Smile Bull Club เนื้อวัวการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบตามตลาด

Smile Bull Club จะมีอนุกรรมการ 3 คณะ คือด้านการตลาด ด้านการแปรรูป และด้านการผลิต ต้องวางระบบให้เกิดความยั่งยืน โดยการผลิตจะเข้าสู่เกษตรพันธสัญญา การพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพมีความสมดุลระหว่างตลาดกับผลผลิต มีการสร้างเอกลักษณ์ในผลผลิต การแปรรูปจะต้องลดต้นทุนเพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ การตลาดจะแสวงหาตลาดเพิ่มขึ้น จะต้องเพิ่มตลาดส่งออกผลสด มีการพัฒนาระบบการขนส่งในการส่งออกโดยเฉพาะตลาดจีน และที่สำคัญคือจะต้องมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายสับปะรดแห่งชาติเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์โดยเร็ว

ผลการประชุมหารือกันในครั้งนี้ สภาเกษตรกรแห่งชาติจะได้สรุปผลเสนอต่อภาครัฐ โดยเรื่องสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันคือการเข้าสู่ระบบเกษตรพันธสัญญาที่แต่ละโรงงานจะมีหลักประกันด้านวัตถุดิบเพื่อเข้าสู่การผลิต เกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตให้ผลผลิตไม่ผันแปรจากความต้องการ นอกจากนั้นคือการตลาดที่ภาครัฐต้องรีบผลักดันให้เกิดตลาดใหม่

ศิลปะ ถือเป็นภาษาสากลที่สร้างความสุนทรีย์และเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญที่เข้าถึงจิตใจของมนุษย์ได้ดีที่สุดอย่างหนึ่ง แต่กว่าศิลปินรุ่นใหม่สักคนจะได้รับการยอมรับไม่ใช่เรื่องง่าย “มูลนิธิเอสซีจี” จึงจัดโครงการ “รางวัลยุวศิลปินไทย” หรือ “Young Thai Artist Award” เวทีการประกวดศิลปะระดับเยาวชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มาตั้งแต่ปี 2547 หวังเป็นอีกหนึ่งพื้นที่สำคัญที่เปิดโอกาสให้เยาวชนผู้รักงานศิลป์จากทั่วประเทศ ได้ส่งผลงานสร้างสรรค์เข้าประชันเชิงชั้นด้านศิลปะ ถือได้ว่าเป็นเวทีที่สร้างศิลปินเลือดใหม่ในการรังสรรรค์ผลงานศิลปะเพื่อจรรโลงสังคม ซึ่งการันตีด้วยการจัดการประกวดอย่างมีคุณภาพและได้รับการยอมรับอย่างต่อเนื่องมากว่าหนึ่งทศวรรษ

“เชื่อมั่นในคุณค่าของคน คืออุดมการณ์ที่มูลนิธิเอสซีจียึดถือมาโดยตลอด มูลนิธิฯ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากร ‘คน’ โดยเน้นที่เด็กและเยาวชน ไม่เพียงเท่านี้ มูลนิธิฯ ยังตระหนักเสมอมาว่าเยาวชนแต่ละคนนั้นมีความสามารถที่แตกต่างกัน ควรได้รับการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างเต็มกำลัง เช่นเดียวกับความสามารถด้านศิลปะ จึงได้ริเริ่มโครงการ “รางวัลยุวศิลปินไทย” เพื่อให้เวทีแห่งนี้เป็นโอกาสสานฝันให้เยาวชนผู้รักงานศิลป์จากทั่วประเทศได้ส่งผลงานด้านศิลปะเข้าร่วมประกวดถึง 6 สาขาได้แก่ สาขาศิลปะ 2 มิติ ศิลปะ 3 มิติ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วรรณกรรม และการประพันธ์ดนตรี ถือเป็นเวทีเจียระไนเพชรน้ำงาม สร้างศิลปินรุ่นเยาว์ให้เติบโตบนเส้นทางศิลปะ และเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพวงการศิลปะไทยให้ก้าวไปสู่การยอมรับในระดับสากล” สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าว

ตลอดระยะกว่า 12 ปี เวทีแห่งนี้ได้จุดประกายสานฝันสร้างศิลปินรุ่นเยาว์ให้เติบโตบนเส้นทางศิลปะสู่การเป็นศิลปินอาชีพ เปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามที่ได้รับการเจียระไนจนเปล่งประกายเจิดจรัสในแวดวงศิลปะ ซึ่งไม่ใช่แค่เวทีในเมืองไทย แต่พวกเขายังก้าวไกลไปเป็นศิลปินในเวทีโลกมากมายอย่าง ส้ม- ปุญญิศา ศิลปรัศมี ศิลปินสาวเลือดใหม่ที่ได้รับเลือกเป็นศิลปินพำนักที่ Fukuoka Asian Art Museum ประเทศญี่ปุ่น ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการเป็นยุวศิลปินและบอกเล่าความสำเร็จจากเวทีนี้ว่า “เริ่มสนใจศิลปะตั้งแต่ช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย รู้สึกว่าการวาดรูปเป็นเรื่องจริงจังมากกว่าการวาดเล่น พอเข้ามหาวิทยาลัยจึงเลือกเรียนสาขาวิชาประติมากรรม ทำให้ค้นพบความสามารถของตนเองที่ถูกซ่อนไว้ จึงตัดสินใจมองหาเวทีประกวดด้านศิลปะที่จะพิสูจน์ความสามารถของตนเอง”

