมาก

นายภาณุวัฒน์ พวกจันทึก อายุ 18 ปี จากสหกรณ์โคนมด่านขุนทด จำกัด จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ตนรู้สึกดีใจและภูมิใจมากที่ได้มาสานต่ออาชีพจากพ่อแม่ ซึ่งโคนมที่ได้รับพระราชทานไปนั้นมีสุขภาพแข็งแรง เพิ่งจะคลอดลูก และเริ่มรีดนมได้แล้ว ตนเริ่มทำฟาร์มโคนมมาได้ 3 ปีแล้ว ส่วนตัวชอบอาชีพการเลี้ยงโคนมอยู่แล้ว เพราะเป็นอาชีพที่อิสระ ไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างใคร ปัจจุบัน ในฟาร์มของครอบครัวมีโคนมทั้งหมด 37 ตัว รีดนมได้ 20 ตัว ได้น้ำนมวันละ 360 กิโลกรัม ต่อวัน มีรายได้เฉลี่ย 6,400 บาท ต่อวัน

แต่เดิมที่บ้านทำฟาร์มสุกรแต่รายได้ไม่ค่อยแน่นอน จึงได้หันมาทำเกษตรแบบผสมผสาน และเริ่มเลี้ยงโคนม และเมื่อเทียบกันแล้วพบว่า การเลี้ยงโคนมให้ผลผลิตและรายได้ที่ดีกว่าการทำฟาร์มสุกร แต่ฟาร์มโคนมของตนมีอุปสรรคนิดหน่อย โดยเฉพาะเรื่องการให้อาหาร เพราะว่าต้องผสมอาหารข้างนอกแล้วยกขึ้นรถไถเอามาใส่ในถังให้โคกิน และหญ้าที่ปลูกไว้มีไม่เพียงพอให้โคกินได้ตลอด

วช. ยกระดับนวัตกรรมหนุนอาชีวะสร้างงานด้วยวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้่ร่วมจัดประชุมเชิงปฏิบัติ เรื่อง “Meet the Trainers : Invention & Innovation สายอาชีวศึกษา” ภายใต้แนวคิด Change for the Future อาชีวะก้าวไกล ด้วยวิจัยและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 29 – 30 กันยายน 2562 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมมารวย การ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร

โดยมีบุคลากรระดับผู้บริหาร อาจารย์ สายอาชีวศึกษา ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม จำนวน 350 คน ซึ่งวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อมุ่งพัฒนากำลังคนสายอาชีวศึกษาให้เป็นทรัพยากรบุคคลคุณภาพด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในอนาคต

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ เรื่อง “อาชีวะพันธุ์ใหม่ ก้าวสู่ Thailand 4.0” กล่าวว่า การจัดงานระดมสมองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ มุ่งพัฒนารูปแบบและเนื้อหาการบ่มเพาะนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษาให้สอดคล้องตามทิศทางการพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ และเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมทั้งมุ่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำและความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมเชิงสังคมและนวัตกรรมเชิงพื้นที่ ที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำควบคู่ไปกับการพัฒนาทุนมนุษย์ให้พร้อมสำหรับโลกยุคดิจิทัลและอุตสาหกรรม 4.0ตามความเหมาะสมอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ ทรัพยากรมนุษย์ นับเป็นทุนสังคมที่สำคัญ ที่จะต้องพัฒนาศักยภาพในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ ความชำนาญ และประสบการณ์ สามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพและหลากหลายรูปแบบ โดยการศึกษา วิจัย ตลอดจนการฝึกอบรม เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความสามารถและใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้และการพัฒนาที่ยั่งยืน

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จึงมีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะดำเนินการเร่งรัดพัฒนาการวิจัย นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ให้มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านอาชีวศึกษาให้เข้มแข็งบนพื้นฐานสติปัญญา ความรู้ ฐานเทคโนโลยี และคุณธรรม จริยธรรม พร้อมทั้งกระตุ้นและส่งเสริมนักวิจัยในสายอาชีวศึกษาให้มีการวิจัยพัฒนาต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่มุ่งหวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยการวิจัยและนวัตกรรม สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการจัดระบบและกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการพัฒนากำลังคนให้สามารถนำความรู้และทักษะมาใช้ในการแก้ไขปัญหา รวมถึงการสร้างและพัฒนานวัตกรรม เพื่อเตรียมการสำหรับผลิตกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลน รองรับอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในอนาคต สามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงและสร้างความเป็นเลิศของประเทศไทยในอนาคต

รมช. มนัญญา มอบนโยบายกรมส่งเสริมสหกรณ์ ยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาช่องทางการขายสินค้าสหกรณ์ผ่านตลาดออนไลน์ แชร์ส่วนแบ่งตลาด 3 ล้านล้านบาท

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดงานสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 47 ปีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่า ขอให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการส่งเสริมงานสหกรณ์ เพราะจะเห็นว่าพระองค์ทรงงานหนักหลายด้าน แต่ก็ทรงให้ความสำคัญกับงานสหกรณ์มากเพราะสหกรณ์เป็นองค์กรที่มีความสำคัญที่จะช่วยดูแลเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง

“ ความพอเพียงไม่ได้หมายความว่าลำบาก แต่เป็นการสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืน เพราะหากไม่พอเพียงจะทำให้ชีวิตลำบาก หากรู้จักคำว่าพอเพียงจะไม่ลำบาก เกินกว่านั้นคือฟุ่มเฟือย ไร้ความจำเป็น ดังนั้นให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ในทุกพื้นที่จริงจังกับการทำงานเพื่อความเข้มแข็งสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ถือว่าทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกรมากที่สุดและภารกิจยิ่งใหญ่ที่สุด ดิฉันอยากให้สกรณ์เราเข้มแข็ง เราต้องทุ่มเท จากนี้ดิฉันจะลงพื้นที่ไปเยี่ยมและให้กำลังใจสหกรณ์ทุกพื้นที่ จะไม่มีการทอดทิ้ง” รมช.เกษตรฯกล่าว

นางสาวมนัญญา กล่าวด้วยว่า จะเน้นให้สหกรณ์ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภับสำหรับผู้บริโภค และกำลังประสานความร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อหาช่องทางตลาดให้กับสหกรณ์ เพราะหากสามารถทำให้สหกรณ์มีรายได้เพิ่มจากการค้าขายและการทำธุรกิจ จะส่งผลที่ดีกลับไปยังเกษตรกรที่เป็นสมาชิก โดยเบื้องต้นได้หารือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) ว่าจะสามารถที่จะช่วยเหลือกันเพิ่มความรู้ในด้านการค้าขายออนไลน์ได้อย่างไร จะร่วมแชร์ตลาดค้าออนไลน์ที่มีมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านบาทได้อย่างไร คาดว่าในงบประมาณปี 63 เราจะเดินหน้าในเรื่องนี้ อย่างจริงจัง

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ (กสส.) ขณะนี้กรมฯ ได้เริ่มพัฒนาการค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ในเวบไซต์ C0-OP shop เพื่อเป็นช่องทางในการโปรโมทสินค้าสหกรณ์ ให้ประชาชนสามารถเลือกซื้อสินค้าจากสหกรณ์ต่างๆได้ ควบคู่กับบ่มเพาะความรู้ในการค้าสินค้าสหกรณ์ผ่านช่องทางดังกล่าว รวมถึงการผลักดันให้เกิดตลาดเกษตรกรในสหกรณ์ตามพื้นที่ต่างๆ รวมถึงจัดตั้งซุปเปอร์มาเก็ตสหกรณ์ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใหญ่ๆ เพื่อเป็นช่องทางการขายพืชผักผลไม้ สินค้าสหกรณ์และผลผลิตต่าง ๆ จากสหกรณ์ทั่วประเทศมารวมไว้ในที่เดียวกันให้ผู้บริโภคได้ไปเลือกซื้อได้อย่างสะดวก

