CHEMICAL

นฤบดินทรจินดา อ่างเก็บน้ำพระราชา ชุบชีวิตชาวปราจีน“…ควรพิจารณาสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำห้วยโสมง ทำเลที่สร้างเขื่อน พิกัด 48 PSA 806-585 แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ระวาง 5437 III โดยด่วน ทั้งนี้ควรพิจารณาเก็บกักน้ำอย่างเต็มที่เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรสองฝั่งห้วยโสมงในเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง และมีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคตลอดปี…”

คือส่วนหนึ่งจากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานแนวทางการแก้ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้กรมชลประทานนำไปดำเนินการ จนเกิดเป็นโครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรืออ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา ในปัจจุบัน อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา มีชื่อเดิมว่า โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในเขต “อุทยานแห่งชาติทับลาน” และ “อุทยานแห่งชาติปางสีดา” เป็นอ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ย้อนไปเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการนี้เป็นครั้งแรก โดยให้กรมชลประทานไปพิจารณาวางโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำ 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนห้วยพระปรง เขื่อนห้วยยาง และเขื่อนห้วยโสมง เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวเนื่องจากน้ำท่วมและภัยแล้ง รวมถึงเป็นแหล่งน้ำให้ราษฎรไว้ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งปี และต่อมาทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการนี้อีกรวมแล้ว 6 ครั้ง

การพัฒนาโครงการห้วยโสมงไม่สามารถทำได้ง่ายนัก เนื่องจากกรมชลประทานขาดงบประมาณดำเนินการ จนกระทั่งวันที่ 19 กันยายน 2532 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการศึกษา สำรวจ ออกแบบ กรมชลประทานจึงได้จัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้วเสร็จในปี 2538 และเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นเพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้เกิดความครบถ้วนสมบูรณ์

กรมชลประทานได้ดำเนินการปรับปรุง รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จและจัดส่งรายงานให้สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกครั้งในปี 2546 แต่ในปี 2548 การดำเนินการต้องล่าช้า เนื่องจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ก่อสร้างโครงการห้วยโสมงฯ

ได้รับการประกาศเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ กรมชลประทานจึงต้องจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่ โดยผนวกการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2552
วันที่ 23 ตุลาคม 2552 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติอนุมัติให้กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างโครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างเป็นทางการ โดยกำหนดระยะเวลาก่อสร้างตั้งแต่ปี 2553-2561 รวม 9 ปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 8,300 ล้านบาท

เมื่อก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ กรมชลประทานได้ขอพระราชทานชื่ออ่างเก็บน้ำแห่งนี้ จากนั้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อว่า “อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา” มีความหมายว่า “อ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” นับเป็นเขื่อน/อ่างเก็บน้ำ

แห่งสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และเป็นเขื่อน/อ่างเก็บน้ำแห่งแรกที่เปิดในรัชสมัยของรัชกาลที่ 10 ซึ่งมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2560

อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1.อ่างเก็บน้ำ เป็นเขื่อนดินสูง 32.75 เมตร กว้าง 9 เมตร ยาว 3,967.51 เมตร ความจุ 295 ล้านลูกบาศก์เมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2559 และกักเก็บน้ำมาแล้ว 1 ปี

2.ระบบชลประทาน สามารถส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานรวม 111,300 ไร่ ประกอบด้วย ระบบชลประทานฝั่งซ้ายความยาว 186 กิโลเมตร ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทาน 94,800 ไร่ เขตตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี ตำบลต่อทอง ตำบลเมืองเก่า และเทศบาลตำบลกบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี ระบบชลประทานฝั่งขวาความยาว 34 กิโลเมตร ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทาน 16,500 ไร่ ในเขตตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี ปัจจุบันอยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2563

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ช่วยราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า สิ่งที่ถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างใหญ่หลวงของกรมชลประทาน ในการสนองพระราชดำริดำเนินโครงการนี้คือ ที่ผ่านมาแม้ในขณะที่งานก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดาก็สามารถเริ่มทำการกักเก็บน้ำได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2559 โดยมีปริมาณน้ำในอ่างเมื่อสิ้นสุดฤดูฝน พ.ศ. 2559 จำนวน 242.384 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 82.16 ของความจุเก็บกัก ทำให้ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นที่อำเภอกบินทร์บุรี และไม่เกิดน้ำท่วมดังเช่นทุกปีที่ผ่านมา