โครงการรางวัลยุวศิลปินไทยเป็นเวทีแรกที่ส้มสนใจ เพราะมีความหลากหลายของสาขา อีกทั้งผลงานที่ร่วมประกวดยังส่งมาจากทั่วประเทศ และเป็นคนในวัยเดียวกัน ซึ่งส้มก็สามารถคว้า “รางวัลยอดเยี่ยม สาขาศิลปะ 3 มิติ ประจำปี 2557” มาได้ สร้างความภาคภูมิใจให้กับตนเองเป็นอย่างมากที่ได้รับรางวัลจากเวทีที่ใฝ่ฝันมาตลอด นอกจากเงินรางวัลที่ช่วยให้ส้มมีทุนทำผลงานศิลปะต่อแล้ว โครงการฯ ยังพาไปทัศนศึกษาชมผลงานศิลปะระดับโลกที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ พร้อมกับเพื่อนๆ และคณาจารย์ จึงเป็นทริปที่ได้ทั้งความรู้ ประสบการณ์ และมิตรภาพ นอกจากนี้ ส้มยังมีประสบการณ์การไปแสดงผลงานที่ต่างประเทศ ทั้งที่สหรัฐอเมริกาหนึ่งครั้ง และที่ญี่ปุ่นสองครั้ง ล่าสุดส้มได้รับเกียรติไปเป็นศิลปินพำนักที่ Fukuoka Asian Art Museum โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเอสซีจีในเรื่องการเดินทาง

“การไปครั้งนี้ไม่ใช่แค่ทำงานเพื่อแสดงอย่างเดียว แต่เราต้องทำเวิร์คช็อปร่วมกับคนญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีในการได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านศิลปะในเวทีสากลเพื่อนำกลับมาพัฒนาวงการศิลปะบ้านเราได้เป็นอย่างดี” ปุญญิศา กล่าวด้วยความภาคภูมิใจ

ด้าน ม้า-ภูริธิป สุริยภัทรพันธ์ ศิลปินหนุ่มหน้าใหม่ที่ได้รับทุนในการเป็นศิลปินพำนักที่ The Lithography workshop STEINDRUCK MUNICH : Münchner Künstlerhaus ประเทศเยอรมนี ได้เล่าถึงประสบการณ์การทำงานศิลปะและการร่วมประกวดในเวทีนี้ว่า “ตั้งแต่จำความได้ผมก็คลุกคลีกับการวาดรูป ชอบวาดรูปอยู่เสมอ ผมคิดว่าศิลปะนี่แหละเป็นสิ่งที่ผมชอบและน่าจะทำได้ดีที่สุด แล้วผมก็เริ่มทดลองเรียนศิลปะในแขนงต่างๆ สุดท้ายจึงเลือกเรียนในสาย Fine Art ที่เข้ากับตัวเองมากที่สุด สำหรับเวทีการประกวดก็เช่นกัน ผมเลือกจะพิสูจน์ฝีมือตนเองกับโครงการ “รางวัลยุวศิลปินไทย” เวทีที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนศิลปะที่เพิ่งเริ่มต้นอย่างผมในตอนนั้น เพราะเป็นพื้นที่ที่สามารถแสดงออกถึงผลงานศิลปะในแนวทางของตัวเองให้ผู้คนได้เห็นบนเวทีระดับประเทศ ซึ่งผมก็ประสบความสำเร็จได้รับ “รางวัลยอดเยี่ยม ศิลปะ 2 มิติ ประจำปี 2557” ถือเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจที่ผลงานศิลปะที่แสดงความรู้สึกและความคิดของเราได้เป็นที่ยอมรับจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ”

หลังจากได้รับรางวัลแล้ว ผลงานของภูริธิปก็ได้รับการยอมรับมากขึ้น สมัครเว็บแทงบอล เขาจึงมีความมั่นใจในการพัฒนาผลงานในแนวทางของตนเอง และส่งผลงานไปประกวดและร่วมแสดงในต่างประเทศ อาทิ ไต้หวัน จีน โปแลนด์ อเมริกา ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เวียดนาม และเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เขาก็ได้รับเลือกให้เป็นศิลปินพำนักที่ The Lithography workshop STEINDRUCK MUNICH : Münchner Künstlerhaus ในมิวนิค ประเทศเยอรมนี เพื่อศึกษาวิธีการสร้างภาพพิมพ์หิน (Lithograph) จากสตูดิโอภาพพิมพ์ที่เก่าแก่กว่า 100 ปีและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก

“ต้องขอขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีที่นอกจากจะมอบรางวัลแล้ว ยังให้โอกาสสนับสนุนต่อยอดให้ผมได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาฝีมือเพื่อยกระดับความสามารถทางด้านศิลปะให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยหลังจากที่กลับมา ผมก็ได้นำประสบการณ์ที่ได้มาสาธิต ส่งต่อความรู้ให้กับน้องๆ นักศึกษาศิลปะที่สนใจ และประมาณช่วงกลางปีนี้ผมจะเดินทางไปแสดงผลงานเดี่ยวที่ประเทศอินโดนีเซียอีกด้วย” ภูริธิป กล่าว

และในปีนี้ก็กลับมาอีกครั้งสำหรับโครงการ “ยุวศิลปินไทย” ปีที่ 13 ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงฝีมือและศักยภาพทางด้านศิลปะในการสร้างสรรค์ผลงาน ปุญญิศา รุ่นพี่ที่แจ้งเกิดจากเวทีนี้ จึงขอร่วมชักชวนน้องๆ ให้ส่งผลงานเข้าประกวด “อยากให้น้องๆ ที่มีความตั้งใจลองส่งผลงานเข้ามาดูค่ะ เพราะเวทีนี้ไม่ใช่การแข่งขัน แต่เป็นการเปิดเผยตัวตนและความสามารถของเราให้สังคมได้รับรู้ พี่เชื่อว่าผลลัพธ์ที่ดีต้องเกิดจากความตั้งใจ และเวทีนี้จะทำให้น้องๆ สามารถก้าวเดินต่อไปบนเส้นทางศิลปะได้อย่างภาคภูมิใจแน่นอน พี่รับประกันค่ะ”