ทั้งนี้ธุรกิจสหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตร ปี2562 สหกรณ์ 8,097 แห่ง เป็นสหกรณ์ภาคเกษตร 4,547 แห่ง นอกภาคเกษตร 3,550 แห่ง สมาชิก11.6 ล้านคน สมาชิกภาคการเกษตร 6.7 ล้าน นอกภาคเกษตร 4.9ล้านคน ทุนดำเนินการ 3.1ล้านบาท ปริมาณธุรกิจ2.5 ล้านล้านบาท

รมช. มนัญญา กระชับงานกรมส่งเสริมสหกรณ์ ย้ำยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียงดันสหกรณ์เข้มแข็ง พร้อมนำสหกรณ์เข้าตลาดออนไลน์แชร์ตลาด 3 ล้านล้านบาท

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวให้นโยบายกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ในการสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 47 ปี ว่าขอให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการส่งเสริมงานสหกรณ์ เพราะจะเห็นว่าพระองค์ทรงงานหนักหลายด้าน แต่ก็ทรงให้ความสำคัญกับงานสหกรณ์มาก เพราะสหกรณ์เป็นองค์กรที่มีความสำคัญที่จะช่วยดูแลเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง

“ ความพอเพียงไม่ได้หมายความว่าลำบาก แต่เป็นการสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืน เพราะหากไม่พอเพียงจะทำให้ชีวิตลำบาก หากรู้จักคำว่าพอเพียงจะไม่ลำบาก เกินกว่านั้นคือฟุ่มเฟือย ไร้ความจำเป็น ดังนั้นให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ในทุกพื้นที่จริงจังกับการทำงานเพื่อความเข้มแข็งสหกรณ์ กรมนี้ถือว่าทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกรมากที่สุดและภารกิจยิ่งใหญ่ที่สุด ดิฉันอยากให้สกรณ์เราเข้มแข็ง เราต้องทุ่มเท จากนี้ดิฉันจะลงพื้นที่ไปเยี่ยมและให้กำลังใจสหกรณ์ทุกพื้นที่ จะไม่มีการทอดทิ้ง” รมช.เกษตรฯกล่าว

นางสาวมนัญญา กล่าวด้วยว่า จะเน้นให้สหกรณ์ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภับสำหรับผู้บริโภค และกำลังประสานความร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อหาช่องทางตลาดให้กับสหกรณ์ เพราะหากสามารถทำให้สหกรณ์มีรายได้เพิ่มจากการค้าขายและการทำธุรกิจ จะส่งผลที่ดีกลับไปยังเกษตรกรที่เป็นสมาชิก โดยเบื้องต้นได้หารือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) ว่าจะสามารถที่จะช่วยเหลือกันเพิ่มความรู้ในด้านการค้าขายออนไลน์ได้อย่างไร จะร่วมแชร์ตลาดค้าออนไลน์ที่มีมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านบาทได้อย่างไร คาดว่าในงบประมาณปี 63 เราจะเดินหน้าในเรื่องนี้ อย่างจริงจัง

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ (กสส.) ขณะนี้กรมได้เริ่มพัฒนาการค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ในเวบไซต์ C0-OP shop ที่กำลังพัฒนาเพื่อให้เป็นช่องทางในการโปรโมทสินค้าสหกรณ์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามาใช้บริการและเลือกซื้อสินค้าจากสหกรณ์ต่างๆได้ และกำลังเริ่มจะให้มีการบ่มเพาะความรู้ในการค้าผ่านช่องทางดังกล่าว รวมถึงการผลักดันให้เกิดตลาดเกษตรกรในสหกรณ์ตามพื้นที่ต่างๆ รวมถึงจัดตั้งซุปเปอร์มาเก็ตสหกรณ์ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใหญ่ๆ โดยจะเป็นแหล่งจำหน่ายพืชผักผลไม้ สินค้าและผลผลิตต่าง ๆ จากสหกรณ์ทั่วประเทศมารวมไว้ให้ผู้บริโภคได้ไปเลือกซื้อได้อย่างสะดวก เพื่อเพิ่มช่องทางตลาดจำหน่ายผลผลิตและสินค้าของสมาชิกสหกรณ์

ทั้งนี้ธุรกิจสหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตร ปี62 สหกรณ์ 8,097 แห่ง เป็นสหกรณ์ภาคเกษตร 4,547 แห่ง นอกภาคเกษตร 3,550 แห่ง สมาชิก11.6 ล้านคน สมาชิกภาคการเกษตร 6.7 ล้าน นอกภาคเกษตร 4.9ล้านคน ทุนดำเนินการ 3.1 ล้านล้านบาท ปริมาณธุรกิจ2.5 ล้านล้านบาท

รมช. มนัญญา กระชับงานกรมส่งเสริมสหกรณ์ ย้ำยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียงดันสหกรณ์เข้มแข็ง พร้อมนำสหกรณ์เข้าตลาดออนไลน์แชร์ตลาด 3 ล้านล้านบาท นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวให้นโยบายกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ในการสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 47 ปี ว่าขอให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการส่งเสริมงานสหกรณ์ เพราะจะเห็นว่าพระองค์ทรงงานหนักหลายด้าน แต่ก็ทรงให้ความสำคัญกับงานสหกรณ์มาก เพราะสหกรณ์เป็นองค์กรที่มีความสำคัญที่จะช่วยดูแลเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง

“ ความพอเพียงไม่ได้หมายความว่าลำบาก แต่เป็นการสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืน เพราะหากไม่พอเพียงจะทำให้ชีวิตลำบาก หากรู้จักคำว่าพอเพียงจะไม่ลำบาก เกินกว่านั้นคือฟุ่มเฟือย ไร้ความจำเป็น ดังนั้นให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ในทุกพื้นที่จริงจังกับการทำงานเพื่อความเข้มแข็งสหกรณ์ กรมนี้ถือว่าทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกรมากที่สุดและภารกิจยิ่งใหญ่ที่สุด ดิฉันอยากให้สกรณ์เราเข้มแข็ง เราต้องทุ่มเท จากนี้ดิฉันจะลงพื้นที่ไปเยี่ยมและให้กำลังใจสหกรณ์ทุกพื้นที่ จะไม่มีการทอดทิ้ง” รมช.เกษตรฯกล่าว

นางสาวมนัญญา กล่าวด้วยว่า จะเน้นให้สหกรณ์ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภับสำหรับผู้บริโภค และกำลังประสานความร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อหาช่องทางตลาดให้กับสหกรณ์ เพราะหากสามารถทำให้สหกรณ์มีรายได้เพิ่มจากการค้าขายและการทำธุรกิจ จะส่งผลที่ดีกลับไปยังเกษตรกรที่เป็นสมาชิก โดยเบื้องต้นได้หารือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) ว่าจะสามารถที่จะช่วยเหลือกันเพิ่มความรู้ในด้านการค้าขายออนไลน์ได้อย่างไร จะร่วมแชร์ตลาดค้าออนไลน์ที่มีมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านบาทได้อย่างไร คาดว่าในงบประมาณปี 63 เราจะเดินหน้าในเรื่องนี้ อย่างจริงจัง