“นอกจากการป้องกันน้ำท่วมแล้ว ในฤดูแล้งที่ผ่านมา สมัคร Royal Online อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดาช่วยระบายน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศและผลักดันน้ำเค็มในแม่น้ำปราจีนบุรี ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 จนถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2560 ได้ระบายน้ำรวม 195.88 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้ไม่เกิดปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำเข้ามาในแม่น้ำปราจีนบุรี เหมือนดังเช่นทุกปีที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน”

นอกจากความสำเร็จในการบำบัดความเดือดร้อนของประชาชนแล้ว โครงการฯยังประสบความสำเร็จในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย ในกระบวนการพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา

มีแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม 47 แผนงาน ระยะเวลาดำเนินการ 15 ปี

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2569 ซึ่งผลการดำเนินงานตามแผนงาน ส่งผลให้ในการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อติดตามสถานภาพการอนุรักษ์พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ชื่นชมผลการดำเนินงานของประเทศไทยด้วย เป็นเครื่องยืนยันถึงความเอาใจใส่ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสนองพระราชดำริการพัฒนาอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา

ก่อนหน้านี้ ประชาชนในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีต้องเผชิญความทุกข์ยากเนื่องจากปัญหาเรื่องน้ำ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเค็มรุกล้ำ และน้ำเน่าเสีย

เมื่อมีโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดาเกิดขึ้นมา ปัญหาเหล่านั้นจึงคลี่คลายไป เห็นได้จากไม่มีปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เหมือนที่เคยท่วม

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวปราจีนบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง

ดังที่ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ช่วยราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ถือได้ว่าเป็นมรดกสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานไว้ให้พสกนิกรไทยทุกคน

เมื่อเวลา 00.30 น.วันที่ 6 ธันวาคม ที่ จ.สุราษฎร์ธานี หลังฝนตกต่อเนื่องตลอดทั้งวัน ได้มีน้ำป่าจากเทือกเขาฝั่งทิศตะวันออก อ.กาญจนดิษฐ์ และเขตรอยต่อ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ได้ไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ลุ่มของ อ.ดอนสัก หลายหมู่บ้านอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย หมู่ 1 – 2 , 4- 6 , 8 -10 , 12 – 14 ต.ดอนสัก , หมู่ 1- 5 ต.ไชยคราม และหมู่ 1- 6 ต.ชัยคราม รวม 33 หมู่บ้าน โดยกำลังทหารมณฑลทหารบกที่ 45 ค่ายวิภาวดีรังสิต อ.เมืองสุราษฎร์ธานี กว่า 20 นาย เข้าช่วยอพยพประชาชนบ้านนาเหนือ หมู่ 1 ต.ดอนสัก จำนวน 14 ครอบครัว 56 คนพร้อมขนย้ายสิ่งของไปพักอาศัยที่จุดอพยพชั่วคราวที่วัดนาตาดี ซึ่งนายเจริญ เปลี่ยวจิต นายอำเภอดอนสัก ได้จัดเตรียมที่พักภายในวัดไว้รองรับ และอพยพประชาชนหมู่ที่ 3 , 14 ต.ปากแพรก จำนวน 2 ครอบครัว รวม 8 คน ไปอยู่ที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน

นายสานนท์ อยู่สถิตย์ อายุ 34 ปี อยู่บ้านเลขที่ 29 หมู่ 1 ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก กล่าวว่า ครอบครัวอาศัยอยู่กัน 4 คน น้ำได้ไหลมาอย่างรวดเร็วพัดบ้านพังเสียหายก่อนย้ายออกมายังจุดอพยพชั่วคราว

ด้านนางสมบุญ นิยะกิจอายุ 86 ปี บ้านเลขที่ 37 / 1 บ้านนาเหนือ หมู่ 1 ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก ซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเตียง กล่าวว่า ที่บ้านไม่เคยมีน้ำป่าไหลเข้าท่วมสูงเท่ากับครั้งนี้ ซึ่งได้มีหน่วยงานทหารเข้ามาช่วยเหลือย้ายออกจากบ้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น้ำป่าได้ไหลเข้าท่วมถนนทางหลวงหมายเลข 4142 บ้านใน-ดอนสัก ตอนบ้านใน-บ้านโฉ ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 7+200 – 8+000 ต.ปากแพรก อ.ดอนสัก ด้านซ้ายถนนมีระดับน้ำสูง 10-15 เซนติเมตรและด้านขวาถนน ระดับน้ำสูง 20-30 เซนติเมตร รถเล็กผ่านไม่ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่แขวงการทางสุราษฎร์ธานีที่2 (กาญจนดิษฐ์) ได้นำป้ายไปติดตั้งเตือนไว้แล้ว