ด้าน ภูริธิป ได้กล่าวเสริมอย่างน่าสนใจว่า “ฝากถึงน้องๆ ไม่ว่าจะเป็นใคร ผลงานเป็นอย่างไร อย่าไปกลัว อยากให้ลองส่งผลงานมาร่วมประกวดกัน เพราะน้องๆ ต้องได้บางสิ่งบางอย่างที่มีคุณค่ากลับไปแน่นอน หน้าที่สำคัญที่สุดของผลงานศิลปะคือการแสดงให้ผู้ชมได้เห็น ได้สัมผัสรับรู้ เพราะฉะนั้นอย่าเก็บผลงานไว้เฉยๆ ครับ ให้ผลงานได้ทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่ ลองดู อย่างไรก็คุ้มค่าแน่นอนครับ”

สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวทิ้งทายชักชวนเยาวชนไทยหัวใจศิลป์ให้ส่งผลงานเข้าประกวดในปีนี้ว่า “เชิญชวนน้องๆ มาร่วมส่งผลงานเข้าประกวดโครงการ Young Thai Artist Award ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปีนี้ โดยนอกจากยุวศิลปินผู้ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในแต่ละสาขาจะได้รับเงินรางวัล 150,000 บาท แล้ว ยังมีโอกาสได้เดินทางไปทัศนศึกษาต่างประเทศเพื่อสัมผัสศิลปะระดับโลก เพิ่มพูนทักษะความรู้ทางศิลปะ สร้างแรงบันดาลใจในการรังสรรค์ผลงานศิลปะต่อไปในอนาคต และสำหรับผู้ได้รับรางวัลดีเด่นในแต่ละสาขา จะได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท จึงถือเป็นเวทีที่คนรักศิลปะไม่ควรพลาด”

น้องๆ เยาวชนที่สนใจ สามารถส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ตั้งแต่วันนี้ – กรกฎาคม 2560 (วัน เวลา และสถานที่ ตามที่แต่ละสาขากำหนด) โดยสามารถดูเงื่อนไขเพิ่มเติมและดาวน์โหลดใบสมัครได้ทาง

อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี เป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ติดแนวชายแดนไทย-เมียนมา ประชาชนส่วนใหญ่ยึดอาชีพปลูกสับปะรด เพราะสภาพดินดีและอากาศแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ทำให้สับปะรดที่นี่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ในตัวไม่เหมือนใคร ขณะที่เกษตรกรได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมา โดยเฉพาะสับปะรดสายพันธุ์ “หอมทองเมืองราช”

เชาว์ การสมทบ เกษตรกรวัย 67 ปี หมู่ที่ 3 บ้านหนองแดง ตำบลบ้านคา และเป็นเกษตรกรในกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ปฏิรูปที่ดินบ้านโป่งกระทิง จำกัด บอกว่า เดิมพื้นที่อำเภอบ้านคา เคยปลูกสายพันธุ์ปัตตาเวีย สายพันธุ์ภูเก็ต และสายพันธุ์ฉีกตา ส่วนสับปะรดสายพันธุ์ใหม่นี้เรียกว่าสายพันธุ์ MD2 แต่หากจะเรียกเป็นสายพันธุ์ไทยที่ได้ตั้งชื่อกันใหม่ คือ หอมทองเมืองราช หรือ หอมทองราชา ซึ่งการตั้งชื่อนี้เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพราะว่าเป็นสหกรณ์ในโครงการตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน เกษตรกรทุกคนได้ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงมีต่อเกษตรกรไทยทุกคน

ด้าน ภคพัส ส่งวัฒนายุทธ นายอำเภอบ้านคา เผยว่า ในพื้นที่อำเภอบ้านคามีเกษตรกรให้ความสนใจปลูกสับปะรด รวมกว่า 70,000 ไร่ ส่วนสับปะรดสายพันธุ์ “หอมทองเมืองราช” เพิ่งริเริ่มทดลองกันปลูกอยู่ เริ่มจากสมาชิกสหกรณ์ปฏิรูปที่ดินโป่งกระทิงได้นำพันธุ์มาเผยแพร่ที่อำเภอบ้านคา ตอนนี้มีการปลูกอยู่ไม่มากอยู่ระดับพันไร่ เพราะหน่อพันธุ์มีราคาแพง หน่อละ 25-30 บาท ทางเกษตรกรกำลังพยายามขยายหน่อจาก 1 หน่อ เพิ่มเป็น 4 หน่อ ทั้งนี้ สับปะรดพันธุ์หอมทองเมืองราชนี้มีปลูกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เช่นกัน แต่จะมีรสชาติแตกต่างกันมาก คือถ้าเป็นที่อื่นจะมีรสชาติเปรี้ยวได้ช่วยคัดไซซ์ ผลละประมาณ 1 กิโลกรัม ไม่ให้ลูกใหญ่มากนัก

ซึ่งขณะนี้ทางกลุ่มสับปะรดแปลงใหญ่ได้มีการวางแผนการปลูกให้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี สามารถกำหนดได้ว่าผลผลิตจะออกในช่วงเดือนไหนบ้างต่อราย จะได้ไม่แออัดออกพร้อมกันจำนวนมาก และยังทำให้สับปะรดไม่ขาดตลาดด้วย

ตลาดทุเรียนแช่เยือกแข็งไทยสุดปังส่งออกปี2.2พันล้าน กระทรวงเกษตรฯสบช่องเตรียมบังคับใช้มาตรฐานทุเรียนแช่เยือกแข็งภายในพ.ค. 60 นี้ หวังช่วยขจัดสินค้าไม่มีคุณภาพออกจากตลาด ด้านผู้ผลิต-ผู้ส่งออกขานรับนโยบาย ร่วมสร้างความมั่นใจให้ประเทศผู้นำเข้าทุเรียนแช่เยือกแข็งจากไทย
นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศส่งออกทุเรียนแช่เยือกแข็งที่สำคัญของไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ไต้หวัน และเกาหลี ปี 2559 ที่ผ่านมา ไทยมีการส่งออกทุเรียนแช่เยือกแข็งประมาณ 20,430 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,200 ล้านบาท