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ (กสส.) ขณะนี้กรมได้เริ่มพัฒนาการค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ในเวบไซต์ C0-OP shop ที่กำลังพัฒนาเพื่อให้เป็นช่องทางในการโปรโมทสินค้าสหกรณ์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามาใช้บริการและเลือกซื้อสินค้าจากสหกรณ์ต่างๆได้ และกำลังเริ่มจะให้มีการบ่มเพาะความรู้ในการค้าผ่านช่องทางดังกล่าว รวมถึงการผลักดันให้เกิดตลาดเกษตรกรในสหกรณ์ตามพื้นที่ต่างๆ รวมถึงจัดตั้งซุปเปอร์มาเก็ตสหกรณ์ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใหญ่ๆ โดยจะเป็นแหล่งจำหน่ายพืชผักผลไม้ สินค้าและผลผลิตต่าง ๆ จากสหกรณ์ทั่วประเทศมารวมไว้ให้ผู้บริโภคได้ไปเลือกซื้อได้อย่างสะดวก เพื่อเพิ่มช่องทางตลาดจำหน่ายผลผลิตและสินค้าของสมาชิกสหกรณ์

ทั้งนี้ธุรกิจสหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตร ปี62 สหกรณ์ 8,097 แห่ง เป็นสหกรณ์ภาคเกษตร 4,547 แห่ง นอกภาคเกษตร 3,550 แห่ง สมาชิก11.6 ล้านคน สมาชิกภาคการเกษตร 6.7 ล้าน นอกภาคเกษตร 4.9ล้านคน ทุนดำเนินการ 3.1 ล้านล้านบาท ปริมาณธุรกิจ2.5 ล้านล้านบาท

รมช. มนัญญา กระชับงานกรมส่งเสริมสหกรณ์ ย้ำยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียงดันสหกรณ์เข้มแข็ง พร้อมนำสหกรณ์เข้าตลาดออนไลน์แชร์ตลาด 3 ล้านล้านบาท

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวให้นโยบายกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ในการสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 47 ปี ว่าขอให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการส่งเสริมงานสหกรณ์ เพราะจะเห็นว่าพระองค์ทรงงานหนักหลายด้าน แต่ก็ทรงให้ความสำคัญกับงานสหกรณ์มาก เพราะสหกรณ์เป็นองค์กรที่มีความสำคัญที่จะช่วยดูแลเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง

“ ความพอเพียงไม่ได้หมายความว่าลำบาก แต่เป็นการสร้างความมั่งคั่งและยั่งยืน เพราะหากไม่พอเพียงจะทำให้ชีวิตลำบาก หากรู้จักคำว่าพอเพียงจะไม่ลำบาก เกินกว่านั้นคือฟุ่มเฟือย ไร้ความจำเป็น ดังนั้นให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ในทุกพื้นที่จริงจังกับการทำงานเพื่อความเข้มแข็งสหกรณ์ กรมนี้ถือว่าทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกรมากที่สุดและภารกิจยิ่งใหญ่ที่สุด ดิฉันอยากให้สกรณ์เราเข้มแข็ง เราต้องทุ่มเท จากนี้ดิฉันจะลงพื้นที่ไปเยี่ยมและให้กำลังใจสหกรณ์ทุกพื้นที่ จะไม่มีการทอดทิ้ง” รมช.เกษตรฯกล่าว

นางสาวมนัญญา กล่าวด้วยว่า จะเน้นให้สหกรณ์ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภับสำหรับผู้บริโภค และกำลังประสานความร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อหาช่องทางตลาดให้กับสหกรณ์ เพราะหากสามารถทำให้สหกรณ์มีรายได้เพิ่มจากการค้าขายและการทำธุรกิจ จะส่งผลที่ดีกลับไปยังเกษตรกรที่เป็นสมาชิก โดยเบื้องต้นได้หารือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) ว่าจะสามารถที่จะช่วยเหลือกันเพิ่มความรู้ในด้านการค้าขายออนไลน์ได้อย่างไร จะร่วมแชร์ตลาดค้าออนไลน์ที่มีมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านบาทได้อย่างไร คาดว่าในงบประมาณปี 63 เราจะเดินหน้าในเรื่องนี้ อย่างจริงจัง

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ (กสส.) ขณะนี้กรมได้เริ่มพัฒนาการค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ในเวบไซต์ C0-OP shop ที่กำลังพัฒนาเพื่อให้เป็นช่องทางในการโปรโมทสินค้าสหกรณ์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามาใช้บริการและเลือกซื้อสินค้าจากสหกรณ์ต่างๆได้ และกำลังเริ่มจะให้มีการบ่มเพาะความรู้ในการค้าผ่านช่องทางดังกล่าว รวมถึงการผลักดันให้เกิดตลาดเกษตรกรในสหกรณ์ตามพื้นที่ต่างๆ รวมถึงจัดตั้งซุปเปอร์มาเก็ตสหกรณ์ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใหญ่ๆ โดยจะเป็นแหล่งจำหน่ายพืชผักผลไม้ สินค้าและผลผลิตต่าง ๆ จากสหกรณ์ทั่วประเทศมารวมไว้ให้ผู้บริโภคได้ไปเลือกซื้อได้อย่างสะดวก เพื่อเพิ่มช่องทางตลาดจำหน่ายผลผลิตและสินค้าของสมาชิกสหกรณ์

ทั้งนี้ธุรกิจสหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตร ปี62 สหกรณ์ 8,097 แห่ง เป็นสหกรณ์ภาคเกษตร 4,547 แห่ง นอกภาคเกษตร 3,550 แห่ง สมาชิก11.6 ล้านคน สมาชิกภาคการเกษตร 6.7 ล้าน นอกภาคเกษตร 4.9ล้านคน ทุนดำเนินการ 3.1 ล้านล้านบาท ปริมาณธุรกิจ2.5 ล้านล้านบาท

30 กันยายน 2562 – บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ และบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ออกแถลงการณ์ร่วมกันในการต่อสู้กับแรงงานทาสยุคใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่าห่วงโซ่อุปทานของทั้งสองบริษัทปราศจากแรงงานที่ผิดกฎหมาย

ในการประชุมประจำปีของ SeaBOS ที่จังหวัดภูเก็ต ทั้งสองบริษัทแสดงความคิดเห็นร่วมกันว่า “แรงงานทาสยุคใหม่ เป็นความท้าทายระดับโลก ซึ่งมีความพยายามร่วมมือเพื่อขจัดให้หมดไป ในการทำงานระหว่างปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง”

คุณบอย บอกว่า หลังจากนกผสมพันธุ์ภายในสัปดาห์เดียว

จะเริ่มออกไข่ แล้วทยอยออกไข่วันเว้นวัน ครั้งละ 4-8 ฟอง ขนาดฟองเล็กกว่าหัวแม่โป้ง ทั้งนี้ ต้องเก็บข้อมูลวันที่ออกไข่ทุกวัน โดยไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 18 วันจึงเป็นลูกนก ทั้งนี้ แม่นกสามารถเลี้ยงลูกได้เต็มที่คราวละ 4 ตัว ในกรณีที่ฟักพร้อมกันเกินกว่า 4 ฟอง ที่เหลือมีโอกาสเสี่ยงตายมาก

ลูกนกจะอยู่ในรัง 45 วัน แล้วจะย้ายมาอยู่ในกรงใหญ่ที่แยกต่างหาก จากนั้นแม่นกจะทำความสะอาดรังด้วยการคาบขี้ลูกนกออกมาทิ้ง ทำความสะอาดรังจนเกลี้ยงเพื่อเตรียมผสมพันธุ์รอบใหม่

นกหงส์หยกผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี มีเพียงในช่วงหน้าร้อนนกไม่ค่อยผสมพันธุ์ เพราะอากาศร้อนเป็นอุปสรรค นกมักกินน้ำแล้วนอน แต่ในฟาร์มบางแห่งที่มีทุนหนาอาจสร้างกรงเลี้ยงแบบติดเครื่องปรับอากาศ หรือใช้พัดลม ใช้เครื่องพ่นไอน้ำเข้ามาช่วยปรับอุณหภูมิ