นอกจากนี้ ทหารกองร้อย 25 พัน 3 ค่ายวิภาวดีรังสิต อ.เมืองสุราษฎร์ธานี นำรถบรรทุกทหารเข้าช่วยลำเลียงขนย้ายสิ่งของประชาชนในพื้นที่หมู่ 5 ต.พ่วงพรมคร อ.เคียนซา ขึ้นไปไว้ในพื้นที่สูง หลังมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนจำนวน 30 ครัวเรือน ระดับน้ำสูง 30 – 50 เซนติเมตร และคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำในพื้นที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำตาปีล้นตลิ่ง

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม น.ส.พะเยาว์ เมืองงาม ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จ.สงขลา เปิดเผยว่าบริเวณ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และจ.นราธิวาส มีฝนตกต่อเนื่องและฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ จากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง

น.ส.พะเยาว์ กล่าวต่อว่า ประกอบกับมีแนวลมพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงเหนือกับลมตะวันออกเฉียงใต้บริเวณภาคใต้ตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และ จ.นราธิวาส ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ปริมาณน้ำฝนสะสม น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย

“อ่าวไทยคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย”น.ส.พะเยาว์กล่าว
นายวินัย ศรีสุวรรณโณ อดีต ส.อบจ.สงขลา เขตสทิงพระ กล่าวว่า อ.สทิงพระ มีพื้นที่ที่ประสบภัยหนัก 3 ตำบล คือ ต.ท่าหิน คูขุด และ ต.คลองรี ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเลสาบสงขลา ทำให้สัตว์เลี้ยงกำลังประสบปัญหาขาดแคลนอาหารแห้งอย่างมาก ราคาแพงขึ้นสองสามเท่า ขอให้ปศุสัตว์ส่งอาหารมาช่วยเหลือด่วน

รายงานข่าวจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา ถึงสถานการณ์น้ำที่ท่วมในจังหวัดสงขลาว่า ขณะนี้สถานการณ์ดีขึ้นจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ เหลือเพียง 5 อำเภอริมทะเลสาบสงขลา ได้แก่ ควนเนียง สิงหนคร สทิงพระ กระแสสินธุ์และระโนด ที่มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากประสบปัญหาน้ำทะเลหนุน ทำให้ประชาชนกว่า 120,000 ยังคงเดือดร้อน โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ที่ลุ่มริมทะเลสาบสงขลา น้ำยังท่วมบ้านเรือนสูง 2-3 เมตร ต้องอพยพมาอาศัยอยู่บ้านญาติและวัด โดยสถานการณ์น้ำท่วมริมทะเลสาบสงขลานั้นเกิดขึ้นต่อเนื่องนานกว่า 1 สัปดาห์ ทำให้น้ำเริ่มเน่าเสีย พืชผลทางการเกษตร ทั้งนาข้าว ปาล์ม ไม้ผล ต้องจมอยู่ใต้น้ำ คาดว่าจะได้รับความเสียหายทั้งหมดไม่น้อยกว่า 100,000 ไร่ เกษตรกรประสบปัญหาขาดทุนซ้ำ เนื่องจากเพิ่งลงทุนหว่านเมล็ดพันธุ์ และบางรายเพิ่งหว่านปุ๋ยในนาข้าว ซึ่งเกษตรกรต้องการให้ภาครัฐเร่งให้ความช่วยเหลือ

รายงานข่าวระบุอีกว่า ขณะนี้มี น้ำท่วมใน 16 อำเภอ 126 ตำบล 932 หมู่บ้าน 68 ชุมชน 75,026 ครัวเรือน 205,897 คน เสียชีวิต 7 คน อพยพ 96 ครัวเรือน 548 คน รายงานข่าวจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จังหวัดสงขลา รายงานสภาพอากาศวันที่ 6 ธันวาคม คาดว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับมีแนวลมพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงเหนือกับลมตะวันออกเฉียงใต้บริเวณภาคใต้ตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ปริมาณน้ำฝนสะสม น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย ส่วนอ่าวไทยคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง และประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