ดังนั้น เพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าทุเรียนแช่เยือกแข็งในภาพรวม และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อตลอดจน เสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับสินค้าในตลาดโลก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เร่งจัดทำมาตรฐานทุเรียนแช่เยือกแข็งเป็นมาตรฐานบังคับขึ้น ขณะนี้มาตรฐานฉบับดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา คาดว่าจะทันบังคับใช้กับทุเรียนฤดูกาลนี้แน่นอน ในส่วนของผู้ผลิต ผู้ส่งออกทุเรียนแช่เยือกแข็ง พร้อมให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรฐาน เพราะทุกคนอยากให้สินค้าทุเรียนแช่เยือกแข็งส่งออกเป็นที่ยอมรับและประเทศผู้นำเข้าทุเรียนแช่เยือกแข็งจากไทย มีความเชื่อมั่นในสินค้าของไทย

นางสาวดุจเดือน กล่าวถึงการส่งออกทุเรียนแช่เยือกแข็งในช่วงปีที่ผ่านมาด้วยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้รับแจ้งเตือนจากประเทศคู่ค้าว่าพบปัญหาเนื้อทุเรียนไม่ได้คุณภาพ มีสิ่งปนเปื้อน รวมถึงพบเชื้อที่ทำให้เกิดโรคในคน เช่น เชื้อซัลโมแนลลา ด้วย ทำให้สินค้าถูกส่งคืน เกิดความเสียหายทั้งด้านเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากกระบวนการผลิตและการแช่แข็งที่ไม่ได้คุณภาพ ขาดสุขลักษณะที่ดี ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จึงเร่งดำเนินการจัดทำมาตรฐานบังคับการปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตทุเรียนแช่เยือกแข็งเพื่อการส่งออกขึ้น

เลขาธิการ มกอช. กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรฐานบังคับการปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตทุเรียนแช่เยือกแข็งเพื่อการส่งออก มีผลบังคับใช้กับผู้ส่งออกและผู้ผลิตทุเรียนแช่เยือกแข็งและแช่เย็นจนแข็งเพื่อการส่งออกเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทุเรียนทั้งผล เนื้อทุเรียนมีเมล็ด หรือเนื้อทุเรียนไม่มีเมล็ด สาระสำคัญของมาตรฐานครอบคลุมตั้งแต่การรับวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การเก็บรักษา และการขนส่ง ผู้ผลิตต้องทำให้มั่นใจว่าสินค้ามีการปนเปื้อนน้อยที่สุด ต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการควบคุมอุณหภูมิ การเก็บรักษา และต้องสามารถรักษามีอุณหภูมิของสินค้าได้ที่ -18 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านั้น รวมทั้งต้องรักษาความสะอาดตลอดกระบวนการทำงานและดูแลสุขลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่มาตรการนี้จะมีผลบังคับใช้ ขอให้ผู้ผลิตทุเรียนแช่เยือกแข็งเพื่อการส่งออกและผู้ส่งออก มาขออนุญาตเป็นผู้ผลิตหรือผู้ส่งออก ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่มาตรฐานนี้มีผลบังคับใช้ รวมทั้งต้องเร่งดำเนินการขอรับการรับรองมาตรฐานจากผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานด้วย ซึ่งหากไม่มีใบอนุญาตและใบรับรองมาตรฐานบังคับนี้ จะไม่สามารถผลิตและส่งออกส่งออกทุเรียนแช่เยือกแข็งไปต่างประเทศได้ ทั้งนี้ผู้ผลิตผู้ส่งออก สามารถขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก และแจ้งการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (ระบบ TAS License) ได้ที่ tas.acfs.go.th สอบถามเพิ่มเติม โทร. 095-871-2113 หรือ 02-561-2277 ต่อ 5230

สำหรับ ทุเรียนแช่เยือกแข็งเป็นสินค้าที่มีแนวโน้มทางการตลาดที่ดี ได้รับการตอบรับจากหลายประเทศ เนื่องจากทุเรียนสดเป็นผลไม้ที่ต้องอาศัยความชำนาญในการพิจารณาความอ่อน ความแก่ ความดิบ ความสุก รวมถึงมีเปลือกที่แข็งและมีหนามคม แกะยาก ทุเรียนแช่เยือกแข็งจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้บริโภคในต่างประเทศ ทุเรียนแช่เยือกแข็งโดยส่วนใหญ่ส่งออกในรูปแบบที่แกะเนื้อ ทำให้รับประทานง่าย สามารถนำไปแปรรูปต่อได้และสะดวกในการเก็บรักษา การส่งเสริมตลาดให้เติบโตในตลาดโลกแบบยั่งยืน

บางทีการที่เราหลงใหลชื่นชมว่า บ้านเราในน้ำมีปลาในนามีข้าว อุดมสมบูรณ์หนักหนานี่แหละ มันเป็นตัวถ่วงเราเอง เรามองว่าบ้านเราดีแล้ว สมบูรณ์แล้ว เราจึงมักจะไม่ขวนขวายทำอะไรให้มันดีขึ้น

อย่างหนึ่งที่เห็นชัดที่สุดคือ เราโอ่อวดว่าเราป่าเยอะ ข้าวเขียวขจีเต็มท้องทุ่ง น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา แต่ที่จริงแล้วทั้งพื้นที่ป่าและพื้นที่เพาะปลูกเราลดลงเรื่อยๆ ส่วนบ้านอื่นเมืองที่เราดูถูกเขานักหนาว่ามีแต่ตึกนั้น เขาเพียรมานะในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเขาอย่างอดทนและอย่างเอาเป็นเอาตาย