คุณบอยกำหนดให้แม่นกผสมพันธุ์ออกไข่เต็มที่สัก 3 รุ่นก่อน แล้วย้ายไปพักสัก 2-3 เดือน เพื่อให้ร่างกายกลับมาสมบูรณ์ค่อยนำกลับมาผสมพันธุ์ใหม่ ทั้งนี้ ยังกำหนดให้ตัวเมียออกไข่เต็มที่สัก 3 ปี เพราะหลังจากนั้นแล้วความสมบูรณ์ของตัวนกลดลง จำนวนไข่ลดลง ผสมไม่ติดเชื้อตัวผู้ ส่วนตัวผู้สามารถใช้เป็นพ่อพันธุ์ได้ถึงอายุ 5 ปี

การเลี้ยงลูกนกจะให้วิตามินเสริมโปรตีนหยดลงในน้ำเพื่อให้แม่นกกินพร้อมอาหาร จากนั้นแม่นกจะคายอาหารเพื่อป้อนลูกนก แล้วทำเช่นนี้ประมาณ 45 วัน จะทำให้ลูกนกได้ทั้งอาหารและวิตามินไปพร้อมกัน วิตามินช่วยทำให้ลูกนกแข็งแรง เติบโตอย่างรวดเร็ว

อาหารนกโตใช้เมล็ดธัญพืช อาทิ ข้าวโอ๊ต เมล็ดข้าวฟ่าง มีแหล่งซื้อใหญ่ที่ตลาดนัดจตุจักร ซื้อมาเป็นกระสอบละ 20 กิโลกรัม ถ้าช่วงไหนมีนกมากต้องใช้เดือนละ 2 กระสอบ นอกจากนั้น อาจเสริมด้วยขนมปังแผ่นที่โรยด้วยอาหารไข่ (ทำสำเร็จมาแล้ว) เสริมด้วยผักกาดหอม ใบกะเพรา แครอต ข้าวโพดหวานดิบสีเหลืองในทุก 2 สัปดาห์

ด้านการดูแลสุขภาพจะต้องป้อนยาเพื่อป้องกันโรคที่มักเกิดแล้วเป็นอันตรายกับนก ซึ่งยาที่ต้องให้กินมี 3 ชนิด คือยาป้องกันท้องเสีย ยาระบบทางเดินหายใจ และยาป้องกันหวัด เพื่อสำหรับสร้างภูมิคุ้มกัน โดยจะป้อนให้เป็นรอบ ผสมยากับน้ำเปล่าเป็นบางครั้ง ให้ทั้งนกเล็ก (หลัง 45 วัน) และนกโต

คุณบอย บอกว่า การสร้างกรงเลี้ยงนกไม่ควรสร้างแบบเปิดโล่งไว้กลางแจ้ง เพราะนกจะโดนลมมาก ทำให้สุขภาพไม่แข็งแรง อีกทั้งยังเสี่ยงต่อศัตรูนก อย่างงูที่เข้ามากินไข่ หากจำเป็นควรใช้วัสดุที่มีช่องถี่ๆ หรือควรตั้งไว้ในตำแหน่งที่ไม่โล่งจนเกินไป

สำหรับสถานที่เลี้ยงนกของคุณบอยในพื้นที่บริเวณด้านหลังบ้านพัก เลขที่ 888/4 หมู่บ้านรุ่งกิจการ์เด้นโฮม ถนนร่มเกล้า แขวงคลองสามประเวศ เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ สร้างเป็นกรงไว้ จำนวน 2 กรงใหญ่ มีช่องทางเดินให้สะดวก แล้วยังแบ่งเป็นกรงเพาะลูกนกไว้ต่างหาก ภายในกรงแบ่งเป็นกรงขนาดย่อมไว้สำหรับให้ลูกนกอายุ 45 วัน-3 เดือน นกอายุ 4-8 เดือน อีกกรง แล้วอายุเกิน 8 เดือนจะให้อยู่อีกกรง จึงทำให้นกอยู่แบบไม่แออัด มีสุขภาพแข็งแรง สุขภาพจิตดี

คุณบอย ชี้ว่า หงส์หยกอังกฤษนิยมเลี้ยงเพื่อประกวด การพิจารณาหลักเกณฑ์จะดูจากรูปทรง ลักษณะและสีขนเป็นหลัก ดังนั้น การผลิตนกในแต่ละช่วงจะต้องดูความสนใจของตลาดว่านิยมเล่นนกรูปแบบใด จึงจะเลือกจับคู่ผสมพ่อ-แม่พันธุ์ให้ถูกต้องเหมาะสม

“ขณะเดียวกัน อาจมีการแยกย่อยในเรื่องของเฉดสี ลาย ไม่ว่าจะเป็นแบบแฟนซี ลายสแปงเกิ้ล หรืออาจมาดูในเรื่องจุดเด่นตามอวัยวะสำคัญ อย่างมีหลังเป็นสีน้ำตาล ใบหน้าสีเหลือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการสร้างมูลค่านกในตลาดขาย”

นกที่พร้อมจะขายต้องมีอายุอยู่สัก 7-8 เดือน เป็นช่วงวัยที่สามารถผสมพันธุ์ได้ทันที จะประกาศลงขายทางออนไลน์ แต่ก็มีลูกค้าบางรายอยากเห็นนกด้วยตัวเองก็จะเดินทางมาที่ฟาร์ม ซึ่งถ้าเห็นลูกนกสวยๆ ก็ซื้อติดมือไปด้วย

สิ่งสำคัญที่ลูกค้าใช้สำหรับเลือกซื้อนกโดยเฉพาะสายประกวด คือมักจะดูจากรูปลักษณะที่สมบูรณ์ ซึ่งสมัยก่อนการประกวดนิยมดูจากรูปร่าง โครงสร้างเป็นหลัก แต่ในยุคนี้เปลี่ยนมาเล่นเรื่องสีกับความแปลกแทน ดังนั้น การผสมพันธุ์จึงควรหาลูกเล่นใส่ลงไปด้วยเพื่อสร้างจุดสนใจ

“อย่างในกรณีที่พ่อพันธุ์มีลักษณะดี หัวฟู รูปร่างใหญ่ แต่พื้นสีเป็นเขียวขี้ม้าซึ่งตลาดไม่ค่อยนิยม แต่นกตัวนั้นมีจุดเด่นที่รูปร่าง โครงสร้าง ดังนั้น ก็จะต้องไปเลือกสีและลายที่ต้องการจากตัวเมีย พอนำมาจับคู่ผสมพันธุ์จะได้ลูกนกที่มีลักษณะเด่นเป็นที่ต้องการของตลาดจากพ่อ-แม่”

สนนราคาขายหงส์หยกอังกฤษอาจไม่มีกฎตายตัวแน่นอนเพราะต้องอิงตลาดและความพอใจของผู้ซื้อ-ผู้ขาย โดยมากคุณบอยเริ่มต้นที่ราคาตัวละ 800 บาท กลุ่มลูกค้ามีทั้งแบบซื้อไปเลี้ยงดูเล่น กับผู้ที่ต้องการเลี้ยงเพาะขายเพื่อส่งประกวด อย่างไรก็ตาม คนเลี้ยงมักเริ่มจากเลี้ยงดูเล่นก่อนแล้วผันตัวเป็นเป็นฟาร์มในอนาคต ดังนั้น จึงทำให้มีลูกค้าหลากหลายเกือบทุกวัยเพราะมีจุดหมายต่างกัน