การยางแห่งประเทศไทย กยท. เปิดรับสมัครบุคคลทั้งภายนอก/ภายใน เพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งผู้จัดการและรองผู้จัดการหน่วยธุรกิจ (Business Unit) มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์การบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อเดินหน้าธุรกิจยางพาราเต็มสูบ สร้างรายได้อย่างเต็มตัว ผู้สนใจยื่นใบสมัครได้ ถึง 15 ธ.ค. นี้

นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านบริหาร เผยว่า กยท. ประกาศเปิดรับสมัครบุคคลทั้งภายนอกและภายในที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ เพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งผู้จัดการหน่วยธุรกิจ รองผู้จัดการหน่วยธุรกิจ รวมไปถึง หัวหน้าแผนกจัดซื้อ และหัวหน้าแผนกการเงินและบัญชี รวม 4 อัตรา เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับยางพารา เป็นไปตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ในฐานะรัฐวิสาหกิจที่สามารถประกอบธุรกิจ เพื่อสร้างรายได้และผลประกอบการให้กับองค์กร

ซึ่งคุณสมบัติของผู้เข้ารับการคัดเลือกในตำแหน่ง ผู้จัดการ/รองผู้จัดการหน่วยธุรกิจ คือ ต้องมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์การบริหารจัดการด้านธุรกิจเป็นอย่างดี มีวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจการค้าและบริการ การลงทุนและการตลาด ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ สามารถกำหนดทิศทางและเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมการเกษตร ตลาดยางพารา ตลาดสินค้าเกษตร ไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ผลได้อย่างเหมาะสม

นายสุนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 7 (หัวหน้าแผนกจัดซื้อ) และนักวิชาการเงินและบัญชี 7 (หัวหน้าแผนกการเงินและบัญชี) หากเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในการยางแห่งประเทศไทย ต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่า ในกรณีที่เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารหน่วยงานภาคเอกชน ต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับหัวหน้างาน ในหน่วยงานที่มีงบดุลไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งและต้องมีหนังสือรับรองจากต้นสังกัด พร้อมแนบรายงานประจำปีในขณะดำรงตำแหน่งมาแสดงด้วย

ผู้ที่สนใจสามารถยื่นใบสมัครได้ถึง 15 ธันวาคม 2560 และดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.raot.co.th โดยยื่นใบสมัครได้ด้วยตนเองหรือจัดส่งทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ ถึงฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ การยางแห่งประเทศไทย 67/25 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-433-2222 ต่อ 147-148 ในวันและเวลาราชการ

“การดำเนินธุรกิจของ กยท. ในฐานะรัฐวิสาหกิจน้องใหม่ เป็นเรื่องที่ท้าทาย ทั้งความรู้ ความสามารถ และนำประสบการณ์มาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้มีมูลค่าเพิ่มในรูปแบบต่างๆ นอกจากการสร้างรายได้แล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างกลุ่มธุรกิจยาง ที่จะมีประโยชน์ในภาพรวมของวงการยางพาราของไทย ดังนั้น บุคคลที่จะเข้ามาบริหารธุรกิจ ต้องเข้าใจในยางพารา และพร้อมนำพา กยท.และยางไทยสู่ตลาดโลก” นายสุนันท์ กล่าวปิดท้าย

ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ย่างไข่กับต้นกล้วย ทำง่าย ไม่ยุ่งยาก ได้”ไข่ย่าง”กินร้อนๆ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ว่า อุณหภูมิลดลอย่างต่อเนื่องมาหลายวัน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวขึ้นเขาไปสัมผัสอากาศหนาว ในพื้นที่ อ.ปากช่อง และ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมากันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะที่ผาเก็บตะวัน บนอุทยานแห่งชาติทับลาน ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา มีนักท่องเที่ยวขึ้นไปกางเต๊นท์นอนเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะตื่นมาสัมผัสอากาศหนาวเย็นในช่วงเช้ากันอย่างคึกคัก

อีกทั้งบริเวณจุดชมวิว ซึ่งตั้งอยู่บนหน้าผาสูงชัน สามารถมองเห็นบรรยากาศของเทือกเขาที่ทอดยาวของอุทยานแห่งชาติทับลานในมุมกว้างได้ ทำให้มีนักท่องเที่ยวพากันถ่ายรูปเซลฟี่กันอย่างเนืองแน่นตลอดทั้งวัน