สิงคโปร์ เป็นตัวอย่างใกล้ๆ ที่พูดเมื่อไรก็ต้องยกมาทุกครั้ง จากเมืองเล็กๆ แออัด ที่ลุ่มน้ำเฉอะแฉะเมื่อ 50 กว่าปีก่อน มาเป็นเมืองสีเขียว ที่ทั้งเจริญและสวยงาม เขียวขจี

คนไทยชอบไปช็อปปิ้งที่ถนนออชาดแล้วก็บ่นพร่ำว่า สิงคโปร์ไม่เห็นมีอะไร ทั้งที่เขามีสวนพฤกษศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เขามีสวนสาธารณะน้อยใหญ่มากมาย ตึกเขาพยายามสร้างให้มีสีเขียวของต้นไม้แทรกเข้าไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่เราไม่พยายามจะไปดูของเขาเอง แนวการสร้างเมืองให้เป็นสีเขียวแบบสิงคโปร์ เรียกกันว่า ป่าในเมือง หรือ urban jungle เรื่องนี้เขาทำมานาน ป่าและเมืองอยู่ด้วยกันได้ อันนี้เขาเห็นพ้องกันแล้วทั่วโลก ขณะที่ไทยยังมองแยกส่วน เมืองก็เมือง ป่าก็ป่า คำว่า เมือง คือต้องโค่นต้นไม้สร้างตึกสถานเดียว แล้วเราก็อี๊อ๊ารังเกียจเมือง

แต่จะบอกให้นะคุณ ที่ลอนดอนเขาทำแบบนี้มาจะร้อยปีแล้ว เขามีสวนบนหลังคาอาคาร สวนหนึ่งขนาดใหญ่เกือบ 4 ไร่ เอเคอร์ แล้วเห็นลอนดอนเล็กอย่างนั้น เขามีป่าในเมืองรวม 1.3 ล้านตารางฟุต มากกว่าพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพฯ ทั้งหมดอีกกระมัง

หรืออย่างใครชอบนินทาว่า นิวยอร์ก มีแต่ตึก แสดงว่าไม่เคยรู้จักเซ็นทรัลปาร์คที่ใหญ่โตโอฬารเขียวชอุ่มตระหง่านใจกลางเมือง เขาไม่เคยคิดจะเอาสวนของเขาออกมาขายเป็นศูนย์การค้าสักหน่อย

และอย่าคิดว่าเรื่องพวกนี้มีแต่ประเทศตะวันตก จีนซึ่งเป็นขี้ปากชาวบ้านเรื่องสิ่งแวดล้อมมานานหลายสิบปีก็ตื่นตัวเรื่องนี้มาก ทำท่าจะล้ำไปกว่าด้วยซ้ำ เขามีโครงการก่อสร้างป่าในเมืองมากมายหลายเมือง อย่าง Guizhou, เขาให้ Stefano Boeri สถาปนิกจากอิตาลีที่เคยออกแบบอาคารสีเขียวมามาก ไปออกแบบ

ตอนนี้มีโครงการหนึ่งที่ฮือฮาคือ Mountain Forest hotel ขนาด 250 ห้อง ที่สร้างเลียนแบบภูเขา คืออาคารไม่ได้ซับซ้อนอะไร สร้างเรียงๆ กันขึ้นไปให้ยอดเรียวลง แต่ที่เขาคิดหนักคือ การเอาต้นไม้ใส่เข้าไปจนเป็นภูเขาลูกย่อมๆ โรงแรมนี้ดังระเบิดเถิดเทิงตั้งแต่ยังไม่ได้ลงมือสร้างเลยทีเดียว

จีนมีนโยบาย national forest city อย่างจริงจัง ตอนนี้มี 170 เมืองแล้ว โดยกำหนดให้มียอดของต้นไม้ ครอบคลุมพื้นที่ 40% ของเมือง นี่ไม่ใช่เรื่องทำง่ายๆ นะ ส่วนหนึ่งเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี แต่ส่วนใหญ่กว่านั้นคือ เขาจะดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลก ตามรอยของสิงคโปร์นั่นแหละ คือมีสิ่งแวดล้อมและสภาพชีวิตที่ดีรออยู่ ใครที่ไหนเขาก็อยากมาอยู่มาลงทุน สภาพแวดล้อมแบบนี้จะดึงดูดแรงงานระดับหัวกะทิได้มาก อย่างที่สิงคโปร์ทำสำเร็จมาแล้ว

มาดูว่าประเทศไหนเอาจริงเอาจังเรื่องป่าในเมืองนี้

พิสูจน์แบบมีตัวเลขทางวิชาการยืนยัน สูงสุดก็คือ สิงคโปร์ คือมีพื้นที่สีเขียว 29.3% ได้คะแนนนำประเทศอื่นลิ่วๆ ทั้งที่เป็นประเทศเล็ก มีประชากรหนาแน่นถึง 7,797 คน ต่อตารางกิโลเมตร ดัชนีความเขียวที่วัดโดย Massachusetts Institute of Technology (MIT), สูงถึง 29.3%

ซิดนีย์ ของออสเตรเลีย แวนคูเวอร์ ของแคนาดา มีค่าดัชนีความเขียวตามมาอยู่ที่ 25.9% แวนคูเวอร์ ได้คะแนนเรื่องความหนาแน่นของประชากรดีกว่า คือมีประชากรแค่ 400 คน ต่อตารางกิโลเมตร ส่วน ซิดนีย์ มี 5,249 คน ต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งก็น้อยกว่าสิงคโปร์อยู่ดี

สิงคโปร์น่ะเขาได้รับยกย่องให้เป็น “Garden City of Asia” นี่เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองของเขาอย่างหนึ่ง ทางหนึ่งคือ ดึงดูดนักลงทุน เขาเชื่อว่าถ้าบ้านเมืองมันน่าอยู่ ชีวิตมีคุณภาพ ใครๆ ก็อยากมาลงทุน ไม่จำเป็นต้องกดค่าแรงงานคนงานบ้านตัวเอง เอาใจเขาแต่ประการใด