คุณบอยการันตีลูกค้าที่ซื้อนกไปแล้วภายใน 7 วันเท่านั้น ถ้ามีปัญหาสามารถเลือกรับเงินคืนหรือเลือกนกตัวใหม่ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนั้นแล้ว ยังให้คำปรึกษาฟรีแก่ลูกค้า

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือต้องการสั่งซื้อหงส์หยกอังกฤษที่มีสีและลายสวยๆ ได้ที่ คุณคฑาวุธ ทองยิ่ง หรือคุณบอย โทรศัพท์ (081) 838-5779 หรือเข้าไปชมภาพและกิจกรรมนกได้ที่ FB: คฑาวุธ ทองยิ่ง และ FB: นกหงส์หยก ร่มเกล้า

หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus) เป็นพืชผักที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรอย่างมากในปัจจุบัน เพราะเป็นผักที่มีราคาดี มีความต้องการในตลาดสูง เป็นผักอายุยืน เก็บผลผลิตได้ตลอดปี สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้เป็นอย่างดีประกอบกับผลผลิตส่วนใหญ่ถูกส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ประเทศคู่ค้าสำคัญที่รับซื้อผลผลิตจากประเทศไทย คือ ประเทศญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และไต้หวัน ทำให้พื้นที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน พื้นที่ปลูกที่สำคัญอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี กาญจนบุรี และจังหวัดเพชรบูรณ์

ประเทศไทยเริ่มทดลองปลูกหน่อไม้ฝรั่งครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2489 ที่สถานีกสิกรรมอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยนำเมล็ดพันธุ์มาจากประเทศออสเตรเลีย ในระยะต่อมาได้มีการปรับปรุงวิธีการปลูก การดูแลรักษา รวมทั้งพัฒนาระบบการตลาดให้เข้มแข็งขึ้น จนกระทั่งปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่งมากกว่า 10,000 ไร่

การปลูกหน่อไม้ฝรั่งในประเทศไทยรูปแบบหนึ่ง จะใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมการค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งพอยกตัวอย่างได้หลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์แมรีวอชิงตัน เป็นสายพันธุ์แรกที่นำเข้ามาปลูกในประเทศไทย พันธุ์แคลิฟอร์เนีย 309 และ พันธุ์ยูซี 157 พันธุ์บร็อคอิมพรู๊ฟ และพันธุ์บร็อคอิมพีเรียล เป็นต้น

เมล็ดพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งมีราคาค่อนข้างแพง น้ำหนักประมาณ1 ปอนด์หรือประมาณ 0.45 กิโลกรัม ราคาประมาณ 10,000 บาท เพาะปลูกได้ประมาณ 2-3 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่จึงเลือกใช้วิธีเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติไปปลูก แต่ผลผลิตที่ได้จะมีมาตรฐานต่ำ คุณภาพไม่สม่ำเสมอ หรือแม้การใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมนำเข้าจากต่างประเทศก็ตาม ก็ให้ผลผลิตมาตรฐานต่ำกว่าการปลูกหน่อไม้ฝรั่งด้วยต้นพันธุ์ที่ผลิตด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ซึ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับว่า ต้นพืชที่ผลิตด้วยวิธีการดังกล่าวทุกๆ ต้นจะมีพันธุกรรมเหมือนกับต้นแม่พันธุ์ดีที่คัดเลือกมาผลิต และเมื่อนำไปปลูกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นหน่อไม้ฝรั่ง จะทำให้ผลผลิตที่เก็บได้ในแต่ละวันหรือแต่ละช่วงเวลา มีมาตรฐานใกล้เคียงกัน ซึ่งทำให้เกษตรกรบรรลุเป้าหมายที่สำคัญ คือ ได้หน่อไม้ฝรั่งคุณภาพดีจำนวนมากอยู่เสมอ เกษตรกรจึงมีรายได้ต่อหน่วยพื้นที่ที่ปลูกสูงกว่า และมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการปลูกโดยใช้ต้นพันธุ์จากเมล็ดมาปลูก

ขยายพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในระยะแรกความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่งได้รับมาจากหน่วยงานวิชาการต่างๆ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งมีบุคลากรที่มีความรู้และผลงานวิชาการให้ศึกษาจำนวนมาก ต่อมาประมาณปีพ.ศ. 2540 ได้มีหน่วยงานนำเอาความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์และพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรคือ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสามารถผลิตต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งด้วยวิธีการเพาะเลียงเนื้อเยื่อพืชและนำไปทดลองปลูกในแปลงของเกษตรกร ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้เกิดการยอมรับในการใช้ต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่ผลิตด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

พบเกษตรกรหัวไว ใจสู้

เกษตรกรรายหนึ่งที่ขอกล่าวถึงเนื่องจากเป็นผู้ที่ทำให้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่งเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวาง คือ คุณโสภณ อารยธรรม ชาวดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี คุณโสภณได้รับต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของกรมส่งเสริมการเกษตรไปทดลองปลูกเมื่อประมาณปีพ.ศ.2542 จำนวนประมาณ 5,000 ต้น (2 เบอร์) ช่วงเวลานั้นทั้งตัวนักวิชาการผู้ผลิตและเกษตรกรร่วมกันเฝ้ารอถึงผลที่จะเกิดในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร เนื่องจากเป็นการปลูกหน่อไม้ฝรั่งจากต้นพันธุ์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแปลงแรกในพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ เรียกว่ารอลุ้นกันประมาณ 1 ปี ดูตั้งแต่ลักษณะการเจริญเติบโตจนถึงการให้ผลผลิตว่ามีผลเป็นที่น่าพอใจหรือไม่ เมื่อได้รับคำตอบว่าพอใจอย่างมาก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่งก็ขยายตัวและได้รับการยอมรับมาจนถึงทุกวันนี้

ยังมีเกษตรกรหัวก้าวหน้า

ประมาณปลายปี พ.ศ.2554 เกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่งอีกรายหนึ่ง คือ คุณอนันทพงษ์ สารีคำ ชาวหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ชมรายการโทรทํศน์เกี่ยวกับการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง จึงเกิดแรงบันดาลใจให้โทรไปหาคุณโสภณ และทำให้ตัดสินใจหันมาปลูกหน่อไม้ฝรั่งจากต้นพันธุ์เนื้อเยื่อโดยไม่ลังเล คุณอนันทพงษ์ จึงเป็นผู้บุกเบิกนำต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของศูนย์ขยายพันธุ์พืชสยามมาปลูกในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ และเป็นต้นแบบกระตุ้นให้เกษตรกรรายอื่นๆหันมาใช้ต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกันอย่างมาก

การผลิตต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช มีกระบวนการทำงานพอสรุปเป็นขั้นตอนสำคัญได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้

1.การคัดเลือกต้นแม่พันธุ์ดี ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมากที่สุดขั้นตอนหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการผลิตต้นพันธุ์วิธีนี้จำเป็นที่จะต้องคัดเลือกหาต้นแม่พันธุ์ดีที่เป็นนางงามหรือเป็นแชมป์โลกที่สามารถให้ผลผลิตตรงตามมาตรฐานการผลิต ซึ่งวิธีการเสาะหาจำเป็นต้องได้รับการร่วมมือจากเกษตรกรผู้ปลูก ต้องใช้เวลาหลายปี และต้องหมั่นสังเกตหาแม่พันธุ์ที่แข็งแรง โตเร็ว ให้ผลผลิตดีมีมาตรฐานสูง