ทั้งนี้สำหรับผาเก็บตะวัน ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ห่างจากถนนสาย 304 กบินทร์บุรี-ปักธงชัย ประมาณ 12 กิโลเมตร เข้าไปตามทางหมู่บ้านไทยสามัคคี ถือว่าเป็นจุดชมวิวที่สวยงามแห่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติทับลาน โดยเฉพาะเมื่อมีต้นลานออกดอกพร้อมกันเป็นจำนวนมาก

คนทำธุรกิจในยุคนี้ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ไม่น้อยในการปรับเปลี่ยนการทำธุรกิจของตน เพื่อให้สอดรับกับยุคสมัยที่ต้องถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของโลก จากยุคอนาล็อกไปสู่ยุคดิจิตอล และจากดิจิตอล ต่อยอดเป็นการนำอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ในวงกว้างอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ในเมื่อทุกอย่างเปลี่ยนแพลตฟอร์มมารันกันบนอินเตอร์เน็ต การทำธุรกิจจึงเปลี่ยนรูปแบบจากหน้ามือเป็นหลังมือ สินค้าและบริการที่เคยมีในอดีต ถ้าไม่ตายจากไป ก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนยุคใหม่ คนที่มีอายุมากและเคยผ่านโลกในยุค 30-40 ปีก่อน จะพบว่าโลกใบนี้ไม่ใช่โลกใบเดิมที่ตนเองเคยอยู่ คำกล่าวที่ว่า “ผู้ที่จะอยู่รอดได้ไม่ใช่ผู้ที่ฉลาดที่สุด แต่เป็นผู้ที่มีความพร้อมในการปรับตัวมากที่สุด” กลายเป็นสัจจะแห่งยุคสมัยที่ทุกคนไม่อาจมองข้าม ใครที่คิดจะทำธุรกิจต้องคิดโมเดลการทำธุรกิจให้ดี หาข้อมูลสนับสนุนให้ชัดเจนว่า คนสมัยนี้เขามีพฤติกรรมอย่างไร ทำธุรกิจอะไรแล้วจะรุ่งหรือจะร่วง สินค้าที่ไม่เคยมีคนคิดว่าจะขายได้ หรือสินค้าที่เคยขายดีกลับกลายเป็นขายไม่ได้ ในด้านกลับ สินค้าย้อนยุคบางอย่างกลับกลายเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องการและขายได้ แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนของพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ เป็นต้น

ปกติแล้วการเริ่มต้นธุรกิจจะมีการระดมทุนจากผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นบุคคลในแวดวงคนใกล้ชิดที่รู้จักกันเป็นอย่างดี แต่ในยุคนี้ รูปแบบการระดมทุนมีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก เราจะพบเห็นกลุ่มทุนที่มีเงินสดส่วนเกินในมือแสวงหาธุรกิจที่มีอนาคต แล้วใช้วิธีเข้าร่วมทุน หรือเข้าซื้อกิจการ มีการเกิดขึ้นของ VENTURE CAPITAL ที่เป็นลักษณะกองทุนที่เข้าไปลงทุนในกิจการที่น่าสนใจ ในรูปลักษณะที่เข้าไปลงเงิน รอเก็บเกี่ยวผลตอบแทน มากกว่าจะเข้าไปบริหาร

ในต่างประเทศมีการระดมทุนเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ โดยเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีเงินทุน แต่มีไอเดียหรือมีนวัตกรรม จะสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์แล้วนำเสนอผ่านเว็บไซต์ เช่น kickstarter.com ใครที่เข้ามาดูการนำเสนอแล้วสนใจผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะร่วมลงขัน เพื่อให้เจ้าของผลิตภัณฑ์นำเงินที่ได้ไปผลิตสินค้านั้นมาเพื่อส่งมอบแก่ผู้สนับสนุนในลักษณะที่ได้ซื้อในราคาที่ถูกกว่าราคาที่จะเสนอขายในอนาคต หรือได้สิทธิเป็นคนกลุ่มแรกที่จะได้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นก่อนใครๆ