คนเคยเห็น Garden by the bay หรือสวนพฤกษศาสตร์แห่งชาติของสิงคโปร์ หรือเอาแค่เดินเล่นตามสวนสาธารณะ หรือชายทะเลที่เขาสงวนไว้ให้คนได้พักผ่อน ก็จะรู้ว่าเขาเอาจริงเอาจังกับการสงวนพื้นที่ป่าเขาไว้แค่ไหน

แต่สิงคโปร์ไม่ใช่เมืองเดียวนะที่เป็นแบบนี้ กรุงโซลของเกาหลีใต้ก็เป็น ถ้าคุณไม่มัวแต่จ้องแต่จะช็อปปิ้งสถานเดียวน่ะนะ เกาหลีใต้นี่ขนาดทุบถนนทิ้งแล้วทำคลองทำสวนกลางเมือง ใครเคยไปกรุงโซลคงเคยเห็นคลองชองแจชองของเขาแล้ว นั่นละผลงานระดับมาสเตอร์พีซของโลกเชียว

ประเทศวุ่นวายคนร้อยล้านคนอย่าง ฟิลิปปินส์ ก็พยายามจะทำบ้าง ตอนนี้ในมะนิลามีสวนหย่อม มีสวนสาธารณะขนาดเล็ก และทางเท้าเขียวๆ กระจายไปทั่ว การสร้างสวนสาธารณะใหญ่ๆ อาจใช้เงินและเวลามาก แต่เขาเริ่มกันแบบเล็กๆ อย่างนี้ไปก่อนเลย ไม่รอ

แต่บางเมืองก็เข็นยาก อย่างกรุงปารีส ที่ดัชนีความเขียวอยู่ที่ 8.8% และตึกรามมีความชนะเลิศต้นไม้ไปอย่างไม่เห็นฝุ่น ปารีสยังเป็นเมืองที่มีคนอยู่หนาแน่นถึง 21,000 คน ต่อตารางกิโลเมตร เจอปัญหาเดียวกับนิวยอร์กที่มีดัชนีความเขียว 13.5% และมีคนหนาแน่น 10,831 คน ต่อตารางกิโลเมตร นี่ขนาดมีเซ็นทรัลปาร์คเขียวมหึมาอยู่ใจกลางแมนฮัตตันแล้วนะ

การจะทำเมืองให้เขียวนั้น ไม่จำเป็นต้องสร้างสวนสาธารณะ ยิ่งในเมืองที่มีพื้นที่น้อยและต้นทุนที่ดินสูง การเอาเมืองกับป่าผสมผสานกันมีวิธีการใหม่ คือไปพร้อมๆ กันทั้งตึกทั้งป่า ไม่มีใครต้องหลีกให้ใคร อันนี้เป็นแนวคิดที่จริง ไม่ต้องเสแสร้ง

เพราะเมืองมันหดตัวไม่ได้ หนีไปไหนไม่ได้ มันต้องไปกันอย่างนี้ ส่วนที่จะเถียงว่าป่าก็ต้องเป็นป่า ยกตัวไปต่างหาก นั่นก็เถียงไป ฉันไม่เถียงด้วย

เมืองใหญ่ๆ ที่เขาพัฒนาแล้วก็ใช่ว่าเขาจะไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมนะ อย่างแวนคูเวอร์นี่ของแคนาดาไม่กี่ปีก่อนเคยมีปัญหาขาดแคลนน้ำดื่ม เพราะฝนตกหนักแล้วชะเอาดินโคลนลงไปในแหล่งน้ำ จนคุณภาพของน้ำไม่อยู่ในระดับที่ดื่มได้

เมืองบริสเบน ในออสเตรเลียต้องสร้างพื้นที่สีเขียวขึ้นมาเพื่อป้องกันบรรดาโคอาล่าที่ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จนเกรงว่าจะสูญพันธุ์

ต้นไม้ยังเก็บคาร์บอนและรักษาอุณหภูมิไม่ให้เปลี่ยนแปลงฉับพลันเกินไป ป่าในเมืองจึงเป็นเมืองที่ปลอดภัยกว่า

งบประมาณในการสร้างเมืองสีเขียวก็ไม่ได้มากไปกว่างบประมาณในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้กับประชาชน

มาดูตัวอย่างป่ากับเมืองที่ไปด้วยกันได้ดีกว่า เขาใช้สติปัญญามากกว่าใช้เงิน เพราะฉะนั้นที่เถียงข้างๆ คูๆ ว่าเพราะเขาเป็นประเทศร่ำรวยแล้วเขาถึงทำได้ ไม่จริง นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ เกษตรจังหวัดนครสวรรค์ เปิดเผยว่า พยากรณ์อากาศแจ้งว่าในระยะนี้เป็นช่วงที่เปลี่ยนจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน ระยะแรกลักษณะอากาศจะแปรปรวน ฝนจะเพิ่มมากขึ้นทั้งปริมาณและการกระจาย โดยจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย โดยจะมีกำลังค่อนข้างแรงเป็นระยะๆ กับจะมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก

เกษตรจังหวัดฯ กล่าวต่อไปว่า ลักษณะเช่นนี้จะทำให้สภาพอากาศเปียกชื้น เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกนการเจ็บป่วย สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม ควรเตรียมทำทางสำหรับระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก และตรวจสอบอุปกรณ์สำหรับระบายน้ำให้พร้อมการใช้งาน ชาวนาที่เตรียมดินไว้แล้วสามารถเริ่มหว่านเมล็ดพันธุ์ได้ แต่ไม่ควรหว่านแน่นจนเกินไป เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราที่อาจเกิดกับข้าวในระยะต้นกล้าได้ ดังนั้น ชาวนาควรแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราด้วย

นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว.ร่วมกับองค์การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งตุรกี จัดงานเจรจาการค้าระหว่างผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ไทย-นักธุรกิจตุรกี ในงาน “ไทย-ตุรกี เอสเอ็มอี บีทูบี มีทติ้ง” ระหว่างวันที่ 14-17 พฤษภาคมที่ผ่านมา ณ ประเทศตุรกี โดยการจัดงานครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่หน่วยงานภาครัฐของไทยคัดเลือกนำผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยที่มีศักยภาพ จำนวน 28 ราย ร่วมเจรจากับนักธุรกิจตุรกี กว่า 80 ราย ทำให้เกิดการจับคู่เจรจาธุรกิจได้ 53 คู่ค้า สามารถสร้างยอดขายจากการเจรจาครั้งนี้ได้ทั้งสิ้น 85 ล้านบาท สินค้าที่เข้าร่วมงาน ได้แก่ อาหาร เครื่องสำอาง สปา เครื่องประดับ ท่องเที่ยว และของตกแต่งบ้าน โดยกลุ่มสินค้าและบริการที่ได้รับความสนใจมากที่สุดจากนักธุรกิจของตุรกี คือ อาหารประเภทขนมขบเคี้ยวและผลไม้ของไทย รองลงมาเป็นบริการด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่สื่อถึงความเป็นไทยและนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสินค้าและบริการด้านความงามและสปา

นางสาลินี กล่าวว่า สำหรับการจัดงานเจรจาธุรกิจครั้งนี้ เกิดขึ้นภายใต้กิจกรรมการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการเอสเอ็มอีระหว่างไทย-ตุรกี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนของทั้งสองประเทศ ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถแข่งขันตลาดต่างประเทศของเอสเอ็มอีไทย โดยเฉพาะด้านการตลาด โดยประเทศตุรกีถือเป็นตลาดใหม่ของเอสเอ็มอีไทยที่มีขนาดใหญ่และมีศักยภาพกำลังซื้อสูง มีเครือข่ายการจัดจำหน่ายกว้างขวางครอบคลุมยุโรปและแอฟริกาเหนือ

นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ เกษตรจังหวัดนครสวรรค์ เปิดเผยว่า ช่วงนี้จะมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องทำให้มีความชื้นในอากาศสูง อาจจะเอื้อต่อการระบาดของโรคไหม้ข้าวได้ โรคไหม้ข้าวเกิดจากเชื้อรา ระบาดในนาข้าวทุกระยะของการเจริญเติบโต ลักษณะอาการพบตั้งแต่ระยะกล้าไปจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว ระยะกล้า ใบเกิดแผลเป็นจุดสีน้ำตาลตรงกลางมีสีเทาคล้ายรูปตา สามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วใบ ถ้าระบาดรุนแรงต้นกล้าจะแห้งฟุบตายคล้ายถูกไฟไหม้ ระยะแตกกอ พบอาการได้ที่ใบ ข้อต่อใบ และข้อต่อลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าระยะกล้า ใบเป็นแผลช้ำสีน้ำตาลดำและมักหลุดจากกาบใบ ระยะออกรวง เชื้อราจะเข้าทำลายระยะเริ่มออกรวงทำให้เมล็ดลีบทั้งหมด หากเข้าทำลายระยะใกล้เก็บเกี่ยวจะเกิดรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่คอรวงทำให้เปราะหักร่วงหล่นง่ายจนเสียหาย มักจะพบในแปลงที่มีต้นข้าวหนาแน่น ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป ถ้าสภาพแห้งแล้งตอนกลางวันและชื้นในตอนกลางคืน อากาศเย็นอุณหภูมิ 22 – 25 .c อากาศในตอนกลางวันแห้ง ส่วนกลางคืนชื้นจัดช่วงสายมีน้ำค้างลง และลมแรงจะช่วยให้โรคแพร่กระจายได้ดี

นายมานพ จอมปัญญาเลิศ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช กล่าวว่า ขอให้ชาวนาหมั่นสำรวจในแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดในรอบการทำนาที่ผ่านมา แนะนำให้เปลี่ยนเป็นพันธุ์ข้าวต้านทาน คือ สุพรรณบุรี 1 , 2 , 60 , 90 ชัยนาท 1 พิษณุโลก 1 หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวอัตรา 15 – 20 กก.ต่อไร่ แบ่งแปลงนาให้มีการถ่ายเทอากาศดี และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกิน 50 กก.ต่อไร่ คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราก่อนปลูก และใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าหรือราเขียวเข้าไปป้องกันกำจัด หรือใช้สารเคมีเป็นทางเลือกสุดท้าย

ดร.ศศินันท์ วาสิน พยาบาลชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานบริการสุขภาพชุมชน สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลชลประทาน (ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) เผยถึงโครงการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านโดยจิตอาสาหมอจิ๋ว เป็นการแก้ปัญหาสุขภาพแนวใหม่โดยการปรับนโยบายและแผนการดำเนินงานด้านสุขภาพเป็นการบริการเชิงรุก ที่มุ่งส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุตามสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยใช้เยาวชนอายุ 9 – 14 ปี เป็นแกนนำครอบครัว เพื่อดูแลสุขภาพของคนในครอบครัวและชุมชน โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นพี่เลี้ยง เพื่อสร้างทัศนคติและทักษะในการดูแลสุขภาพมุ่งให้ความรู้ทางด้านการดูแลสุขภาพตนเองและผู้อื่น และเพื่อสร้างให้เยาวชนมีจิตสำนึกในการเสียสละแก่ส่วนรวม

โครงการนี้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2549 มีจุดเริ่มต้นจากชุมชนต้องการแก้ปัญหาเรื่องเยาวชนมั่วสุมกันในช่วงปิดเทอมและไม่ค่อยมีสัมพันธภาพระหว่างกันในชุมชน ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการควบคุมโรคระบาดในชุมชน ทางโรงพยาบาลชลประทานจึงได้ร่วมกับชุมชนจัดอบรมเชิงปฏิบัติการกับเยาวชนในชุมชน เรื่องสิ่งแวดล้อมและการควบคุมโรค ภายใต้โครงการอาสาสมัครรุ่นจิ๋ว ในปี 2549 และต่อมาได้พัฒนาโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชนจึงมาเป็นหมอจิ๋วประจำบ้านเพื่อดูแลคนในครอบครัว ชุมชน และสังคม ตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในปี 2559 ได้ร่วมปฏิบัติงานบริการวิชาการแก่ชุมชนของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และได้ลงพื้นที่ในชุมชนจังหวัดสระแก้ว ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวง อำเภอโคกสูง, และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าช้าง อำเภอวัฒนานคร พบว่า ปัญหาชุมชนและความต้องการคล้ายๆ กันคือต้องการแก้ปัญหาเยาวชนและปัญหาเรื่องผู้สูงอายุ จึงได้นำเสนอโครงการการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านโดยจิตอาสาหมอจิ๋ว และได้รับความร่วมมือจากชุมชน

สาธารณสุขอำเภออรัญประเทศ สาธารณสุขอำเภอโคกสูง สมัคร Holiday Palace และโรงพยาบาลอรัญประเทศ ซึ่งโครงการนี้เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเน้นการสอนทักษะในการทำงาน โดยแบ่งเป็นกลุ่มมีฐานความรู้ในแต่ละฐาน ได้ให้หมอจิ๋วลงมือทำจริงในทุกฐาน เช่น การปฐมพยาบาล ฐานสัญญาณชีพ ฐานโรคเรื้อรัง ฐานอาหารโภชนาการ ฐานออกกำลังกาย ฐานโรคไข้เลือดออกและโรคซิกก้า และฐานป้องกันการตั้งครรภ์ เป็นต้น และหลังจากนั้นก็จะลงไปชุมชนเพื่อติดตามประเมินผล ซึ่งพบว่าเยาวชนที่เป็นหมอจิ๋วมีความใกล้ชิดกับผู้สูงอายุในครอบครัว

และชุมชนมากขึ้น เด็กๆ มีความภูมิใจที่ได้ผ่านการอบรมการเป็นหมอจิ๋วและมีแรงบันดาลใจในการดูแลสุขอนามัยของตนเอง คนในครอบครัว และชุมชน และบางคนบอกว่าในอนาคตอยากเรียนให้จบเป็นหมอมาช่วยรักษาคน

การลงชุมชนเพื่อติดตามการทำงานของหมอจิ๋วในครั้งนี้ ได้เห็นวิถีชีวิตชาวบ้านที่อยู่กันแบบครอบครัวใหญ่ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ดูแลกันทุกครัวเรือน ถึงแม้หมอจิ๋วจะมีวิชาความรู้ด้านสุขศึกษาเพียงขั้นพื้นฐานแต่ก็สามารถทำหน้าที่ได้โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง เดินไม่ได้ นอนติดเตียง ซึ่งต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพราะการนอนติดเตียงจะทำให้ข้อบริเวณต่างๆ ยึด กล้ามเนื้ออ่อนแรง จำเป็นต้องออกกำลังกายฟื้นฟูกล้ามเนื้อเป็นประจำ และหมอจิ๋วสามารถช่วยได้และสนุกไปกับการสอนออกกำลังกายด้วย

เป้าหมายและผลสำเร็จของการทำงานจึงไม่ใช่เป้าหมายของโครงการเพียงอย่างเดียว แต่เป้าหมายที่แท้จริง คือให้ทุกคนที่ผ่านการอบรมมีความรู้ ความสุขและสนุกในการทำงานด้วย และทุกครั้งหลังจากทำโครงการเสร็จสิ้นก็จะมีการประเมินหรือถอดบทเรียนในการทำงาน ซึ่งพบทั้งความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคแต่ทีมงานทุกคนก็มีแรงบันดาลใจที่จะทำงานต่อไป เพราะผลที่เราได้รับการทำงานในโครงการนี้คือ “เราได้สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน”

เด็กหญิงพลอยชมพู เพียรผึ้ง อายุ 13 ปี หมอจิ๋วรุ่นที่ 1 กล่าวว่า “ภายในหนึ่งปี มันอาจจะเป็นระยะสั้นๆ แต่มันมีคุณค่าต่อตัวฉันมาก เรากว่าจะได้เป็นหมอจิ๋วต้องใช้เวลา การเป็นหมอจิ๋วไม่ใช่เรื่องง่ายๆ”

เด็กชายอนันตชัย คำสมัย อายุ 15 ปี หมอจิ๋วรุ่นที่ 1 กล่าวว่า “ผมได้ช่วยคนที่ถูกสุนัขกัด โดยการเอาสบู่มาล้างแผล แล้วพาส่งโรงพยาบาล ผมได้ช่วยเหลือคนเจ็บ ผู้สูงอายุ ผมดีใจและผมมีความสุข”

เด็กหญิงขวัญจิรา โกเมน อายุ 14 ปี หมอจิ๋วรุ่นที่ 1 กล่าวว่า “ดิฉันดีใจมากที่ได้มาเป็นส่วนร่วมในโครงการหมอจิ๋ว ฉันได้นำการอบรมที่ได้ไปใช้กับคุณยาย เพราะว่าคุณยายเป็นโรคเบาหวานและอ้วน ฉันเลยให้คุณยายออกกำลังกายโดยการแกว่งแขนทุกวันและไม่ให้กินอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารรสเค็ม แต่คุณยายไม่ฟังหรอกค่ะ พอถึงวันหมอนัดไปตรวจ เบาหวานก็เพิ่มขึ้น ตอนนี้คุณยายจึงเริ่มควบคุมอาหารแล้วและก็ออกกำลังกายแต่ไม่บ่อยมากและกินผักผลไม้ สุขภาพก็ดีขึ้น”