2.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เมื่อคัดเลือกได้แม่พันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่ดีแล้ว ก็ต้องนำมาเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์ให้ได้จำนวนมากโดยใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ซึ่งเป็นงานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสูตรอาหารและการเลือกใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช รวมไปถึงการจัดการสภาพแวดล้อม เช่น แสง อุณหภูมิ และความชื้นอย่างเหมาะสม ขั้นตอนที่ยุ่งยากบ้างก็คือ การชักนำรากให้หน่อไม้ฝรั่งเกิดรากก่อนนำไปทำการอนุบาลให้เป็นต้นพันธุ์ที่แข็งแรง ซึ่งก็พบว่า พันธุกรรมของแม่พันธุ์หน่อไม้ฝรั่งก็เป็นปัจจัยต่อความยากง่ายในการเกิดรากของหน่อไม้ฝรั่ง ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของต้นแม่พันธุ์หน่อไม้ฝรั่ง และการบริหารจัดการที่ดีมีมาตรฐานของระบบการผลิตงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

3.การปลูกต้นพันธุ์ ต้นพันธุ์ดีที่ผลิตได้เมื่อนำไปปลูกในแปลงปลูกที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหน่อไม้ฝรั่ง ก็จะมีการเจริญเติบโตที่ดี ให้ผลผลิตที่มีมาตรฐานสูงเหมือนต้นแม่พันธุ์ดีที่คัดเลือกมาทุกประการ

ท่านผู้อ่านหลายท่าน อาจเคยรู้จักศูนย์ขยายพันธุ์พืชสยามว่าเป็นผู้ผลิตกุหลาบจิ๋วหรือเบบี้โรสด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชมาแล้ว ในเวลาเดียวกันทางศูนย์ฯ ก็มิได้หยุดนิ่งแต่เพียงไม้ดอก เช่น กุหลาบจิ๋ว หรือกล้วยไม้เท่านั้น ศูนย์ฯได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนางานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยไปควบคู่กันด้วย และโดยเฉพาะหน่อไม้ฝรั่งซึ่งเกษตรกรมีความต้องการใช้ต้นพันธุ์ที่มีมาตรฐานสูงมาก จากการที่ศูนย์ฯมีประสบการณ์ทดลองปลูกหน่อไม้ฝรั่งในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่มาก่อนประมาณปีพ.ศ.2549 และ พ.ศ. 2551 ตามลำดับ

ข้อมูลการสังเกตเบื้องต้นพบว่า หน่อไม้ฝรั่งสามารถเจริญเติบโตและเก็บผลผลิตได้ตามปกติ ประมาณปลายปี พ.ศ. 2554 ศูนย์ฯจึงได้ผลิตต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ดีจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และทำการปลูกทดสอบสายพันธุ์ในพื้นที่เล็กๆของศูนย์ฯที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดทำแปลงปลูกหน่อไม้ฝรั่งแปลงดังกล่าว 2 ประการ คือ

1.เป็นแปลงแม่พันธุ์สำหรับผลิตและคัดเลือกหน่อพันธุ์ดีส่งให้แก่ห้องแลปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อใช้ผลิตต้นพันธุ์การค้าที่ได้มาตรฐานเพื่อจำหน่ายแก่ผู้สนใจปลูกเลี้ยงต่อไป

2.เป็นแปลงศึกษาและเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสบการณ์การปลูกหน่อไม้ฝรั่งเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสายพันธุ์ต่างๆ ที่ศูนย์ได้ผลิตขึ้นมาทั้งในปัจจุบันและที่จะมีต่อไป

ในอนาคตต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่ผลิตด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชของศูนย์ฯมีมาตรฐานการผลิตเป็นที่ยอมรับ เนื่องจาก

1.การคัดเลือกแม่พันธุ์ แม่พันธุ์หน่อไม้ฝรั่งของศูนย์ฯ เป็นแม่พันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกลักษณะดีเด่นทางการเกษตรมาเป็นเวลานานก่อนนำมาเข้าสู่กระบวนการผลิตต้นพันธุ์พืช ผ่านการเก็บผลผลิตส่งไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่นและไต้หวันเป็นเวลานานกว่า 10 ปี ได้รับการยอมรับจากเกษตรกรผู้ปลูกและผู้เยี่ยมชมดูงาน ศูนย์ฯจึงนำหน่อไม้ฝรั่งดังกล่าวมาผลิตเป็นต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพร้อมปลูก เพื่อจำหน่ายแก่เกษตรกรและผู้สนใจปลูกในปัจจุบัน

2.การผลิตต้นพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เนื่องจากศูนย์ฯมีแปลงทดลองปลูกหน่อไม้ฝรั่งเป็นของศูนย์ฯ เอง ทำให้สามารถคัดเลือกและนำหน่อพันธุ์ดีรุ่นใหม่ๆของแต่ละเบอร์ส่งเข้าผลิตเป็นต้นหน่อไม้ฝรั่งรุ่นลูกรุนหลานทยอยออกปลูกในสภาพธรรมชาติได้อย่างต่อเนื่อง มิได้ใช้หน่อต้นแม่พันธุ์จำนวนน้อยแล้วผลิตต้นพันธุ์เป็นจำนวนมากๆโดยมิได้มีการเปลี่ยนหน่อแม่พันธุ์ใหม่

3.ต้นพันธุ์ที่ผลิตได้ ต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่ผลิตด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของศูนย์ฯได้บุกเบิกไปในกลุ่มผู้ปลูกภาคเหนือเป็นกลุ่มแรก โดยเฉพาะได้ยอมรับจากเกษตรกรในพื้นที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่งอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นอย่างมาก ซึ่งผู้ปลูกได้พบถึงความแตกต่างของปริมาณและคุณภาพของหน่อไม้ฝรั่งที่ผลิตได้อย่างชัดเจน จึงหันมาใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกันมากขึ้น

เกษตรกรหรือผู้สนใจปลูกหน่อไม้ฝรั่งท่านใดสามารถศึกษาดูตัวอย่างแปลงที่ปลูกด้วยต้นพันธุ์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ หรือหากสนใจต้นพันธุ์ (Asparagus tissue culture) สามารถติดต่อมาที่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชสยาม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ปลื้มคว้ารางวัล “กินรี” ครั้งที่ 12สาขาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้มาได้สำเร็จพร้อมประกาศเดินหน้าในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เกษตรก้าวสู่ Smart Museumระดับสากล และยกระดับสู่Edutainment ระดับชาติ

นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้พิพิธภัณฑ์เกษตรได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยหรือรางวัลกินรีสาขาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ จากดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในงานประกาศผลรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย หรือ รางวัลกินรี ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ซึ่งจัดพิธีมอบรางวัลขึ้นในวันที่ 27 กันยายน 62 ที่ผ่านมาในงานส่งเสริมการขาย “Thailand Tourism Awards Showcase 2019

ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 อาคารสามย่านมิตรทาวน์ เขตปทุมวัน กทม.
​สำหรับ “รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย” (Thailand Tourism Awards) หรือ “รางวัลกินรี” ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2539โดยกำหนดจัดประกวดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 2 ปี โดยปีนี้เป็นการประกวดครั้งที่ 12 เพื่อมอบให้กับสถานประกอบการ ชุมชน หน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย โดยใช้สัญลักษณ์ “กินรี”เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพและยกระดับของสินค้าทางการท่องเที่ยว

อีกทั้งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน (Beyond Standard) ซึ่งมีบทบาทในการเป็นผู้คิดและเพื่อนร่วมงาน ร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว เพื่อให้คำแนะนำในการทำพัฒนาธุรกิจ รวมถึงการต่อยอดขยายฐานด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ที่ได้รับรางวัลมาเป็นเวลามากกว่า 20 ปี โดยในปีนี้ พิพิธภัณฑ์สามารถคว้ารางวัล”กินรี” ประเภทสาขาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้มาได้สำเร็จเป็นปีแรก

นายสหภูมิกล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 10ปี พิพิธภัณฑ์เกษตรมีความมุ่งมั่นในการสืบสานพระราชปณิธาน สู่การรักษาต่อยอด พระอัจฉริยภาพพระมหากษัตริย์ไทยด้านการเกษตร ส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนา ยกระดับพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ให้เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตในระดับสากลในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต รวมทั้งได้พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สมบูรณ์แบบ พร้อมนำเสนอเผยแพร่องค์ความรู้ในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตรสู่สาธารณชนในวงกว้างมากขึ้นและมีแผนพัฒนาพิพิธภัณฑ์สู่ความเป็นSmart Museum ระดับสากล

รวมทั้งในอนาคตเรามีแผนจะพัฒนาโซนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง “Wisdom Farm” เชื่อมโยงกับอุทยานการเกษตรสนองพระราชปณิธานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10ที่เตรียมสร้างและเปิดให้เข้าชมได้ในปี 65 ก้าวสู่การเป็น Edutainment หรือแหล่งเรียนรู้ผสมกับแหล่งท่องเที่ยวที่มีความน่าสนใจเต็มรูปแบบ เพื่อให้ประชาชนที่เข้ามาเยี่ยมชมได้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน เพลิดเพลินกลับไปและสามารถนำความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติจากในอดีตสู่ปัจจุบันสร้างปัญหาอย่างมากต่อภาคเกษตรกรรม เมื่อก่อนเกษตรกรลงมือปลูกอะไรล้วนประสบความสำเร็จทุกอย่าง เพราะน้ำ อากาศ และดินมีความสมบูรณ์เพียงพอ แต่ตอนนี้ทุกอย่างกลับตรงกันข้าม หากชาวบ้านต้องการปลูกอะไรต้องพิจารณาปัจจัยทุกอย่างให้รอบคอบ จะด่วนใจร้อนลงมือทันทีอย่างเช่นสมัยก่อนคงไม่ได้แล้ว ดังนั้น การคิดจะปลูกพืชเพียงชนิดเดียวที่เรียกว่าพืชเชิงเดี่ยวเพื่อหารายได้คงเสี่ยงเกินไปกับยุคสมัยนี้

ครอบครัว “สตาล” ที่ประกอบด้วย คุณปากิ๊ด สตาล (พ่อ) คุณสุมาลี สตาล (แม่) คุณพัชรี สตาล (ลูก) และ คุณอภินันท์ ไชยเดชกำจร (เขย) พักอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 187 หมู่ที่ 2 ตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร

ความจริงครอบครัวนี้ไม่ได้เป็นคนกำแพงเพชร แต่ได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานเพื่อยึดอาชีพเกษตรกรรมที่จังหวัดนี้เมื่อ 17 ปีที่ผ่านมา ด้วยการเริ่มต้นปลูกส้มเขียวหวาน และด้วยความเป็นเกษตรกรมืออาชีพจึงมองถึงความเสี่ยงต่อการทำส้มเพียงอย่างเดียว ดังนั้น จึงนำมะละกอพันธุ์ดำเนินมาปลูกแซม ขณะเดียวกัน ได้นำกล้วยน้ำว้ามาปลูกคู่กับมะละกอจนทำให้มีรายได้ตลอดปีอย่างต่อเนื่อง นับเป็นอีกหนึ่งครอบครัวที่ประสบความสำเร็จจากการทำสวนไม้ผลแบบผสมผสาน

คุณสุมาลี หรือ คุณไก่ เล่าว่า มีที่ดินเช่าอยู่ 2 แปลง โดยแปลงแรกมีพื้นที่จำนวนกว่า 50 ไร่ (กำลังจะหมดสัญญาสิ้นปี 2560) ส่วนแปลงใหม่มีพื้นที่จำนวนกว่า 30 ไร่ ทั้งสองแปลงปลูกพืชหลักเหมือนกันคือส้มเขียวหวาน มะละกอดิบ และกล้วยน้ำว้า ลักษณะสวนที่ปลูกเป็นแบบยกร่องขนาดกว้าง 3 วา 2 ศอก มีร่องน้ำ แต่น่าเสียดายส้มเขียวหวานเก็บผลผลิตเสร็จสิ้นไปแล้วและอยู่ระหว่างพักต้น สำหรับสวนแห่งใหม่ยังอยู่ระหว่างการดูแลบำรุงเพื่อให้มีผลผลิตได้ทันก่อนหมดสัญญาสวนแรก

คุณไก่ บอกว่า มะละกอที่ปลูกไว้ทั้งสองแห่งมีจำนวน 7,000 ต้น แต่ผลผลิตที่เก็บมีเฉพาะที่สวนแรกจำนวน 3,000 ต้น ปลูกมาแล้ว 2 รุ่น รุ่นละ 2 ปี พร้อมกับแจงรายละเอียดขั้นตอนปลูกมะละกอว่า ต้องเริ่มจากเลือกผลมะละกอที่มีลักษณะยาวเป็นกระโปรง เนื่องจากพบว่ารูปลักษณะผลดังกล่าวมีเมล็ดมาก แล้วเมื่อนำไปปลูกจะได้พันธุ์ที่มีผลยาวตามความต้องการของตลาด จากนั้นให้ผ่าออกแล้วตากลมทิ้งไว้

ให้นำเมล็ดมาแช่น้ำทิ้งไว้สัก 2 คืน นำขึ้นมาผึ่งไว้กับผ้าขาวบางห่อไว้แล้วนำไปใส่กระติกปิดฝา ให้ตากแดดไว้สัก 3-4 วัน จากนั้นจึงเปิดฝาออก เมื่อเห็นว่างอกออกมาคล้ายกับเมล็ดข้าวเปลือกจึงนำไปเพาะลงถาดหลุมเพาะที่เตรียมดินไว้ โดยใส่หลุมละ 3 เมล็ด จนแตกใบอ่อนสัก 4 ใบ จึงย้ายไปปลูกในแปลงจริง พอปลูกไว้สัก 1 เดือน จึงเริ่มใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 โดย 15 วันแรก ใส่ 1 ครั้ง แล้วอีก 30 วัน ใส่อีกรอบ จากนั้น 45 วัน จึงใส่อีก 1 ครั้ง พอครบ 2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 เพื่อเตรียมสะสมตาดอก

“ปัญหาที่เกิดจากการปลูกมะละกอคือเพลี้ยไฟที่คุกคาม จึงจำเป็นต้องมีหาฉีดพ่นยาควบคุมและป้องกันไว้ล่วงหน้าตามอัตราที่เหมาะสมและไม่เกิดอันตราย รวมถึงยังต้องใส่ปุ๋ยคอกในช่วงหน้าแล้งเพื่อป้องกันไม่ให้ใบเหลือง”

คุณไก่ บอกว่า มะละกอสวนแรกจำนวน 3,000 กว่าต้น จะเก็บผลผลิตทุก 20 วัน ได้จำนวน 50 กว่าตัน จากนั้นนำมาคัดแบ่งขนาดจำนวน 4 ขนาด ได้แก่ 2 แถว, 3 แถว, ลูกกลม และลูกเสียบ (ลักษณะผอมแหลม) ทั้งนี้ น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.2 กิโลกรัม เป็นขนาดที่ลูกค้าชอบมาก ส่วนผลรองลงมามีน้ำหนักประมาณ 8 ขีด โดยมีพ่อค้ามารับซื้อที่สวนด้วยรถ 6 ล้อบ้าง รถปิกอัพบ้าง แล้วนำไปขายส่งต่อที่ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง และที่ขอนแก่น

ส่วนราคาขายหน้าสวน คุณไก่ชี้ว่าไม่แน่นอน ราคาผันผวนตลอดแล้วแต่สภาพเศรษฐกิจและปัจจัยต่างๆ อาทิ ความต้องการ ปริมาณมะละกอในตลาด ฯลฯ อย่างตอนนี้ (เมษายน 2560) ราคารับซื้อมะละกอดิบประมาณ 2 บาท ต่อกิโลกรัม แต่เคยขายได้ราคาสูงสุดประมาณ 10 บาท ต่อกิโลกรัม แล้วยังเคยมีรายได้จากขายมะละกอดิบกว่า 5 แสนบาท (เก็บขาย 2 ครั้ง)

สำหรับกล้วยน้ำว้าซึ่งถือเป็นผลพลอยได้จากมะละกอ เนื่องจากในปีที่แล้งจัด น้ำที่ใช้จากเขื่อนภูมิพลมีปริมาณไม่พอ ทำให้ต้องระดมสูบน้ำจากบ่อมาช่วยหมดเงินเป็นแสนบาท ช่วงนั้นคุณไก่กังวลใจมากและเกรงว่ามะละกอคงต้องเสียหายอย่างมากแน่ จึงตัดสินใจนำหน่อพันธุ์กล้วยน้ำว้าจากจังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นบ้านเกิด จำนวน 450 ต้น มาปลูกแซมต้นมะละกอเตรียมไว้ก่อน

แต่โชคช่วยได้น้ำฝนชุดใหญ่เลยทำให้มะละกอกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ จากนั้นจึงเร่งบำรุงต้นมะละกออย่างเต็มที่เพื่อรักษาผลผลิตให้สมบูรณ์ จึงกลายเป็นว่าได้กล้วยเพิ่มมาด้วย แล้วยังเป็นกล้วยน้ำว้าที่มีความความสมบูรณ์ทั้งขนาดและรสชาติ

การปลูกกล้วยในสวนผสมของคุณไก่ไม่ได้ต่างจากเกษตรกรคนอื่น เพราะกล้วยใช้เวลาปลูกจนได้ผลผลิตประมาณ 6 เดือน จึงตกปลี แล้วเก็บได้เมื่ออายุ 9 เดือน แต่สิ่งที่ทำให้กล้วยในสวนของเธอมีหวีและเครือขนาดใหญ่กว่าปกติคงไม่ใช่เพราะการได้รับปุ๋ยผ่านมะละกออย่างเดียว เนื่องจากคุณไก่มีการดูแลบริหารจัดการต้นกล้วยอย่างดีด้วยการแต่งหน่อกล้วยให้เหลือเพียง 3 หน่อเท่านั้น เพื่อควบคุมไม่ให้แย่งอาหารกันจนทำให้เครือเล็ก

ดังนั้น เมื่อถึงช่วงเก็บผลผลิตได้จำนวนครั้งละ 16 เครือ น้ำหนักเกือบ 600 กิโลกรัม มีพ่อค้ามารับซื้อหน้าสวน ในราคากิโลกรัมละ 10 บาท ชั่งเป็นเครือได้น้ำหนักเครือละประมาณ 50 กิโลกรัม หรือเฉลี่ยมีราคาเครือละ 400-500 บาท โดยพ่อค้าเหล่านั้นนำกล้วยไปส่งขายที่ตลาดไทและสี่มุมเมือง

คุณปากิ๊ด กล่าวเพิ่มเติมว่า เหตุผลที่ต้องปลูกไม้ผลหลายชนิดเพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนว่า การทำเกษตรเชิงเดี่ยวมีความเสี่ยงมาก พอเกิดปัญหาขายไม่ได้ก็หมดทางแก้ไข แล้วเงินที่ต้องใช้จ่ายประจำวันก็ไม่มี ดังนั้น การทำเกษตรแบบผสมผสานเป็นวิธีใหม่ เป็นแนวคิดใหม่เพื่อเป็นการช่วยเกื้อกูลในเรื่องรายได้ของไม้ผลแต่ละชนิดที่สามารถทดแทนกัน แล้วยังไม่ต้องกังวลถ้าเกิดภัยธรรมชาติหรือปัญหาราคาตกต่ำอีกด้วย อีกทั้งยังสามารถกำหนดรายได้ทันทีหากมีการปลูกด้วยความใส่ใจและได้มาตรฐานจนทำให้ผลผลิตมีความสมบูรณ์เป็นที่ต้องการของตลาด

“ถ้าทำเกษตรต้องมีใจรักและอดทน อย่าหวังเห็นคนอื่นทำแล้วมีรายได้มากก็อยากทำบ้างโดยไม่มีความรู้หรือรู้จักพืชผลชนิดนั้นมาก่อน เพราะคนที่ประสบความสำเร็จจะต้องเผชิญกับความทุกข์ยาก ต้องผ่านปัญหา/อุปสรรคและความลำบากนานัปการกว่าจะมาถึงความสำเร็จ แล้วควรเพิ่มพูนความรู้ เทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอด เพราะภาคเกษตรกำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนแปลง” คุณปากิ๊ด กล่าวฝาก

เห็นจะเป็นจริงตามที่คุณปากิ๊ดฝาก เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไปเร็วมาก ขณะเดียวกัน ยังมีผลโดยตรงกับภาคเกษตรกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เกษตรกรควรวางแผนการเกษตรของตัวเองอย่างรอบคอบควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อความอยู่รอดของทุกคน

สอบถามรายละเอียดเพื่อสั่งซื้อมะละกอหรือกล้วยน้ำว้าได้ที่ โทรศัพท์ (083) 162-8001 หรือ (084) 521-8712 อาชีพการเลี้ยงโคนม นับเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรไทย และเป็นอาชีพที่น่าภาคภูมิใจ เนื่องจากเป็นอาชีพพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประเทศเดนมาร์ก ในปี 2503 ได้ทอดพระเนตรกิจการโคนมของเกษตรกรชาวเดนมาร์ก ทรงให้ความสนพระทัยเกี่ยวกับกิจการการเลี้ยงโคนมของชาวเดนมาร์กเป็นอย่างมาก

ด้วยทรงเล็งเห็นว่า อาชีพการเลี้ยงโคนมจะช่วยให้ชาวไทยได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่า ทั้งยังช่วยให้เกษตรกรไทยได้มีอาชีพที่มั่นคงและเป็นหลักแหล่ง ไม่ต้องบุกรุกทำไร่เลื่อนลอยอีกต่อไป และทรงมีพระราชดำรัสในคราวหนึ่งว่า “การเลี้ยงโคนมก็เป็นอาชีพที่ดีสำหรับคนไทย เหมาะกับประเทศ และถ้าใช้หลักวิชาที่เหมาะสม ก็จะทำให้มีความเจริญและมีรายได้ดี”

กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้จัดอบรมเพิ่มขีดความสามารถทายาทและยุวชนเกษตรกรโคนมในการเลี้ยงโคนม เพื่อเพิ่มผลผลิตฟาร์มโคนมที่ปฏิบัติได้และเป็นผลจริง ซึ่งร่วมกับคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อบรมความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงและดูแลโคนมให้มีคุณภาพ โดยดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ปี รวม 7 รุ่น

นอกจากนี้ ยังเชิญชวนให้ขบวนการสหกรณ์โคนมร่วมใจน้อมเกล้าฯ ถวายโคสาว 89 ตัว แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี และด้วยพระมหากรุณาธิคุณฯ พระองค์ได้พระราชทานโคสาว ทั้ง 89 ตัว ให้กับเยาวชนบุตรหลานของสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรโคนม 89 ราย นำไปเลี้ยงต่อ