จะเห็นว่า รูปแบบการระดมทุนในโลกยุคนี้ ฉีกแนวออกไปจากเดิม มีสิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะเป็นไปได้เกิดขึ้นมากมาย การระดมทุนของตูนบอดี้แสลมเพื่อส่งมอบแก่โรงพยาบาลในวงเงินหลายร้อยล้านบาท ก็เป็นตัวอย่างการระดมทุนในวิธีการที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีต ที่ช่วยให้เรามองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า โลกยุคนี้ ไอเดียในการนำเสนอแนวคิดมีความสำคัญและสร้างสรรค์วิธีการและรูปแบบใหม่ๆ ออกมาได้อย่างไม่มีข้อจำกัด

เปลี่ยน PROCESS การทำงาน

ไม่เฉพาะจุดเริ่มต้นการทำธุรกิจที่เปลี่ยนไป เมื่อเริ่มต้นเดินหน้าทำธุรกิจแล้ว เราจะพบว่า Process การทำงาน การทำรายการธุรกิจ การควบคุมดูแลสินทรัพย์ ก็เปลี่ยนแปลงไป ทุกวันนี้ เรายื่นภาษีผ่านอินเตอร์เน็ตพร้อมชำระเงินภาษีผ่านระบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำรายการจ่ายซัพพลายเออร์ผ่านระบบ Business Net ของธนาคารที่บริษัทสามารถทำรายการจ่ายโดย upload ข้อมูลรายชื่อผู้รับเงินและจำนวนเงินที่จะทำจ่ายขึ้นบนระบบ จ่ายเงินบนเว็บไซต์ของธนาคาร รอผู้อนุมัติมาตรวจสอบและทำรายการอนุมัติ

โดยไม่ต้องใช้สมุดเช็คเหมือนแต่ก่อน ทุกวันนี้มีบริษัทจำนวนมากเลิกใช้สมุดเช็คไปหมดแล้ว ในอนาคตอันใกล้นี้ กิจการสามารถใช้ระบบ e-Tax Invoice ที่เมื่อขายสินค้าและบริการแก่ลูกค้าแล้ว ส่งข้อมูลในรูปของไฟล์ข้อมูล (ที่ไม่ใช่เอกสาร) แต่เป็นไฟล์ XML หรือ CSV ที่นำข้อมูลมาเรียงเป็น Table ตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด (ซึ่งใช้โปรแกรมในการแปลงข้อมูลในระบบขายของเราและจัดข้อมูลให้โดยเราไม่ต้องมาพิมพ์เองหรือพิมพ์ใหม่) การนำส่งข้อมูลที่ว่านี้เท่ากับเป็นการนำส่งใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์พร้อมๆ กับการจ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ในลักษณะรายการต่อรายการ ไม่ใช่รวบรวมรายการทั้งเดือนแล้วนำส่งครั้งเดียวเหมือนในปัจจุบัน

หรือกิจการร้านอาหารในทุกวันนี้ที่เริ่มใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเป็นเครื่องบันทึกออเดอร์ของลูกค้า และบันทึกยอดขาย และสามารถถ่ายโอนข้อมูลไปยังโปรแกรมบัญชีที่รองรับการใช้งานจากแอปพลิเคชั่นดังกล่าวเพื่อตัดสต๊อก บันทึกบัญชีต้นทุนขาย

เปลี่ยนโครงสร้างองค์กรและทีมงาน

ผลสืบเนื่องจากรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป และตัวช่วยในเครื่องไม้เครื่องมือพวกโปรแกรม แอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน และสิ่งที่เรียกว่า AI (Artificial Intelligence) ทำให้การใช้แรงงานคนมีการเปลี่ยนแปลงไป โครงสร้างของบุคลากรในองค์กร ทีมงาน และการจัดการด้านบุคคลก็เปลี่ยนไป นักบัญชีที่เดิมเน้นการเป็นคนบันทึกรายการ หรือ data entry ในปัจจุบันระบบ ERP ทำให้การบันทึกรายการทำมาจากต้นทาง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ทำรายการสั่งซื้อ หรือผู้ทำรายการขาย ทำให้ไม่ต้องบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อนอีกรอบหนึ่ง นักบัญชีจึงต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นคนตรวจสอบรายการ และวิเคราะห์ข้อมูลมากขึ้น ขอบเขตการทำงานของนักบัญชีจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนไป และมีลักษณะที่ฝ่ายบัญชีจะมีขนาดเล็กลงจากเดิม และมีบทบาทเปลี่ยนแปลงไปคือ บัญชีจะเข้ามาช่วยสนับสนุนการทำธุรกิจมากขึ้นกว่าเดิม

เปลี่ยนแนวคิดการทำธุรกิจไม่ใช่เพื่อหวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว

กิจการที่ขายสินค้าโดยเน้นสร้างกำไรสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น กลายเป็นเรื่องเชย พ้นสมัย ไร้รสนิยม และไม่เป็นที่ยอมรับของคนในสังคมอีกต่อไป กิจการที่ไม่ระมัดระวังในเรื่องผลกระทบต่อสังคมจะถูกแบนหรือต่อต้านจากกลุ่มคนในสังคม การทำซีเอสอาร์ที่เน้นสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กรเป็นเรื่องที่ไม่ดีพอสำหรับความคาดหวังจากคนในสังคม กิจการจึงต้องสร้างองค์กรที่มีแนวการทำธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงเปลือกนอกเท่านั้น

ตัวอย่างโครงการของกิจการต่อสังคม เช่น ร้านหนังสือชั้นนำอย่างซีเอ็ด ออกโครงการรับพนักงานที่เป็นกลุ่มคนสูงอายุ “Active Senior” มาทำงานแบบเต็มเวลา ซึ่งสอดคล้องกับสภาพสังคมที่มีคนสูงอายุเพิ่มมากขึ้น คนกลุ่มนี้ที่ยังมีกำลังวังชาและความกระตือรือร้นในการทำงานอยู่ ยังสามารถหางานทำเลี้ยงตัวได้ ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยมาอุดช่องว่างที่บริษัทหาคนอายุน้อยมาร่วมงานได้ยากขึ้นหรือเป็นพนักงานประเภทมาเร็วไปเร็ว แต่คนสูงอายุมีแนวโน้มที่มีความสม่ำเสมอ ไม่เข้าออกจากงานง่าย ในลักษณะเดียวกับภาพยนต์เรื่อง The Intern ที่สะท้อนถึงสังคมอเมริกันที่รับคนเกษียณอายุกลับมาทำงาน โดยมีเจ้าของกิจการหรือหัวหน้างานเป็นคนหนุ่มสาวที่อายุน้อยกว่า ช่องว่างระหว่างวัยอาจเติมเต็มโดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ มุมมอง และความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

การเปลี่ยนแปลงในโลกนี้เป็นสิ่งปกติ หลายเรื่องเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นวงจรคือ วนกลับมาที่เดิม หลายเรื่องก็คงผันเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยี ความพร้อมในการปรับตัวจึงเป็นทักษะสำคัญในโลกทุกวันนี้ที่จะช่วยให้เรารักษาธุรกิจไว้ได้และเดินหน้าปรับเปลี่ยนก่อนที่สภาพแวดล้อมจะบังคับให้เราต้องเปลี่ยนซึ่งบางครั้งไม่ทันต่อเหตุการณ์เสียแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 6 ธันวาคม มีแกนนำและตัวแทนชาวสวนยางจากสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ และสภาเครือข่ายเกษตรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สคยท.) รวมจำนวนกว่า 30 คน เข้าพบเพื่อร่วมประชุมและยื่นข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปยางพาราไทยทั้งระบบ แก่นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สศก. แจงผลประเมิน ศพก. ปี 60 เจาะพื้นที่ 27 จังหวัดทั่วประเทศ เผย เกษตรกรตอบรับเป็นอย่างดี กว่าร้อยละ 90 นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้ผลจริง สามารถลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีได้เฉลี่ยไร่ละ 722 บาท/ปี ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้เฉลี่ย 894 บาท/เดือน ช่วยกระตุ้นเกษตรกรเกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการประเมินโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ปีงบประมาณ 2560 โดยสำรวจลงพื้นที่สำรวจเกษตรกรต้นแบบ เกษตรกรที่เข้ารับการอบรมจาก ศพก. และเกษตรกรเจ้าของศูนย์เครือข่าย ศพก. ในพื้นที่ 27 จังหวัด รวม 854 ราย พบว่า

ศพก. เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีสำหรับเกษตรกร อย่างรอบด้าน เช่น การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การปรับปรุงบำรุงดิน รวมถึงการแปรรูปผลผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน และเป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกร เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรที่เข้ารับบริการมีอายุเฉลี่ย 53 ปี ประสบการณ์ในการทำเกษตรเฉลี่ย 28 ปี โดยเกษตรกรร้อยละ 95 นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต การปรับปรุงบำรุงดิน การใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี